Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคภาวะสมองเสื่อม (Dementia) - Coggle Diagram
โรคภาวะสมองเสื่อม (Dementia)
ลักษณะภายนอก (Appearance)
ผู้ป่วยชายไทยสูงอายุ รูปร่างสมส่วน แต่งกายด้วยชุดโรงพยาบาลสะอาดเรียบร้อย การแสดงออกเหมาะสมกับวัย
โรคภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการผิดปกติของการทำงานของสมองหลายส่วน โดยมีลักษณะเด่น คือ ความจำที่แย่ลง ร่วมกับภาวะเสื่อมถอยของทักษะต่าง ๆ เช่น การใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา การใช้เหตุผล การตัดสินใจผิดปกติไปจนเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตหรือกิจวัตรประจำวัน อาการหลัก ๆ ที่สังเกตได้ คือ มักจะมีปัญหาเรื่องความจำระยะสั้น จำเหตุการณ์เมื่อสองสามวันก่อนหรืออาทิตย์ที่ผ่านมาไม่ได้แต่ความจำเก่า ๆ สมัยหนุ่มสาวยังดีอยู่
การรักษา
1.การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non
Pharmacological Management) การรักษาด้วยวิธีนี้มีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับภาวะความรุนแรงของโรคและ ขีดความสามารถในการเรียนรู้ของผู้ป่วย แต่ละราย โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถ ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมตาม ระยะของโรค
ดังนี้
1.1การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันและ การฝึกทักษะการเข้าสังคมให้ผู้ป่วยได้ ร่วมดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของ ตนเองโดยมีผู้ดูแลคอยสนับสนุนและให้ ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถ ของผู้ป่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในสังคมครอบครัวและสังคม ภายนอกตามความเหมาะสม
1.2การดูแลปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น เสียงรบกวน รวมถึงการปรับสภาพที่อยู่ อาศัยให้ปลอดภัยง่ายต่อการใช้งาน เช่นให้พื้นเรียบ ไม่มีของเกะกะทางเดินและ แสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดการเกิด อุบัติเหตุ
1.3การให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วยเนื่องจากผู้ป่วยจะเข้าสู่สภาวะที่ต้อง พึ่งพา ผู้ดูแลเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่ต้อง เข้าใจการดำเนินของโรค และความรู้ เกี่ยวการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะของ โรค รวมไปถึงสนับสนุนการดูแลตนเอง ของผู้ดูแลผู้ป่วย
1.4การฟื้นฟูผู้ป่วยสมองเสื่อมด้าน กายภาพ เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการสมอง เสื่อมอาจมีขีดความสามารถในการใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ลดลง การปรับ อุปกรณ์ให้ง่ายต่อการใช้งานหรือปรับ กิจกรรมให้เรียบง่ายและปลอดภัย รวม ไปถึงการฝึกการกระตุ้นระบบประสาท สัมผัสโดยการบีบ จัด นวด การกระตุ้น กิจกรรมการเคลื่อนไหวจะทำให้ผู้ป่วยได้ ฝึกสมรรถภาพทางกายภาพได้ดียิ่งขึ้น
1.5การดูแลด้านพฤติกรรมและจิตบำบัด ปัญหาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์เป็น ความผิดปกติที่พบได้บ่อย อาจต้องใช้ การรักษาควบคู่ทั้งการรักษาด้วยยาและพฤติกรรมและจิตบำบัด อาจใช้การให้ ความรู้แก่ผู้ดูแลเพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยและมีวิธีการดูแลได้อย่างเหมาะสม เช่น การ เบี่ยงเบนความสนในผู้ป่วยออกจากเรื่อง ที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห การเสริมสร้าง ด้านอารมณ์ด้วยดนตรีบำบัด เป็นต้น
2.การรักษาด้วยยา
(Pharmacological Management) ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่ามียาที่ สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่อาจ มียาบางกลุ่มที่สามารถใช้รักษาบรรเทา อาการ และการรักษาประคับประคอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก
2.1 ยาที่ใช้รักษาตามอาการด้านการรู้ คิด ได้แก่ยากลุ่มที่ยับยั้งสารที่ทำลาย สารสื่อประสาทในสมอง
(acetylcholine esterase inhibitor)
2.2 ยาที่ใช้รักษาปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และความผิดปกติทางจิตปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และความ ผิดปกติทางจิตเกิดได้บ่อยในผู้ป่วยสมอง เสื่อม ซึ่งอาจต้องใช้ยาตามอาการทางจิต ร่วมรักษา เช่น ยาต้านเศร้า ยาลด อาการหลงผิดประสาทหลอนและอาการ กระวนกระวาย ยาคลายกังวลหรือยา นอนหลับ โดยแพทย์อาจจะปรับยาตาม อาการเพื่อให้สมดุลโดยพิจารณาถึง ประโยชน์และผลข้างเคียงของการใช้ยา
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
