Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary System) - Coggle Diagram
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary System)
ระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนบน
(Upper urinary tract)
ไต (Kidney)
มีสองข้าง ลักษณะคล้ายรูปเมล็ดถั่วแดง
วางตัวอยู่นอกช่องท้องด้านหลัง (Retro peritoneal organ) อยู่ติดกับกระดูกสันหลังระหหว่าง T12 - L2
ไตข้างขวาจะอยู่ต่ำกว่าข้างซ้ายเล็กน้อย
หน่วยไต (Nephrons)
โครงสร้างของหน่วยไต แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
Renal corpuscle (ส่วนต้นของหน่วยไต) ประกอบด้วย
Bowman's capsule ป็นถุงหุ้มกลุ่มหลอดเลือดฝอย
ผิวนอกเป็นเนื้อเยื่อเส้นใยเหนียว (Fibrous tissue) ภายในบุด้วย Squamous
Glomerulus
เป็นกลุ่มของหลอดเลือดฝอย ที่แยกออกมาจากหลอดเลือดเล็กขาเข้า (Afferent arteriole) และอีกด้านหนึ่งเป็นทางออกของหลอดเลือดเล็กขาออก (Efferent arteriole)
หลอดไต Renal tubule
หลอดไตส่วนต้น (Proximal tubule)
เป็นส่วนที่ต่อจาก Bowman's capsule
มี microvilli ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิว
ผนังบุด้วย Epithelium tissue ชนิด Squamous
หลอดไตรูปตัวยู (Henle's loop)
ส่วนต้นท่อตัวยูขาลง เรียก Descending limb ขาขึ้น เรียก Ascending limb
ส่วน Descending limb เป็นการขนส่งสารแบบไม่ใช้พลังงาน เพราะไม่มี mitochondria
ส่วน Ascending limb เป็นการส่งสารแบบใช้พลังงาน เพราะมี mitochondria
หลอดไตส่วนปลาย (Distal tubule)
เซลล์บุผิวมีลักษณะเป็น Squamous หรือ Columnar
กับหลอดไตตัวยูขาขึ้น (Ascending limb)
หลอดไตรวม (Collecting duct)
เป็นส่วนสุดท้ายของ หน่วยไต (Nephron)
สามารถดูดซึมกลับสารต่างๆและคัดหลั่งน้ำปัสสาวะ
ช่วยรักษาสมดุลของน้ํา สมดุล Electrolyte และสมดุลกรดด่างของร่างกาย
หน้าที่ของไต
ควบคุมความดันออสโมติค (Osmotic pressure) ของน้ำในร่างกาย
ช่วยขับถ่ายและรักษาดุล กรด - ด่าง
ควบคุมปริมาณของเหลวนอกเซลล์โดยการขับทิ้งน้ำและโซเดียมไอออน
สร้างสารจำเพาะ
มีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น
Renal fascia (ชั้นนอกสุด) ทำหน้าที่ยึดไตให้ติดกับผนังท้องด้านหลัง
Adipose capsule (ชั้นไขมัน) ทำหน้าที่่ดูดซับแรงกระเทือนต่อไต
Renal capsule (ชั้นในสุด) เป็นชั้นที่อยู่ชิดกับผิวไตที่บาง และเหนียว
ท่อไต (Ureter)
เป็นท่อที่นำน้ำปัสสาวะจากกรวยไตไปยังกระเพาะปัสสาวะ
เป็นท่อกลวงที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ
กรวยไต (Renal pelvis)
ลักษณะคล้ายรูปปากแตร
ระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนล่าง (Lower urinary tract)
กระเพาะปัสสาวะ (Urinary Bladder)
มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะ
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
Adventitia ชั้นนอกสุด เป็นส่วนของชั้นเนื้อเยื่อเส้นใย fibrous connective tissue (เหนียว,แข็งแรง)
Muscular ชั้นกลางเป็นกล้ามเนื้อเรียบ Detrusor muscle
Mucosa ชั้นในสุด มีเนื้อเยื่อบุผิวชนิด Transitional epithelium (เปลี่ยนแปลงรูปร่งหน้าตาได้)
เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน
ท่อปัสสาวะ(Urethra)
ส่วนท้ายของกระเพราะปัสสาวะต่อกับท่อปัสสาวะ
