Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การประเมินสุขภาพ
หญิงตั้งครรภ์
ข้อมูลส่วนตัว
หญิงตั้งครรภ์ชาวไทย อายุ 34 ปี G1P0-0-0-0 GA 10 wks. 2 day by date
LMP = 14 ธันวาคม 2564
EDC = 20 กันยายน 2565
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 49 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร
น้ำหนักปัจจุบัน (24/02/565) 50 กิโลกรัม
สัญญาณชีพแรกรับ(24/02/65) BT = 36.6 องศาเซลเซียส, BP = 110/66 mmHg, PR = 86 ครั้ง/นาที
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนช่วงเช้า ไม่เคยได้รับวัคซีนบาดทะยัก
ไม่มีโรคประจำตัว ปฏิเสธประวัติการผ่าตัด ปฏิเสธประวัติการแพ้ยา
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครอบครัว : ย่าของผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ปัจจัยเสี่ยงที่พบในหญิงตั้งครรภ์รายนี้
อายุ 34 ปี เสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM)
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
(Gestational diabetes mellitus : GDM)
พยาธิสรีรวิทยา
การตั้งครรภ์ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินโดยเฉพาะในช่วงกลางของการตั้งครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์หรือในช่วงปลายของไตรมาสที่ 2 ไปจนถึงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากไขมันในร่างกายของมารดาจะไปจับกับฮอร์โมน HPL หรือ Human placental lactogen ซึ่งสร้างมาจากรก จะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ลดความทนต่อกลูโคส และทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง
ผลกระทบ
ต่อมารดา
Diabetic retinopathy
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (Pregnancy induced hypertension : PIH)
Infection
Preterm labor
น้ำคร่ำมากกว่าปกติ (Polyhydramnios) จาก Fetal polyuria
คลอดยาก (Dystocia)
Abortion
Pee-eclampsia
ต่อทารกในครรภ์
พิการแต่กำเนิด (Congenital abnormally)
ตายในครรภ์ (Dead fetus in utero : DFIU)
ทารกตัวโตมากกว่าปกติ (Macrosomia)
ต่อทารกแรกเกิด
Hypoglycemia
หายใจลำบาก (Respiratory Distress syndrome : RDS)
ขาดออกซิเจน (Birth asphyxia)
อาการ
ปัสสาวะมาก (Polyuria)
ดื่มน้ำมาก (Polydipsia)
รับประทานอาหารจุ (Polyphagia)
น้ำหนักลด (Weight loss)
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย
การวินิจฉัย/คัดกรอง
50 g GCT ถ้ามีค่าตั้งแต่ 140 mg/dL ให้ยืนยันด้วยวิธี 100 g OGTT
ผิดปกติ 1 ค่า = ไม่ได้เป็น GDM
ผิดปกติมากกว่า 2 ค่า = เป็นGDM
แยก Type โดยวิธี FBS และ 2 hr. PPG
2 more items...