-Losartan 50 mg oralครั้งละ 1 เม็ด วันละครั้ง (เช้า)
-Trazodone 150 mg oral ครั้งละ 1 เม็ด วันละครั้ง (เย็น)
-Amlodipine 2.5 mg Oral วันละครั้ง (เช้า)
-Clonazepam 0.25 mg Oral ครั้งละ 1 เม็ด (เช้า-เย็น)
-Donepezil 5 mg Oral ครั้งละ 1 เม็ด (ก่อนนอน)
-Vitamin B Complex รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ดวันละ 3 ครั้ง (เช้า เที่ยง เย็น)
สาเหตุ
การเสื่อมสลายของเนื้อสมอง โดยไม่ทราบตัวการที่ชักนำทำให้เซลล์สมองตาย พบว่ามีสารสะสมในเซลล์สมองที่ เรียกว่า B-Amyloid ทำให้เซลล์สมองนั้นสลายตายไป และไม่มีเซลล์สมองใหม่ขึ้นมาทดแทน ทำให้สมองที่เหลืออยู่ไม่สามารถทำงานได้ดีอย่างเดิม โรคที่มีลักษณะความผิดปกติแบบนี้ คือ อัลไซเมอร์
ปัญหาหลอดเลือดสมอง เมื่อคนที่อายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั้งตัวมากบ้างน้อยบ้างตามแต่พันธุกรรม อาหารการกินและพฤติกรรมต่างๆของแต่ละคน การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีไขมันมาสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขรุขระ ไม่เรียบ และ ตีบลง ซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่สมบูรณ์ เนื้อสมองบางส่วนจะค่อยๆ ตายไป ทำให้ความสามารถในการทำงานของสมองลดลง
การติดเชื้อในสมอง ถ้ามีการติดเชื้อในสมองจะเกิดการอักเสบ จะทำให้เซลล์สมองบางส่วนตายไป เช่น โรคซิฟิลิส HIV วัณโรค และ ไวรัสบางชนิด โรควัวบ้า
เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน B1,B12 ,Folic Acid เช่น ผู้ป่วยที่ดื่มสุรามาก
การแปรปรวนของระบบเมตาบอลิกของร่างกาย เช่น การทำงานของต่อมไร้ท่อบางชนิดผิดปกติไป โดยเฉพาะต่อมไทรอยด์ ทำงานมากหรือน้อยไป ก็ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของสมองทั้งสิ้น
การกระทบกระเทือนที่สมอง
เนื้องอกในสมอง
สมองเสื่อมเกิดจากโพรงน้ำในสมองขยายใหญ่ขึ้นจากน้ำเลี้ยงสมองคั่งจนเบียดเนื้อสมอง ทำให้ทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีการซอยเท้า ก้าวสั้นๆ ปัสสาวะราด เข้าห้องน้ำไม่ทันร่วมด้วย
อาการ
1) ระดับอ่อนหรือไม่รุนแรง (Mild) เป็นระดับที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิด เช่น ลืมว่า วางของอยู่ไหน จำชื่อคนหรือสถานที่ที่ คุ้นเคยไม่ได้ส่วนความจําในอดีตยังดีอยู่ เริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงาน และสังคมอย่างเห็นได้ชัดแต่ผู้ป่วย สามารถ ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน
2)ระดับปานกลาง (MODERATE) ในระยะนี้ความจําจะเริ่มเสื่อมมากขึ้น มีความบกพร่องในความเข้าใจ
ความสามารถในการเรียนรู้การแก่ปัญหา และการตัดใจ เช่น ไม่สามารถคํานวณ ตัวเลขง่าย ๆ ได้เปิดโทรทัศน์ไม่ได้ ทําอาหารที่เคยทำไม่ได้ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เคยทำได้มาก่อน ลืมแม้กระทั่ง ชื่อคนในครอบครัวในช่วงท้ายของระยะ นี้ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน ผู้ป่วยในระยะนี้เริ่มไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้การปล่อยให้ อยู่คนเดียวอาจเป็นอันตราย จำเป็นต้อง อาศัยผู้ดูแลตามสมควร
3) ระดับรุนแรง (SEVERE) ในระยะนี้ ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เลยแม้แต่การทำกิจวัตรประจำวัน ต้องมี ผู้เฝ้าดูแลตลอดเวลาแม้แต่ความจําก็ไม่ สามารถจำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้เลยจำญาติ พี่น้องไม่ได้หรือแม้แต่ตนเองก็จำไม่ได้มี บุคลิกที่เปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้า ระยะนี้ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เกิด อุบัติเหตุต่อชีวิตได้ระยะเวลาการดำเนิน ของโรคอาจแตกต่างกันในแต่ละคน โดยระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการ (ระดับ อ่อน) จนเสียชีวิต (ระดับรุนแรง) โดย เฉลี่ยจะประมาณ 8-10 ปี
Nursing diagnosis
เสี่ยงต่อการทิ้งยาเนื่องจากมีอาการหลงผิด
เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรงเนื่องจากมีความหวาดระแวง
เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากมีอาการหลงลืมและสูงอายุ
การเสริมความรู้ตามหลักการของ D-METHOD
Chief complaints มีอาการหลงผิดว่าในยามีสารพิษ และหวาดระแวงว่าจะมีผู้อื่นจะมาทำร้ายตนเอง
Present illness and therapies 1 ปีก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยไม่พบแพทย์ตามนัด ไม่ได้รับประทานยาต่อเนื่อง มีอาการหลงลืม หวาดระแวงว่ามีคนจะมาทำร้ายตนเองและมีอาการหลงผิดว่าในยามีสารพิษ