ทำหน้าที่นำน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะออกมาสู่ภายนอกร่างกาย
เป็นส่วนของท่่อที่ต่อมาจากส่วนคอของกระเพาะปัสสาวะ
ปริมาณเลือดไหลเวียนเข้าสู่ไต (Renal blood flow,RBF)
อัตราการไหลการไหลของเลือด
เลือดจากหลอดเลือดแดงรีนัล ไหลเข้าสู่ไตประมาณ 20 - 30 ของปริมาณเลือดจากหัวใจต่อนาที
สัดว่วนเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีผ่านไปเรียกว่า Rena fraction
การกระจายเลือดในไต
ความแตกต่างในหน้าที่ของแต่ละตำแหน่ง
เลือดที่เข้าสู่เนื้อไตส่วนนอกโดยเฉพาะที่โกลเมอรูลัส มีประมาณร้อยละ 80
ส่วนที่ลึกลงไปที่เนื้อไตส่วนในนั้น Renal corpuscle มีน้อยและเลือดบางส่วนยังต้องผ่านไปในหลอดเลือด Vasa recta ทำให้การไหลเวียนช้ากว่าที่เนื้อไตส่วนนอกมาก
กระบวนการสร้างน้ำปัสสาวะ (Glomerulus Filtration)
มีกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอน
กระวนการกรอง (Glomerulus filtration)
เลือดแดงที่ผ่านจากหลอดเลือดแดงเล็กขาเข้าจะเข้าสู่หลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัสและถูกกรองผ่านเยื่อโกลเมอรูลัส(Glomerulus membrane)
แยกสัดส่วนของพลาสมาจากเม็ดเลือดและสารโมเลกุลใหญ่ ปกติสารที่มีโมเลกุลใหญ่จะไม่ถูกกรอง
ลักษณะโครงสร้างของผนังโกลเมอรูลัส
Endothelial cell
เซลล์แบนชั้นเดียว (squamous) บุอยู่ชั้นในสุดของผนังหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัส
มีรูพรุนในไซโตพลาสซึม เรียกว่า pore
Basement membrane (Basal lamina)
เป็นเซลล์เยื่อฐานอยู่ชั้นกลาง
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ชั้นไซโตพลาสซึมของเอนโดธีเลียม
มีลักษณะคล้ายวุ้น
ประกอบด้วยกลัยโคโปรตีน มีสารจำพวก Glycoaminoglycan
Visceral epithelial cell
ประกอบขึ้นเป็นเซลล์เยื่อบุผิวผนังด้านในของ Bowman's capsule (Bowman's capsule epithelium)
และปกคลุมด้านนอกของเยื่อฐานอีกชั้นหนึ่งเรียกว่า Pedicel หรือ Foot process
อยู่ชั้นนอกสุด เป็นเซลล์ชั้นเดียว
กระบวนการขนส่งในหลอดไต (Tubular transportation)
มี 2 ทาง
การดูดซึมกลับ (Resorbtion)
การดูดซึมกลับโดยใช้พลังงานที่มีความสามารถขนส่งจำกัด (Transport maximum , Tm)
การขนส่งสารโดยสารโดยมีวิธีนี้มีขีดจำกัด
เป็นการดูดซึมกลับสารของจากหลอดไตผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ของเนื้อไต(Interstitium) เข้าสู่เลือดต้านกับศักย์ไฟฟ้าและเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้
การทำงานต้องอาศัยพลังงานและอาศัยตัวพาวิ่งอยู่ที่ผนัลของหลอดไต
การดูดซึมกลับของสารโดยวิธีนี้ได้แก่ กลูโคส ฟอสเฟต ซัลเฟต มาเลต แลคแตต ไฮดรอกซีบิวทีเรต อาซิโตอาซิเตต วิตามินซี และกรดอะมิโน ซึ่งสารแต่ละตัวจะมีTm แตกต่างกัน
การดูดซึมกลับโดยใช้พลังงานที่มีขีดความสามารถจำกัดโดยความเข้มข้นและเวลา (Gradient time limitation)
ขึ้นอยู่กับควีาแตกต่างของความเข้มข้นที่เกิดขึ้นระหว่างของเหลวในท่อไตกับในเซลล์ว่ามากน้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับเวลาที่ของเหลวสัมผัสกับหลอดไต
การดูดซึมกลับวิธีการนี้ไม่มีจุดอิ่มตัวในการขนส่ง ถ้ากรองออกมามากก็จะถูกดูดซึมกลับมาก เช่น โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ และไบคาร์บอเนต
ส่วนมากเกิดขึ้นที่หลอดไตส่วนต้น (Proximal tubule)