ปกติ
นัดทำ 100 g OGTT ภายใน 1 เดือน
ปัจจัยเสี่ยง
อายุตั้งแต่ 30 ปี
BMI ตั้งแต่ 27 kg/m2
มีพ่อแม่ พี่น้องเป็นเบาหวาน
แท้งมากกว่า 3 ครั้ง
ครรภ์ที่แล้วเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
HIV
ลูกตายปริกำเนิด
เคยมีประวัติตั้งครรภ์ทารกตัวโต (Macrosomia)
ทารกพิการแต่กำเนิด
มีความดันโลหิตสูง
การรักษา
คุมอาหารงดน้ำตาล , ออกกำลังกายคุมน้ำหนัก, ใช้อินซูลิน, ดูแลความสะอาดร่างกาย, สังเกตภาวะแทรกซ้อน
ประวัติการได้รับวัคซีน
วัคซีนบาดทะยัก : ไม่เคยได้รับวัคซีนบาดทะยัก
วัคซีน Covid-19 :
เข็มที่ 1 วันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ยี่ห้อ Astrazeneca
เข็มที่ 2 วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ยี่ห้อ Astrazeneca
11 แบบแผนกอร์ดอน
แบบแผนที่ 1 : การรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
หญิงตั้งครรภ์อายุ 34 ปี รับรู้ว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ครั้งแรก ตั้งใจในการมีบุตร ไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
แบบแผนที่ 2 : อาหารและการเผาผลาญสารอาหาร
ก่อนการตั้งครรภ์ รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ไม่มีอาหารที่ไม่ชอบ รับประทานได้หมด ปฏิเสธการแพ้อาหาร ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ดื่มน้ำวันละประมาณ 1 ลิตร
ขณะตั้งครรภ์ รับประทานอาหารได้น้อยลง ได้ประมาณวันละ 2 มื้อ เนื่องจากมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
แบบแผนที่ 3 : การขับถ่าย
ก่อนการตั้งครรภ์ : ปัสสาวะวันละประมาณ 3-4 ครั้ง สีเหลืองใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีปัสสาวะแสบขัด ถ่ายอุจจาระวันละ 1 ครั้ง ไม่มีท้องอืด หรือท้องผูก
ขณะตั้งครรภ์ : ปัสสาวะบ่อยขึ้นประมาณวันละ 7-8 ครั้ง สีเหลืองใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีปัสสาวะแสบขัด อุจจาระวันละ 1 ครั้ง ไม่มีท้องอืด หรือท้องผูก
แบบแผนที่ 4 : กิจกรรมและการออกกำลังกาย
ก่อนการตั้งครรภ์ : ออกกำลังกายนานๆครั้ง ประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง โดยการเดินแถวสวนสาธารณะของหมู่บ้าน
ขณะตั้งครรภ์ : ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
แบบแผนที่ 5 การพักผ่อนนอนหลับ
ก่อนการตั้งครรภ์ : เข้านอนเวลา 23.00 น. ตื่นเวลา 06.00 น. ไม่มีปัญหาการนอนหลับ
ขณะตั้งครรภ์ : เข้านอนเวลา 22.00-22.30 น. ตื่นเวลา 06.00 น.
ไม่มีปัญหาการนอนหลับ หลับดี มีนอนกลางวันบางวัน ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
แบบแผนที่ 6 : สติปัญญาและการรับรู้
รับรู้วัน เวลา สถานที่ปกติ
รับรู้ว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์
แบบแผนที่ 7 : การรับรู้ตนเอง และอัตมโนทัศน์
รับรู้ว่า เมื่อตนเองตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น แพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยง่าย ท้องจะใหญ่ขึ้น เป็นต้น
แบบแผนที่ 8 : บทบาทและสัมพันธภาพ
เมื่อรับรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์แล้ว มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินคือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำผลไม้ ทานผัก ผลไม้ ไข่
แบบแผนที่ 9 : เพศและการเจริญพันธุ์
ก่อนตั้งครรภ์ไม่มีการคุมกำเนิด
ไม่ได้รับประทานยาคุม
แบบแผนที่ 10 : การปรับตัว และความทนทานกับความเครียด
มารดาไม่มีความเครียด พร้อมในการเลี้ยงบุตร ยังไม่ได้มีการวางแผนสำหรับตั้งครรภ์บุตรคนต่อไป
แบบแผนที่ 11 : คุณค่าและความเชื่อ
นับถือศาสนาพุทธ ไม่มีความเขื่อทางศานาหรือความเชื่ออื่นๆ
คำแนะนำ
