Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การหายใจของพืช - Coggle Diagram
การหายใจของพืช
ปัจจัยที่ควบคุมการหายใจ
- การปรากฏของออกซิเจน การได้รับออกซิเจนจะมีอิทธิพลต่อการหายใจ ซึ่งจะต่างกันไปตามชนิดและอวัยวะของพืช ความผันแปรของออกซิเจนในอากาศปกติจะมีอิทธิพลต่อการหายใจน้อยมาก ยิ่งไปกว่านั้นอัตราการซึมของออกซิเจนสู่ไมโตคอนเดรียก็นับว่าพอเพียงต่อการหายใจ รากของข้าวซึ่งเจริญเติบโตอยู่ในน้ำได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพการขาดออกซิเจนโดยสร้างรากที่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ใหญ่ รากจะได้รับออกซิเจนผ่านมาทางใบและเก็บออกซิเจนไว้ที่ช่องว่างระหว่างเซลล์ ถ้าไม่มีออกซิเจนในบรรยากาศเลยมีแต่ก๊าซไนโตรเจน อัตราการหายใจจะไม่เท่ากับศูนย์ และในบางครั้งอาจจะเพิ่มขึ้นได้ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Pasteur Effect การเพิ่มอัตราการหายใจดังกล่าวเป็นผลจากเมื่อปริมาณออกซิเจนต่ำมากจะไม่รบกวนกระบวนการไกลโคไลสิซ ทำให้กระบวนการไกลโคไลสิซเกิดโดยไม่มีออกซิเจนนั้น คือ เกิดการสะสมเอทธานอล การระงับ ไกลโคไลสิซของออกซิเจนเกิดจากเอนไซม์ Phosphofructokinase ซึ่งจะมีกิจกรรมมากขึ้นเมื่อเซลล์ขาดออกซิเจน
- อุณหภูมิ พืชส่วนใหญ่มี Q10 ของการหายใจระหว่างอุณหภูมิ 5-25 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-2.5 แต่การเพิ่มอัตราการหายใจจะลดลงหลังจากที่อุณหภูมิสูงถึง 30 องศาเซลเซียส และอัตราการหายใจจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะเอนไซม์เริ่มหมดสภาพ
- การมีสารเริ่มต้น เนื่องจากกระบวนการหายใจเป็นกระบวนการที่ใช้อาหารสะสม ดังนั้นพืชที่ขาดอาหาร เช่น มีแป้งสะสมน้อยมากหรือขาดสารเริ่มต้นชนิดอื่นจะหายใจช้า เมื่อให้ น้ำตาลกับพืชเหล่านี้จะเพิ่มกระบวนการหายใจขึ้นทันที ใบล่างที่ได้รับแสงน้อยจะมีอัตราการหายใจต่ำกว่าใบยอดที่ได้รับแสงเต็มที่ ซึ่งอาจจะเกิดจากใบล่างสังเคราะห์แสงได้น้อยจึงมีน้ำตาลสะสมน้อย ถ้าการขาดอาหารของพืชยังดำเนินต่อไป โปรตีนจะถูกออกซิไดซ์ โดยเริ่มจากการไฮโดรไลซ์โปรตีนเป็นกรดอะมิโนแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการหายใจ ในกรณีของกรดกลูตามิคและแอสพาติค (Glutamic และ Aspartic acid) จะเปลี่ยนไปเป็น a-Ketoglutaric และ Oxaloacetic acid ตามลำดับ อะลานีน (Alanine) จะถูกออกซิไดซ์เป็นกรดไพรูวิค
- ชนิดและอายุของพืช เนื่องจากพืชมีลักษณะทางสัณฐานวิทยา แตกต่างกันมาก จึงมีกระบวนการเมตาบอลิสม์ที่ต่างกันด้วย และอวัยวะที่ต่างกันของพืชชนิดเดียวกันก็จะมีอัตราการหายใจที่ต่างกัน ส่วนของพืชที่กำลังเจริญเติบโตมีปริมาณโปรโตพลาสต์มากจะมีอัตราการหายใจสูงเมื่อใช้น้ำหนักแห้งเป็นพื้นฐาน อายุของพืช พืชที่มีอายุน้อย เช่น ต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ดใหม่ ๆ หรือผลอ่อนที่เพิ่งติดจะมีอัตราการหายใจสูงกว่าส่วนของพืชที่เจริญเต็มที่แล้ว
-
-
วงจรเครบส์ (Krebs Cycle)
วงจรเครบส์นั้น มีชื่อเนื่องมาจากนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ H.A. Krebs ซึ่งเสนอวงจรนี้ขึ้นมาในปี 1937 วงจรนี้อธิบายถึงการสลายตัวของกรดไพรูวิค วงจรนี้มีชื่อหลายชื่อ เช่น Citric Acid Cycle หรือ Tricarboxylic Acid Cycle หรือ TCA เพราะกรดบางชนิดที่เกิดในวงจรนี้มีคาร์บอกซิล 3 กลุ่ม
หน้าที่ของวงจรเครบส์
- สร้าง NADH และ FADH2 ซึ่งต่อมาจะถูกออกซิไดซ์แล้วให้ ATP 3 และ 2 โมเลกุลตามลำดับ กลูโคส 1 โมเลกุลให้ NADH 8 โมเลกุลและ FADH2 2 โมเลกุล
- สังเคราะห์ ATP 1 โมเลกุล จากกรดไพรูวิค 1 โมเลกุล ดังนั้นกลูโคส 1 โมเลกุล จึงให้ ATP 2 โมเลกุลในวงจรเครบส์ ซึ่งเมื่อรวมกับ ATP ซึ่งได้จากข้อ 1 ทำให้ได้ ATP ทั้งหมด 30 โมเลกุล
- สร้างสารประกอบที่ใช้ในการสังเคราะห์สารอื่น ๆ ในเซลล์
-
-
-
-