Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สุขภาพจิตผู้สูงอายุ นางสาวกรรฑิมา มิถุนดี เลขที่1 จุดที่2 - Coggle Diagram
สุขภาพจิตผู้สูงอายุ นางสาวกรรฑิมา มิถุนดี เลขที่1 จุดที่2
ความสำคัญของการดูแลทางสังคมจิตใจ
การให้การดูแลทางสังคมจิตใจด้วยการใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อให้ ผู้สูงอายุรับรู้เข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆ ทางด้านสังคม จิตใจ ที่มีผลต่อภาวการณ์ เจ็บป่วยที่เกิดขึ้นและสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่าง เหมาะสม จะช่วยให้ผู้สูงอายุรับมือกับสภาวะอารมณ์สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปได้
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม หมายถึง กลุ่มผู้สูงอายุที่ยังสามารถช่วย เหลือตนเองได้ดีดำ เนินชีวิตในสังคมได้อย่างอิสระสามารถทำกิจวัตรประจำวัน พื้นฐานและกิจวัตรประจำวันต่อเนื่องได้เป็นผู้ที่มีสุขภาพทั่วไปดีไม่มีโรคเรื้อรัง หรือเป็นเพียงผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือเป็นผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 1 - 2 โรค ที่ยังควบคุมโรคได้
ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน หมายถึง กลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเอง ได้บ้างหรือต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นเพียงบางส่วน มีความจำกัดในการ ดำ เนินชีวิตในสังคม และเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังที่ควบคุมไม่ได้มีภาวะ แทรกซ้อนทางด้านร่างกายหรือจิตใจ จนส่งผลต่อการรู้คิด การตัดสินใจ การ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน
ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง หมายถึง กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วย เหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นใน เรื่องการเคลื่อนย้าย การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐานอื่นๆ มีโรคประจำตัว หลายโรคทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้มีการเจ็บป่วยเรื้อรังมายาวนานและ มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่
ความวิตกกังวล
มีความวิตกกังวลที่ต้องพึ่งพาลูกหลาน มักแสดงออกเด่นชัดเป็น ความกลัวขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เช่น กลัวไม่มีคนเคารพยกย่องนับถือกลัว ว่าตนเองไร้ค่ากลัวถูกทอดทิ้งกลัวเป็นกลัวถูกทำ ร้ายกลัวนอน ไม่หลับ กลัวตายความวิตกกังวลแสดงออกทางด้านร่างกายเช่น เป็นลม แน่น หน้าอก หายใจไม่ออก อาหารไม่ย่อย ไม่มีแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ กระสับ กระส่าย
ภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นการเจ็บป่วยทางจิตชนิดหนึ่งที่ตอบสนองต่อ ความผิดหวัง ความสูญเสีย หรือการถวิลหาสิ่งที่ขาดหายไป เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะ ทำ ให้ผู้สูงอายุรู้สึกไม่มีความสุข จิตใจหม่นหมอง หดหู่ หมดความกระตือรือร้น เบื่อหน่ายสิ่งต่างๆ รอบตัว แยกตัวเอง ชอบอยู่เงียบๆ คนเดียว ท้อแท้ บางครั้งมีความรู้สึกสิ้นหวัง มองชีวิตไม่มีคุณค่า มองตนเองไร้ค่า เป็นภาระ ต่อคนอื่น
ความเครียด
เป็นสภาวะจิตใจและร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆในสิ่งแวดล้อมที่บีบคั้น กดดัน คุกคามให้เกิดความทุกข์ความไม่สบายใจ หรือความไม่พอใจ
ภาวะโศกเศร้าและสูญเสีย
จุดมุ่งหมายของการให้การดูแลทางด้านสังคมจิตใจในผู้สูงอายุที่ประสบ กับความสูญเสียและการตายจึงเป็นการให้การดูแลกับผู้สูญเสีย โดยไม่ใช่การ ทำ ให้ผู้สูงอายุไม่เศร้าโศกเสียใจจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก แต่เป็นการ พยายามทำอะไรเพื่อให้ผู้สูงอายุที่เศร้าโศกเสียใจ อยู่ต่อไปได้อย่างมีสมดุลใหม่ โดยปราศจากผู้จากไป
ผู้ที่ประสบกับการสูญเสียจะมีปฏิกิริยาทางจิตใจต่อการสูญเสีย ดังนี้
1) ระยะช๊อค หลังทราบเรื่องการสูญเสียใหม่ๆจนเกิดภาวะปฏิเสธ ไม่ยอมรับความจริง หรือช๊อคทางอารมณ์จะมีความรู้สึกตกใจไม่เชื่อ ปฏิเสธสิ่งที่ เกิดขึ้น เกิดความรู้สึกมึนชา โกรธ ใช้เวลาตั้งแต่2-3ชั่วโมงจนถึง2-3สัปดาห์
2) ระยะท้นของความโศกเศร้าเสียใจ ซึ่งจะมีอารมณ์เศร้ามาก ร้องไห้ครํ่าครวญ ยํ้านึกถึงบุคคลที่เสียชีวิต ความอยากอาหารลดลง นอน ไม่หลับ หรืออาจทำ ให้หน้าที่กิจวัตรตามปกติลดลงจากเดิมบ้าง ใช้เวลา หลายสัปดาห์แล้วจะดีขึ้นเองในเวลา 2 เดือน
3) ระยะเข้าใจและยอมรับ จะค่อยๆกลับคืนสู่ปกติยอมรับสิ่งที่ เกิดขึ้นได้และจะกลับเข้าสู่กิจวัตรประจำวันตามปกติของบุคคลนั้น ในบางราย อารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียมีความรุนแรงและยาวนาน เกินปกติเรียกว่า อารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติต่อการสูญเสีย ก่อให้เกิดความผิด ปกติทางด้านจิตใจ โดยเฉพาะอาการของโรคซึมเศร้า ควรรับคำ ปรึกษาแนะนำ จากแพทย์
ภาวะสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ หมายถึง ภาวะของสมองที่แสดงออกถึงการเสื่อมถอยด้านเชาว์ปัญญา (cognitive function) และทางด้านสติปัญญา (intellectual function) ของบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ซึ่งมีพฤติกรรมการแสดงออกที่ผิดปกติทางการรับรู้ ความจำ จินตนาการ การคิดการใช้เหตุผล การคิดคำนวณ การตัดสินใจและการใช้ภาษา เมื่อการดำเนินของโรครุนแรงมากขึ้น
สาเหตุการเกิดภาวะสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากการกระบวนการฝ่อตัวของเซลล์สมองซึ่งเป็นไปตามกระบวนการชรา ผลจากการฝ่อตัวทำให้เซลล์สมองเริ่มมีการสูญเสียหน้าที่ไปอย่างช้าๆ จะเริ่มจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ของสมอง ความชุกของภาวะจึงพบสูงขึ้นตามวัยที่สูงขึ้น พฤติกรรมที่ผิดปกติจะสัมพันธ์กับตำแหน่งของ เซลล์สมองที่สูญเสียหน้าที่