Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คำราชาศัพท์ กลุ่มที่7 ม.2/15 - Coggle Diagram
คำราชาศัพท์
กลุ่มที่7 ม.2/15
1.ที่มาของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ทรงนิยมเขมร ถึงกับเอาลัทธิและภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์
2.ความหมายของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย
ใช้กับบุคคลต่อไปนี้
1.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
2.พระบรมวงศานุวงศ์
3.พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
4.ขุนนาง ข้าราชการ
5.สุภาพชน
3.หลักการใช้คำว่า"พระบรม" "พระราช"
และ "พระ"
“พระ” ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่น พระชานุ พระนลาฏ พระขนง เป็นต้น
“พระบรม” ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย เป็นต้น
ใช้คำ “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องการกล่าวไม่ให้ปนกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง พระราชลัญจกร พระราชประวัติ พระราชดำริ พระราชทรัพย์
4.หลักการใช้คำว่า "ทรง"
คำว่า ทรง เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำกริยาธรรมดาให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงกราบ ทรงขับรถ ทรงยืน ทรงฝัน. และนำหน้าคำนามมีความหมายเป็นคำกริยาต่าง ๆ ตามความหมายของคำนามนั้น ๆ เช่น ทรงศีล ทรงจักรยาน ทรงเรือใบ ทรงช้าง. ทรง นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นคำกริยาได้ เช่น ทรงพระนิพนธ์ ทรงพระผนวช ทรงพระวิริยอุตสาหะ ทรงพระราชปฏิสันถาร
5.หลักการใช้คำว่า"เสด็จ"
เสด็จ นำหน้าคำกริยาบางคำ เช่น เสด็จไป เสด็จกลับ เสด็จออก เสด็จขึ้น เสด็จลง 2.2.ใช้ เสด็จ นำหน้าคำนามราชาศัพท์เพื่อทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชสมภพ เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนาม
6.หลักการใช้ทูลเกล้า
(ใช้แก่สิ่งของเล็กหรือของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย. ร้องฎีกา ก. ทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์
7.ตัวอย่างคำราชาศัพท์
พระพักตร์=หน้าพระเนตร=ตา
พระขนง=คิ้ว
พระโอษฐ์=ปาก
พระมาลา=หมวก
พระสนับเพลา=กางเกง
ถุงพระบาท=ถุงเท้า
พระอัยกา=ปู่,ตา
พระอัยยิกา=ย่า,ยาย
พระธำมรงค์=แหวน
ตัวอย่างคำราชาศัพท์
1เศียร หมายถึง หัว ศรีษะ
พระนลาฏ
หมายถึง หน้าผาก
พระกนีนิกา, พระเนตรดารา
หมายถึง แก้วตา
เส้นพระเจ้า
หมายถึง เส้นผมของพระมหากษัตริย์
พระขนง, พระภมู
หมายถึง คิ้ว
ดวงพระเนตรดำ
หมายถึง ตาดำ
10.พระทาฐะ, พระทาฒะ
หมายถึง เขี้ยว
พระโมลี
หมายถึง มวยผม
พระเนตร, พระนัยนะ, พระจักษุ
หมายถึง ดวงตา
พระโลมจักษุ, ขนพระเนตร
หมายถึง ขนตา