เพื่อส่งเสริมการตั้งครรภ์ให้มีคุณภาพ
ป้องกันการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การรับประทานอาหาร
รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ
งดรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวานต่างๆ น้ำอัดลม โอเลี้ยง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน น้อยหน่า อ้อย ละมุด ลำไย องุ่น เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการของโรคเบาหวานรุนแรงขึ้นได้
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายทำให้กลูโคสถูกนำไปใช้มากขึ้น ทำให้อินซูดินดูดซึมเร็วขึ้น และความต้องการอินซูลินลดลง ควรเริ่มออกกำลังกายในระยะเวลาสั้น แต่สม่ำเสมอ แบ่งทำวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาที เช่น การเดิน หรือการเดินแกว่งแขน แต่ต้องเฝ้าระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จับชีพจรก่อนและหลังการออกกำลังกายทุกครั้ง หลังการออกกำลังกายชีพจรไม่ควรเกิน 120 ครั้ง/นาที
การมาตรวจตามนัด
แนะนำให้มารดาเห็นถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัดของแพทย์ เพื่อติดตามอาการและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งด้านมารดาเองและทารกในครรภ์
แนะนำให้เฝ้าระวังและสังเกตอาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เช่น ปัสสาวะมาก ดื่มน้ำมาก รับประทานอาหารจุ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย เป็นต้น
คำแนะนำทั่วไป
โภชนาการ
มารดาต้องได้พลังงานเพิ่มขึ้น โดยพลังงานทั้งหมดควรได้ประมาณ 2,000-2,300 กิโลแคลอรี/วัน โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ควรได้รับอาหารครบ 5 หมู่ มีมื้อหลัก 3 มื้อ เพิ่มมื้อย่อยอีก 2-3 มื้อ/วัน
โปรตีน ต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน
คาร์โบไฮเดรต รับประทานเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ แต่ควรลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
ไขมัน ควรรับประทานลดลงเพราะย่อยยาก อาจทำให้ท้องอืด อาหารไขมันที่ควรรับประทาน เช่น นม เพราะมีวิตามินเอ และแคลเซียม
รับประทานผัก ถั่ว และผลไม้ ให้โปรตีนและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย รวมถึงช่วยการขับถ่ายอุจจาระ
ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ท้องอืด
เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด อาหารรสจัด อาหารหมักดอง เพราะอาจท้องเสียได้ เลี่ยงคาเฟอีน
หากมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน ควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย แบ่งเป็นหลายๆมื้อ เลี่ยงอาหารรสจัด
การใช้ยา
แคลเซียมและฟอสฟอรัส
ช่วยสร้างกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ ป้องกันการเกิดตะคริวของมารดา
ธาตุเหล็ก
เพื่อช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ทารกโลหิตจาง น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์(LBW) และตายปริกำเนิด
กรดโฟลิคหรือโฟเลต ช่วยป้องกันความผิดปกติทางระบบประสาทของทารกในครรภ์ ป้องกันการเกิด Neural tube defect(NTD) ซึ่งจะทำให้ทารกเกิดภาวะผิดปกติ เช่น Spida bifida,Frontoethmoidal Encephalomeningocele เป็นต้น
ไอโอดีน
มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ หากขาดไอโอดีนเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้ทารกเสี่ยงต่อการมีพัฒนาการทางสมองไม่เต็มที่ จนทำให้เอ๋อได้
การมีเพศสัมพันธ์
ท่าที่สามารถใช้ในการร่วมเพศ
ไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง ➡️ ให้สามีนอนด้านบนได้ แต่ไม่ลงน้ำหนักตัวไปที่ท้องของหญิงตั้งครรภ์
