Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2.1 การบัญชีสําหรับเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด - Coggle Diagram
บทที่ 2.1
การบัญชีสําหรับเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
กองทุนเงินสดย่อย
เป็นระบบการควบคุมภายในของเงินสด กองทุนเงินสดย่อยจะช่วยให้กิจการบริหารจัด
การเงินสดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของกองทุนเงินสดย่อย
1. ช่วยในการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างรายจ่ายที่มีจํานวนเงินไม่มากนักที่จ่ายเป็นเงินสด ทำให้สะดวกต่อการควบคุมการเบิกจ่าย และเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้จ่ายเงินอีกด้วย
2. ช่วยให้พนักงานบัญชีไม่ต้องบันทึกรายการเงินสดทุกครั้ง เพราะระบบเงินสดย่อยจะผ่านรายการเมื่อมีการปิดบัญชี
3. ช่วยในการพิจารณารายจ่ายได้ถูกต้องเนื่องจากจํานวนเงินไม่มากนัก และสามารถตรวจสอบไดสะดวกและรวดเร็ว
ระบบกองทุนเงินสดย่อย
กองทุนเงินสดย่อย สามารถแบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ ระบบเงินสดย่อยแบบจํากัดวงเงิน และแบบไม่ได้จํากัดวงเงิน โดยสามารถอธิบายรายละเอียดได้
ระบบเงินสดย่อยจํากัดวงเงิน
เป็นวิธีการเบิกจ่ายจากเงินสดย่อยที่จ่ายออกไปแล้ว จึงนําใบสําคัญมาเบิกชดเชยเพื่อให้ครบตามจํานวนวงเงินที่ตั้งไว้ กิจการจึงควรกําหนดวงเงินที่เหมาะสม ไม่สูงหรือน้อยเกินไปโดยวงเงินสดย่อยดังกล่าวเรียกว่า “Float” หรือ “Petty Cash Float” โดยให้ผู้รักษาเงินสดย่อย รับผิดชอบการเบิกจายเงินสดจากกองทุน
ระบบเงินสดย่อยไม่จํากัดวงเงิน
เป็นระบบเงินสดย่อยที่มีการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินออกไป และเมื่อมีการเบิกชดเชยเงินสดย่อยก็ไม่จําเป็๋นจะต้องเบิกเท่ากับใบสําคัญที่จ่ายออกไป วิธีนี้จะแสดงความเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงของเงินสดย่อยตลอดเวลา
ขั้นตอนการบันทึกบัญชีระบบเงินสดย่อย
1. การตั้งวงเงินสดย่อย
เมื่อมีการกําหนดระบบเงินสดย่อยเป็นระบบการควบคุมภายในของเงินสด ผู้มีอํานาจจะสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คและมอบให้กับผู้รักษาเงินสดย่อย
2. การเบิกจ่ายเงินสดย่อย
เมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายจากเงินสดย่อย พนักงานรักษาเงินสดย่อยจะให้ผู้รับเงินบันทึกหลักฐานไว้ในสมุดบัญชีหรือในระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของระบบเงินสดย่อย โดยระบบ Imprest Petty Cash พนักงานบัญชีจะไม่มีการบันทึกบัญชี แต่ผู้รักษาเงินสดย่อยจะบันทึกลงสมุดเงินสดย่อย
3. การเบิกชดเชยเงินสดย่อย
เมื่อมีการเบิกจ่ายเงินสดย่อยออกไปเกือบเต็มวงเงิน พนักงานรักษาเงินสดย่อยจะรวบรวมหลักฐานที่จ่ายเงินสดย่อยออกไป เช่น ใบสําคัญจ่าย ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น มาขอเบิกชดเชยกับพนักงานรับจ่ายเงิน และพนักงานรับจ่ายเงินก็จะจ่ายเช็คให้เท่ากับหลักฐานที่นํามาขอเบิกชดเชย โดยพนักงานบัญชีจะบันทึกบัญชี
เงินเกินและขาดบัญชี
กรณีเงินขาดบัญชี
กรณีเงินเกินบัญชี
4. การปรับปรุงเงินสดย่อย ณ วันสิ้นงวด
การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด
การควบคุมเงินสด เพื่อ
ลดความเสี่ยงต่อการรั่วไหลที่อาจจะเกิดขึ้น ระบบการควบคุมภายใน่เกี่ยวกับบัญชีเงินสดจะช่วยให้ผู้ใช้รายงานทางการเงินมีความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าบัญชีเงินสดมีความถูกต้อง
การควบคุมเงินสดรับ
1. ตรวจสอบการออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีการรับเงินสด และควรมีการลงเลขที่ไว้ล่วงหน้า
2. มีการตรวจสอบยอดรวมใบเสร็จรับเงิน และจํานวนเงินที่นําฝากธนาคารในแต่ละวัน
3.ในกรณีที่ได้รับเช็ค ควรขีดคร่อมเช็คและระบุชื่อกิจการรวมทั้งเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารด้านหลังเช็ค
4. มีการติดตาม ตรวจสอบวิธีการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดรับโดยผู้ตรวจสอบอิสระ
การควบคุมเงินสดจ่าย
1. มีพนักงานรับผิดชอบในการกําหนดวงเงินสดจ่าย การดูแล และการเก็บรักษาเงินสดออกจากกัน เพื่อลดความเสี่ยงการทุจริตเงินสดรวมทั้งการลงบัญชีที่ไม่ถูกต้อง
2. มีการอนุมัติเงินสดจ่ายโดยผู้มีอํานาจเท่านั้น
3. การจ่ายเงินสดทุกรายการควรจ่ายด้วยเช็ด (ยกเว้นการจ่ายจากกองทุนเงินสดย่อย)
4. มีการติดตาม ตรวจสอบวิธีการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดจ่ายโดยผู้ตรวจสอบอิสระ