Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการเรียนการสอนในสังคมพหุวัฒนธรรม - Coggle Diagram
การจัดการเรียนการสอนในสังคมพหุวัฒนธรรม
ความหมายของการจัดการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม
Cortes (1996) กล่าวว่า การศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม คือกระบวนการที่ครูได้ช่วยเตรียมผู้เรียนที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรมให้อยู่ด้วยความเข้าใจ ร่วมมือ ร่วมใจ เสียสละและยุติธรรม ยอมรับความหลากหลาย ชี้ให้เห็นว่าการแบ่งแยกทางสังคม เกิดจากการขาดวิจารณญาณของคน
Banks อธิบาย เกี่ยวกับการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุวัฒนธรรม ไว้ว่า คือ รูปแบบของการจัดการศึกษาประเภทหนึ่ง ที่สภาพแวดล้อมทางการศึกษาประกอบไปด้วย นักเรียนที่มาจากกลุ่มวัฒนธรรมที่ต่างกัน เช่น เชื้อ ชาติ หรือกลุ่มชาติพันธุ์ เพศ ชั้นทางสังคม กลุ่ม ภูมิภาค กลุ่มความต้องการพิเศษ โดยปัญหาของกลุ่ม ต่างๆ ดังกล่าวได้รับการตีแผ่และเปรียบเทียบ ซึ่ง สภาพแวดล้อมทั้งหมดในโรงเรียนจะได้รับการปฏิรูป เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน และเกิด ความยุติธรรมระหว่างกลุ่มนักเรียนต่างวัฒนธรรม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อตกลงที่ว่า อคติ การ แบ่งแยกและความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติของกลุ่มคน ที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันรรมระหว่างกลุ่มนักเรียนต่างวัฒนธรรม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อตกลงที่ว่า อคติ การ แบ่งแยกและความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติของกลุ่มคน ที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
การจัดการศึกษาที่มีสภาพแวดล้อมประกอบไปด้วยนักเรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น เชื้อชาติ มรการตีแผ่ปัญหาของแต่ละชาติพันธ์ และจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการยิมรับกันและกันของนักเรียนแต่ละวัฒนธรรม ก่อให้เกิดการยอมรับกัน ไม่แบ่งแยก หรือเลือกปฏิบัติ(ยงย่วน, 2551)
Tileston (2007) การศึกษาพหุวัฒนธรรม คือ กระบวนการจัดการศึกษาที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้และการยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม
แนวคิดทฤษฎี
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเพียเจต์
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
Banks (1997) มิติของการจัดการศึกษา 5 มิติ
การลดอคติ
การใช้วิธีการสอนที่ส่งเสริมความเท่าเทียม
การสร้างความรู้
การให้ความสำคัญวัฒนธรรมของโรงเรียน
บูรณาการเนื้อหาความรู้
ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
ลำดับขั้นของความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ 7 ขั้นของกอร์ดอน
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
กระบวนการจัดการเรียนการสอนในสังคมพหุวัฒนธรรม
กระบวนการจัดการเรียนรู้
จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
ให้ผู้เรียนได้คิด ฝึกปฏิบัติเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ใช้เทคนิคที่ส่งเสริมการเรียนรู้
หลักการ 6 ประการ (Instruction: Based on 6 Principles)
1) ความอยากรู้และความสามารถในการเรียนและคิด
2) สอดคล้องกับแนวทางการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
3) สร้างให้เกิดองค์ความรู้ในตัวผู้เรียน Constructionism (ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง) เป็นการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองได้และร่วมกันอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ต่อไป
4) สร้างให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จตามระดับที่เป็นจริงของแต่ละคน
5) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและแบ่งปันความรู้
6) จัดให้ทุกคนหรือทุกกลุ่มมีส่วนร่วม
Congdon กลวิธีการสอนศิลปะแนวพหุวัฒนธรรมมี3 วิธีหลัก
1.การวิพากษ์งานศิลปะ
การชื่นชมความงามของศิลปะ
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
บทบาทของผู้สอน
เป็นคนสร้างความเข้าใจในความแตกต่างให้กับผู้เรียน โดยการพูดคุยโดยใช้ยกตัวอย่างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน
สังเกตการเรียนรู้ของผู้เรียน(monitor)คอยกระตุ้นโดยใช้คำถาม รับฟังความคิดเห็นและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน
ครูสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคน โดยไม่เลือกเชื้อชาติ เพศ ศาสนา ชาติพันธุ์ ภูมิหลังทางวัฒนธรรมสถานภาพทางสังคม
ครูสนับสนุนการสร้างความตระหนักและความเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียน
ครูมีความพร้อม ได้รับการอบรมให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม การแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
บทบาทของผู้เรียน
ให้ความร่วมมือในกิจกรรมตลอดการเรียนรู้
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
เปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
นำความรู้จากประสบการณ์เดิมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
มีความสำนึกในและความตระหนักในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองและผู้อื่น
เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
บรรยากาศในการจัดการเรียนรู้
สภาพแวดล้อมเหมาะแก่กิจกรรมการเรียนรู้ มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูล มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ดี และมีการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
ห้องเรียนที่จัดต้องเต็มไปด้วยความเสมอภาคทุกคนต้องมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
มีการส่งเสริมความยุติธรรม
การปรับทัศนคติในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพของผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียนต่อผู้เรียนและผู้เรียนต่อผู้สอน
การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนอย่างเป็นกันเอง เพื่อลดความตึงเครียดแก่ผู้เรียน
กลวิธีการจัดการเรียนรู้
Divisions หรือ STAD)
3.6 เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือร่วมกลุ่ม (Co – op – Co - op)
3.5 เทคนิคการเรียนร่วมกัน (Learning Together)
3.4 เทคนิคการตรวจสอบเป็นกลุ่ม (Group Investigation)
3.3 เทคนิคการต่อภาพ (Jigsaw)
เทคนิคการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน โดยเน้นการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ยกตัวอย่างเช่น
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
3.วัฏจักรการสืบสอบแบบ 5Es
รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning)
การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ซิปปา (CIPPA Model)
3.2 เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ (Student Teams Achievement
3.1 เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (Team – Games – Tournament)
กระบวนการแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในสังคมพหุวัฒนธรรม
แบบวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
1.1 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับศึกษาวิเคราะห์แยกแยะนักเรียน เพื่อหาความแตกต่างระหว่างบุคคล เกี่ยวกับความพร้อมด้านความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ก่อนที่จะให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้วิชา
1.2 เพื่อศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับความพร้อมด้านพฤติกรรมและองค์ประกอบความพร้อมด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์
ความพร้อมด้านสติปัญญา
ความพร้อมด้านพฤติกรรม
ความพร้อมด้านร่างกาย
ความพร้อมด้านสังคม
แบบสำรวจความต้องการของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สอน