ไตรมาสที่สาม ➡️ ท่าภรรยาอยู่ด้านบน(Woman on top), ท่า Doggy style
เพราะไม่มีการกดทับหน้าท้องของหญิงตั้งครรภ์
ข้อห้าม
เคยแท้งบุตรมาหลายครั้ง
เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนด
มีเลือดออกทางช่องคลอด
การออกกำลังกาย
สามารถออกกำลังกายได้ แต่อย่าหักโหม เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง หน้าท้อง อุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อขา ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการปวดหลังส่วนล่างและทำกิจกรรมต่างๆได้ดีขึ้น การออกกำลังกาย เช่น โยคะ การเดินแกว่งแขน
ท่าในการบริหารร่างกาย
Kegal exercise : บริหารกล้ามเนื้อช่องคลอด อุ้งเชิงกราน และฝีเย็บ
Tailor stretching : บริหารกล้ามเนื้อต้นขา
Leg exercise บริหารกล้ามเนื้อขา สะโพก และข้อเท้า
Rib cage บริหารกล้ามเนื้อต้นแขร ไหล่ หลังส่วนบน และทรวงอก
Pelvic rocking บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง และหลัง
Calf stretching บริหารกล้ามเนื้อขา และน่อง
การพักผ่อน
พักผ่อนให้เพียงพอ พักผ่อนให้มากกว่าปกติ นอนตอนกลางคืน 8-10 ชั่วโมง และนอนกลางวันประมาณ
ครึ่งถึง 1 ชั่วโมง
การรักษาอนามัยส่วนบุคคล
ร่างกาย
อาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สดชื่นเสมอ อาบน้ำอุ่นช่วยบรรเทาความไม่สุขสบายจากการปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ
ช่องปากและฟัน
แปรงฟันบ่อยๆใช้แปรงขนนุ่มเพื่อป้องกันเหงือกอักเสบ หากพบว่าฟันผุควรรักษาในไตรมาสที่สอง เนื่องจาก ไตรมาสแรกบางรายอาจมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียนอยู่ และไตรมาสที่สามจะนอนหงาย เพื่อการรักษานานไม่ได้
อวัยวะสืบพันธ์
ตกขาวจะมีปริมาณมาก ควรใช้น้ำและสบู่อ่อนๆทำความสะอาด และไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
การแต่งกาย
เลือกเสื้อผ้าหลวม ใส่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ไม่ใส่กางเกงรัดๆ เช่น กางเกงยีนส์ เพื่อป้องกันการอับชื้นของอวัยวะสืบพันธ์
สวมรองเท้าส้นเตี้ย เพื่อลดอาการปวดหลังและปวดเอว
การเดินทาง
เลี่ยงการเดินทางไกล และใช้เวลานาน
นำสมุดฝากครรภ์ติดตัวไปด้วย
การเดินทางโดยรถยนต์ ควรคาดเข็มขัดนิรภัยที่ใต้ท้องและอีกเส้นพาดจากสะโพกไปหัวไหล่ ไม่ควรใช้เข็มขัดพาดผ่านท้อง ควรหยุดระหว่างทางทุก 2 ชั่วโมง เพราะการนั่งท่าเดิมนานๆอาจทำให้เกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำส่วนลึก(Deep vein thrombosis) ,เส้นเลือดขอด (Varicose vein) หรือริดสีดวงได้
มารดามีภาวะซีด
โภชนาการ
เน้นรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง เครื่องในสัตว์ ไข่แดง และผักใบเขียว เป็นต้น
กรดโฟเลต เช่น ผักใบเขียว ถั่ว ไข่ ข้าวโพด ฟักทอง เพื่อเป็นการเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของภาวะซีด เช่น อ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
ติดตามอาการของภาวะซีด ตรวจอีกครั้งเมื่ออายุครรภ์ 30-32 สัปดาห์
ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงแต่ละไตรมาสของหญิงตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 1
การเปลี่ยนแปลง
ประจำเดือนขาด
แพ้ท้อง จากฮอร์โมนProgesteroneเพิ่มขึ้น
เต้านมขยายใหญ่ขึ้น อาจคัดเจ็บเต้านมได้
-เหนื่อย เพลีย อยากพักมากๆ
น้ำหนักตัวอาจเพิ่มขึ้น 1-2 กก.ในรายที่ไม่แพ้ท้อง
คำแนะนำ
1.เรื่องการรับประทานอาหาร คุณแม่สามารถทานอาหารตามปกติ แต่ในรายที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนควรทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ทานน้อย แต่บ่อยครั้ง
