Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่7 ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ - Coggle Diagram
หน่วยที่7 ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
ประชากร หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดเดียวกัน และอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันในช่วงเวลาหนึ่ง
กลุ่มสิ่งมีชีวิต หมายถึง กลุ่มของประชากรหลาย ๆ ชนิด ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หนึ่ง
ระบบนิเวศ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบของระบบนิเวศ
องค์ประกอบทางชีวภาพได้แก่ สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เช่น พืช สัตว์ มนุษย์ เห็ด รา จุลินทรีย์ เป็นต้น
องค์ประกอบทางกายภาพได้แก่ สิ่งไม่มีชีวิตในระบบนิเวศ เช่น ดิน น้ำ แสง อุณหภูมิ เป็นต้น
ประเภทของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศบนบก หมายถึง ระบบนิเวศที่พบอยู่บนบก หรือพื้นดิน เช่น ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศทะเลทราย ระบบนิเวศทุ่งหญ้า เป็นต้น
ระบบนิเวศในน้ำ (aquatic ecosystem) หมายถึง ระบบนิเวศที่พบอยู่ในแหล่งน้ำทั้งหมด แบ่งเป็น -ระบบนิเวศในน้ำจืด เช่น ระบบนิเวศหนองน้ำ ระบบนิเวศแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น -ระบบนิเวศในน้ำเค็ม เช่น ระบบนิเวศทะเล ระบบนิเวศมหาสมุทร เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิด (Interspecific interactions) หมายถึง ความเกี่ยวข้องหรือสายสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการอาศัยอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดในระบบนิเวศ
ภาวะการล่าเหยื่อ (Predation : +/-) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้รับผลประโยชน์โดยตรงหรือที่เรียกกันว่า “ผู้ล่า” (Predator) ขณะที่ฝ่ายซึ่งสูญเสียประโยชน์หรือสูญเสียชีวิต คือ “ผู้ถูกล่า” หรือ “เหยื่อ” (Prey)
ภาวะอิงอาศัย(Commensalism : +/0) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับผลประโยชน์ ขณะที่อีกฝ่ายไม่ได้รับหรือเสียผลประโยชน์ใดๆ
ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation : +/+) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันและได้รับผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังได้ หากเกิดการแยกตัวออกจากกัน
ภาวะการแข่งขัน (Competition : -/-) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ซึ่งดำรงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน และทั้งสองฝ่ายต่างจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรประเภทเดียวกันในการดำรงชีวิต จนก่อให้เกิดภาวะแก่งแย่งแข่งขันที่ส่งผลเสียแก่ทั้งสองฝ่าย
ภาวะพึ่งพาอาศัยกัน (Mutualism : +/+) หมายถึง ความสัมพันธ์ระยะยาวของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถแยกตัวออกจากกันได้อีกเลยตลอดช่วงชีวิต
ภาวะปรสิต (Parasitism : +/-) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสูญเสียผลประโยชน์หรือถูกเบียดเบียนจากการเป็นผู้ถูกอาศัยที่เรียกว่า “โฮสต์” (Host) ขณะที่ฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ลักษณะนี้ หรือ “ปรสิต” (Parasite)
ห่วงโซ่อาหาร (food chain) คือการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศในรูปของอาหาร จากผู้ผลิต ซึ่งได้แก่
แพลงก์ตอนพืช พืชสีเขียว ไปยังสิ่งมีชีวิตต่างๆจากผู้บริโภคในลำดับต้นๆไปสู่ผู้บริโภคในลำดับต่อไป โดยการกินเป็นทอดๆ
โซ่อาหาร (Food Chain) คือ ลำดับการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิต จากพืชไปสู่สัตว์กินพืช และจากสัตว์กินพืชไปสู่สัตว์กินเนื้ออีกทอดหนึ่ง
สายใยอาหาร (food web) คือห่วงโซ่อาหารที่ซับซ้อน หรืออาจเกิดจากความสัมพันธ์ของหลายๆห่วงโซ่อาหาร
ในแต่ละขั้นตอนจะมีการถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยในแต่ละช่วง จะมีการสูญเสีย พลังงานความร้อนในปริมาณมาก ประมาณ 80-90% จึงทำให้แต่ละห่วงโซ่อาหาร ที่มีสิ่งมีชีวิตที่กินกันเป็นทอดๆ มีจำนวนจำกัด ไม่เกิน 4 หรือ 5 ช่วงเท่านั้น ซึ่งห่วงโซอาหารที่มีจำนวนลำดับน้อยจะมีการสูญเสียพลังงานน้อย
สารพิษที่ย่อยสลายไม่ได้ในระบบทางเดินอาหารของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ก็สามารถถ่ายทอดผ่านลำดับขั้นการกินในโซ่อาหารได้เช่นกัน โดยสารพิษจะสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย (last consumer) มีปริมาณสารพิษสะสมมากที่สุด เราเรียกกระบวนการนี้ว่า ไบโอแม็กนิฟิเคชัน
โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบ่งออกเป็น 3 ระดับ (trophic levels) คือ
ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์(decomposer) ได้แก่ เห็ด รา แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ต่างๆ ที่สามารถย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ หรือสารอินทรีย์ ให้เป็นสารอนินทรีย์พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ไ
ผู้ผลิต(producer) ได้แก่พืช สาหร่าย โปรโตซัว เช่น ยูกลีน่า หรือเเบคทีเรียบางชนิด โดยมีบทบาทในการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มากระตุ้นสารอนินทรีย์บางชนิดให้อยู่ในรูปของสารอาหาร
ผู้บริโภค(consumer) ได้แก่ สัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินสิ่งมีชีวิตอื่น ได้แก่
ผู้บริโภคพืช (herbivore หรือ primary consumer) เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ กระต่าย เป็นต้น
ผู้บริโภคทั้งสัตว์ทั้งพืช (omnivore) เช่น คน ไก่ ลิง เป็นต้น
ผู้บริโภคสัตว์ (carnivore หรือ secondary consumer) เช่น เสือ สิงโต เหยี่ยว งู เป็นต้น