การดูดกลับแบบไม่ใช้พลังงาน
เป็นการดูดซึมกลับที่เกิดขึ้นตามความเข้มข้นของไฟฟ้าและเคมี
เกิดขึ้นมากสุดในตอนต้นๆ ของหลอดไตส่วนต้น (Proximal tubule) ที่ประมาณ 1/4 แรกของหลอดไต
การคัดหลั่งสารของหลอดไต (Renal tubular secretion)
การคัดหลั่งของสารแบบใช้พลังงานและมีความสามารถของการขนส่งจำกัด (Transport Maximum, Tm)
การคัดหลั่งสารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรด (Organic acids)
สารพวก Phenol red , Diodrast , PAH และอื่นๆ
สามารถบอกถึงหน้าที่ของหลอดไตในการคัดหลั่งได้มากน้อยโดยดูจากค่า Tm ของสารเหล่านี้
การคัดหลั่งของสารแบบใช้พลังงานที่ถูกจำกัดโดยความเข้มและเวลา (Gradient - Time Lemitation)
การคัดหลั่งของสารแบบนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความเข้มข้นระหว่างในเซลล์กับของเหลวในท่อไต
หลอดไตส่วนต้นคัดหลั่งไฮโดรเจนได้มาก
หลอดไตรวมคัดหลั่งได้น้อยเพราะต้านต่อภาวะความแตกต่างที่สูง
พบว่าร่างกายเป็นกรดอย่างมาก ไตสามารถขับปัสสาวะที่มี PH ต่ำสุดเพียง 4.5 หน่วย
การคัดหลั่งสารแบบไม่ใช้พลังงาน
พบได้ในการหลั่งกรดอ่อน ด่างอ่อน สารที่ละลายไขมันและโพแทสเซียม
การคัดหลั่งสารพวก ควินิน , โปรเคน , คลอโรควิน , และแอมโมเนีย จัดเป็นด่างอ่อนจะถูกคัดหลั่งได้มากขึ้นขณะของเหลวในหลอดไตเป็นกรด
การทำให้ปัสสาวะเข้มข้นหรือเจือจาง
บริเวณท่อตัวขาขึ้นขนาดใหญ่และส่วนเริ่มต้นของหลอดไตส่วนปลายเป็นบริเวณที่ทำให้น้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นต่ำ ปกติหลอดไตส่วนนี้ยอมให้สารผ่านออกมากกว่าน้ำ
หลอดไตรวมซึ่งเซลล์ของผนังหลอดไตส่วนนี้ยอมให้น้ำผ่านได้น้อยอยู่แล้ว
ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนเอดีเอชจะลดการดดูดซึมกลับลงอีกปัสสาวะจะมีมากและเจือจาง
เมื่อของเหลวผ่านหลอดไตรวมเรียงตัวลึกลงไปในเนื้อไตส่วนใน ของเหลวในเนื้อไตส่วนในที่ล้อมรอบหลอดไตรวมมีความเข้มข้นสูงกว่าพลาสมา
เมื่อมีฮอร์โมนเอดีเอชจะทำให้มีการดูดซึมกลับของน้ำจากหลอดไตรวมเข้าสู่เลือดทำให้น้ำถูกขับออกมาน้อย และปัสสาวะมีความเข้มข้น
กลไกการขับถ่ายปัสสาวะ
ถูกควบคุมทั้งระบบประสาทนอกและในอำนาจจิตใจ
การควบคุมโดยอำนาจจิตใจจะมีความสำคัญกว่า ส่วนการควบคุมภายนอกจิตใจนั้นเป็นรีเฟลกซ์การขับถ่ายปัสสาวะ (Micturition reflex) เกี่ยวข้องระหว่างกระเพาะปัสสาวะและไขสันหลัง (Local spinal reflex) เมื่อมีปัสสวาะเพิ่มขึ้นประมาณ 400 - 500 มิลลิลิตร จะมีการกระตุ้นต่อศูนย์รีเฟลกซ์ที่สันหลัง แล้วส่งกระแสประสาทกลับลงมากับ Pelvis nerve
ทำให้กล้ามเนื้อ Detrusor ของกระเพาะปัสสวาะหดตัวความดันในกระเพราะปัสสาวะสูงขึ้น น้ำและหูรูดชันในของกระเพราะปัสสาวะคลายตัว สองส่วนที่ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะจะส่งสัญญาณประสาทสมองลงไปกดสัญญาณ ที่ขัดขวางการขับถ่ายปัสสาวะ
เป็นผลให้กล้ามเนื้อเชิงกรานและหูรูดท่อปัสสาวะชั้นนอกคลายตัวพร้อมกับมีการเกร็งของกล้ามเนื้อผนังช่องอกและกะบังลมเพื่อเพิ่มความดันภายในช่องท้อง
ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความดันเพิ่มและมีการขับถ่ายปัสสาวะออกมา
ระบบประสาทที่ควบการถ่ายปัสสาวะ
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nerve)
ระบบประสาทซิมพาเทติก(Sympathetic nerve)
ระบบประสาทโซมาติก(Somatic nerve)