Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ส่วนการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) - Coggle Diagram
ส่วนการจัดการองค์ความรู้
(Knowledge Management)
องค์ความรู้
ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้น จะเกิดขึ้นกับผู้บริหารขององค์กรทุก องค์กร ที่จะต้องมีการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หรือตัดสินใจวางแผนการดําเนินงานทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถดําเนินการไปได้ด้วยดี ซึ่งต้องอาศัยทั้งความรู้ ประกอบกับประสบการณ์ ของผู้บริหาร ที่จะใช้ในการวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อประกอบการตัดสินใจต่างๆที่เกี่ยวกับธุรกิจ
ส่วนการจัดการองค์ความรู้
เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องมีในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพราะการที่ชอฟต์แวร์สนับสนุนการตัดสินใจต่างๆ จะสามารถช่วยสร้างทางเลือกต่างๆ หรือทางเลือกที่ดีที่สุด
ชนิดขององค์ความรู้ (Types of Knowledge)
1.จําแนกตามลักษณะที่ประกอบขึ้นเป็นระบบจัดการองค์ความรู้
2.จำแนกตามประโยชน์ทางธุรกิจ
3.จำแนกตามประโยชน์ที่ให้ใช้งานขององค์ความรู้
4.จำแนกตามลักษณะองค์ตวามรูู้
องค์ความรู้ (Knowledge)
การนำข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงไปประมวลผลแล้วเกิดเป็นสารสนเทศและสามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือใช้ในการตัดสินใจ โดยนำสารสนเทศมาสั่งสมไว้เป็นประสบการณ์จึงเกิดเป็นองค์ความรู้
ระบบการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management System)
ระบบจัดการองค์ความรู้
เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ในการดําเนินงานขององค์กร เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานเพื่อการ แก้ปัญหาต่างๆ ที่มักจะพบในการปฏิบัติงาน โดยผู้ใช้จะต้องส่งคําถามที่เหมาะสมเข้าไป ยังระบบ ระบบจะทําการประมวลผลและเลือกข้อมูลที่เหมาะสมสําหรับใช้ในการ แก้ปัญหาไปยังผู้ใช้ระบบจัดการองค์ความรู้จึงมีการทํางานในลักษณะการประมวลผล ร่วมกัน (Collaborative Computing)
หัวหน้าส่วนการจัดการความรู้ (Chief Knowledge officer: CKO)
ตุณสมบัติหัวหน้าส่วนการจัดการความรู้ประกอบไปด้วย
มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้อย่างลึกซึ้ง รวมถึงการสร้าง การ เผยแพร่ และการทําโปรแกรมประยุกต์เกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้
เคยทํางานในองค์กรหรือเทคโนโลยีที่จัดการเกี่ยวกับองค์ความรู้มาก่อน เช่น งาน
ห้องสมุด หรือ Groupware
มีความสามารถแสดงให้เห็นถึงประโยชน์และความสําเร็จที่จะได้รับจากระบบ
จัดการองค์ความรู้ได้
หัวหน้าส่วนการจัดการความรู้ประกอบไปด้วย
1.วางกลยุทธ์เพื่อจัดการองค์ความรู้ให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
2.จัดเก็บองค์ความรู้ให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถนําไปใช้ในการปฏิบัติงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด
3.ต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมในองค์กร
4.สอนผู้ที่ต้องการหาสารสนเทศเกี่ยวกับการตั้งคําถามให้เหมาะสม
5.กําหนดกระบวนการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
6.สามารถหาสารสนเทศเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งได้ทัน
เหตุการณ์
7.จัดการองค์ความรู้ได้อย่างกว้างขวาง
ความสําเร็จของการพัฒนาระบบจัดการองค์ความรู้
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (The Learning Organization) หมายถึง ความสามารถขององค์กรใน การเรียนรู้ ประสบการณ์จากอดีต เพื่อนํามาใช้ในการปรับปรุงความสามารถในการดําเนินงานให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
การให้ความหมาย (Meaning) เป็นการพิจารณาว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นจะมุ่งเน้นการ เรียนรู้เรื่องอะไร
การจัดการ (Management) เป็นการพิจารณาว่าจะต้องทําอย่างไรให้องค์กรสามารถดําเนินงานไปได้ด้วยดี
การวัดผล (Measurement) เป็นการประเมินอัตราหรือวัดระดับการเรียนรู้
ส่งผลดีอย่างไร
สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
มีการทดลองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
มีการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา
มีการเรียนรู้จากการกระทําที่ดีที่สุดของผู้อื่น
มีการส่งผ่านองค์ความรู้ไปยังส่วนต่างๆ ขององค์กรได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