2.ควรมาฝากครรภ์สม่ำเสมอ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคบางอย่างที่อาจพบเจอได้ในระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ ในระยะแรก
3.การฉีดวัคซีน ในคุณแม่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนบาดทะยักมาก่อน ควรฉีด 3 เข็ม ห่าง 0,1,6 เดือน ส่วนวัคซีนอื่นๆ ไม่นิยมฉีดขณะตั้งครรภ์
4.การมีเพศสัมพันธ์ ยังไม่มีข้อห้าม ยกเว้นในรายที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยแท้งมาหลายครั้ง หรือมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ในไตรมาสแรก
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
แพ้ท้องมากจนทานอะไรไม่ได้เลย
มีเลือดออกทางช่องคลอด
ปวดมากบริเวณท้องน้อย
ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะบ่อยไม่สุด ปัสสาวะเป็นเลือด
ไตรมาสที่ 2
การเปลี่ยนแปลง
น้ำหนักเพิ่มขึ้น มดลูกโตขึ้น มีเส้นกลางท้อง ท้องลาย ตกขาวเยอะขึ้น ท้องอืด เป็นตะคริว
คำแนะนำ
1.อาหาร ควรทานให้ครบ5หมู่ ลดการทานไขมัน น้ำตาล หรือแป้ง ควรเน้นผัก ผลไม้ ดื่มน้ำวันละ6-8แก้ว เพื่อป้องกันการท้องผูก เสริมธาตุเหล็ก เช่นไข่แดง ตับ ผักใบเขียว เพื่อช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
2.ออกกำลังกาย ไม่ควรหักโหมจนเกินไป เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบย่อยอาหารทำงานดี
3.ท่านอน ควรนอนตะแคงซ้าย ขวา หรือหงายสลับกันเพื่อลดจุดกดทับ อาจเอาหมอนรองขาให้สูง เพื่อลดอาการบวมของขาได้
4.การตรวจเต้านม ในบางรายอาจพบว่ามีลักษณะ สั้น บอด แบนหรือบุ๋ม จะทำให้เด็กดูดไม่ได้
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
เลือดออกทางช่องคลอด
ปวดท้องเป็นพักๆ
ปัสสาวะบ่อย แสบขัด
อาการตกขาวผิดปกติ เช่น สีเปลี่ยนไป มีกลิ่น คัน
ไตรมาสที่ 3
การเปลี่ยนแปลง
น้ำหนักเพิ่ม ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย ปวดหลัง เป็นตะคริว
คำแนะนำ
1.อาหาร ควรเพิ่มจำพวกโปรตีน เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว แคลเซียม
2.การฝากครรภ์ มีการนัดตรวจบ่อยขึ้น ในไตรมาสที่สามจะมีการตรวจปัสสาวะเพื่อดูระดับน้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะ ติดตามอาการบวมและBlood pressure เพื่อดูว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
3.การดูแลเต้านม ในระยะ2-3เดือนก่อนคลอดจะมีสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนม และลานนม ดังนั้นขณะอาบน้ำไม่ควรฟอกสบู่ที่หัวนมมากไป เพราะจะทำให้ไปชะล้างไขมัน จนสุดท้ายทำให้หัวนมแห้งและแตกง่าย
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
ท้องแข็ง เจ็บครรภ์ทุก5-10นาที มีมูกเลือดหรือเลือดสดๆออกทางช่องคลอด มีน้ำเดิน ลูกดิ้นน้อย หรือมีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่
การส่งเสริมพัฒนาการ
ของทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
ไตรมาสที่ 1
เมื่ออายุครรภ์เข้าเดือนที่ 2 เริ่มให้มารดาลูบท้องได้ เนื่องจากทารกเริ่มรับรู้สัมผัสทางกาย จะทำให้ มรกรู้สึกถึวแรงสั่นสะเทือน ช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึก
ให้มารดาส่งเสียงทักทายลูกน้อยในครรภ์ แม่จะมีความสุขและจะหลั่งสารเอนโรฟินหรือสารแห่งความสุขออกมา ถ่ายทอดไปยังสะดือ ไปสู่ทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นผลทำให้ลูกน้อยเป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย
ไตรมาสที่ 2
ทารกในครรภ์จะเริ่มได้ยินเสียงประมาณ 20 สัปดาห์ ก็ให้มารดาเล่านิทานให้ฟัง เปิดเพลงเบาๆ ชวนสามีมาพูดคุยกับลูกในท้อง
ไตรมาสที่ 3
เมื่ออายครรภ์ได้ 7 เดือน ทารกในครรภ์เริ่มมีพัฒนาการทางสายตา สามารถลืมตา กระพริบตาได้ รับรู้แสง เห็นแสง เพราะฉะนั้นควรแนะนำให้มารดานำไฟฉายมาส่องที่ท้อง อาจจะเป็นการส่องแบบกระพริบ ส่องวน ส่องจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย เพื่อให้ทารกในครรภ์มีการกลอกตา จะช่วยเพิ่มเส้นใยสมองและทำให้พัฒนาการทางสมองดีขึ้น
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Complete Blood Count
Hemoglobin(Hb) 9.2 g/dL (ค่าปกติ >11 g/dL)
Hematocrit(Hct) 29.5 % (ค่าปกติ >33%)
MCV 73.6 fL (ค่าปกติ 80-100 fL)
MCH 22.8 pq (ค่าปกติ 25.9-32.4 pq)
MCHC 31.0 g/dL (ค่าปกติ 31.5-34.5)
Neutrophil 84.1 % (ค่าปกติ 48.2-71.2%)
Lymphocyte 8.5 % (ค่าปกติ 21.1-42.7%)
Hemoglobin (Hb) 9.2 g/dL (ค่าปกติ >11 g/dL)
Hematocrit (Hct) 29.5 % (ค่าปกติ >33%
MCV 73.6 fL (ค่าปกติ 80-100 fL)
มารดามีภาวะซีด
(Anemia)
ซีดจากการขาดสารอาหาร
ขาดกรดโฟลิก
อาการและอาการแสดง : ในไตรมาส2,3 จะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ซึม
การวินิจฉัย
Hb 3-5 g/dL
เสมียร์เม็ดเลือดแดงพบว่ามีขนาดใหญ่
Serum homocysteine สูง โฟเลตในเลือดปกติ
ค่า MCV > 100 fL
ผลกระทบ
มารดา ;
ซีด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย แท้งเอง รกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารก ;
มีความผิดปกติของท่อประสาท พิการแต่กำเนิด
ขาดธาตุเหล็ก
สาเหตุเกิดจากได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เสียเลือดเรื้อรัง มีพยาธิปากขอในกระเพาะอาหาร
การวินิจฉัย ;
ตรวจร่างกายพบเบื่อบุตาขาวซีด ปลายมือปลายเท้าซีด อ่อนเพลีย
ตรวจผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ (CBC) = Hb < 11 g/dL, Hct < 33% ,MCV < 80 fL ,เม็ดเลือดแดงเล็กและสีจาง
ผลกระทบ
ต่อมารดา ;
แท้ง คลอดก่อนกำหนด คลอดทารกมีน้ำหนักน้อย ตายปริกำเนิด
ต่อทารก ;
ทารกได้รับออกซิเจนลดลง ทารกตายในครรภ์ น้ำหนักตัวน้อย
ซีดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ธาลัสซีเมีย
ตรวจคัดกรองจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ MCV, DCIP หากมารดาตรวจแล้วมีค่าใดค่าหนึ่งผิดปกติ ให้สามีตรวจ MCV, DCIP ด้วย หากมีค่าผิดปกติ ให้ตรวจ Hb typing เพื่อหา Major thalassemia หากตรวจพบ ให้ปรึกาากับแพทย์เพื่อทำแท้งก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์
คำแนะนำ
รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
เน้นการรับประทานอาหารพวกกรดโฟลิก เช่น ผักใบเขียว ถั่ว
พีกผ่อนให้เพียงพอ
รักษาความสะอาดโดยเฉพาะฟัน
ไม่ออกกำลังกายหักโหม
ภูมิคุ้มกันวิทยา
HBsAg = Negative
HIV ab = Non reactive
VDRL = Non reactive
Urinalysis
Color = LT.Yellow
Glucose = Negative
Albumin = Negative
Blood = Negative
RBC = Not found
WBC = 0-1
50 g Glucose challenge test (GCT) = 122 mg/dL
(ค่าปกติ 0-140 mg/dL)
มีการคัดกรองเนื่องจากแม่มีอายุมากกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ไม่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ตรวจ 50 g Glucose Challenge Test(GCT) ซ้ำอีกครั้งตอนอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
ABO Group B
Rh group = Positive
Ab screening = Negative
คัดกรองธาลัสซีเมีย
MCV = 73.6 fL (ค่าปกติ 80-100 fL)
Hb E screen(DCIP) = Negative
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
Presumptive signs of pregnancy
➡️ ประจำเดือนขาด และมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว
Probable sings of pregnancy
➡️ Urine pregnancy test ผล Positive
Positive signs of pregnancy
➡️ -