Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ - Coggle Diagram
ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ผู้ผลิต
สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเองจากพลังงานแสงอาทิตย์เพราะมีสารสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรพีลล์ซึ่งได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดและบัคเตรีบางชนิดรวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000ชนิด พืชเหล่านี้สร้างอาหารโดยอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์และอนินทรียสาร
ผู้บริโภค
เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตัวมันเองไม่สามารถสร้างอาหารได้ต้องอาศัยการกินพืชและสัตว์อื่นๆ แบ่งเป็น
•ผู้บริโภคพืช เช่น วัว ควาย กระต่าย
•ผู้บริโภคสัตว์ เช่น สิงโต งู เหยี่ยว
•ผู้บริโภคทั้งพืชทั้งสัตว์ เช่น มนุษย์ ไก่ เป็ด
ผู้ย่อยสลาย
เป็นพวกที่ปรุงอาหารเองไม่ได้ต้องอาศัยซากของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร ได้แก่ จุลินทรีย์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ได้แก่ บัคเตรี เห็ด รา ยีสต์ ฟังไจ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ จะทำการย่อยสลายซากชีวิตต่างๆ โดยการขับเอนไซม์ออกมาย่อยสลายจนอยู่ในรูปของสารละลาย แล้วจากนั้นก็ดูดซับเข้าไปในลำตัวของมันต่อไป
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ภาวะพึ่งพาอาศัยกัน +/+
ความสัมพันธ์ระยะยาวของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถแยกตัวออกจากกันได้อีกเลยตลอดช่วงชีวิต เช่น
ราและสาหร่าย
ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน +/+
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันและได้รับผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังได้ หากเกิดการแยกตัวออกจากกัน เช่น ผึ้งและดอกไม้ ปูเสฉวนและดอกไม้ทะเล
ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูลกัน +/0
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับผลประโยชน์ ขณะที่อีกฝ่ายไม่ได้รับหรือเสียผลประโยชน์ใด เช่น ฉลามและเหาฉลาม
เฟิร์นกับต้นไม่ใหญ่
ภาวะปรสิต +/-
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสูญเสียผลประโยชน์หรือถูกเบียดเบียนจากการเป็นผู้ถูกอาศัยที่เรียกว่า “โฮสต์” ขณะที่ฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ลักษณะนี้ หรือ “ปรสิต” เช่น แบคทีเรียและพยาธิในร่างกายคน เห็บกับสุนัข
ภาวะการล่าเหยื่อ +/-
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้รับผลประโยชน์โดยตรงหรือที่เรียกกันว่า “ผู้ล่า” ขณะที่ฝ่ายซึ่งสูญเสียประโยชน์หรือสูญเสียชีวิต คือ “ผู้ถูกล่า” หรือ “เหยื่อ” เหยี่ยวกับหนู กบกับแมลง
ภาวะการแข่งขัน -/-
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ซึ่งดำรงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน และทั้งสองฝ่ายต่างจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรประเภทเดียวกันในการดำรงชีวิต จนก่อให้เกิดภาวะแก่งแย่งแข่งขันที่ส่งผลเสียแก่ทั้งสองฝ่าย เช่นเสือ และสิงโต แย่งชิงกันครอบครองที่อยู่อาศัย
ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต
ความหลากหลายของพันธุกรรม
หมายถึง ความหลากหลายของหน่วยพันธุกรรมหรือยีน ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมียีนแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ความแตกต่างผันแปรทางพันธุกรรมในแต่ละหน่วยชีวิตมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม อาจเกิดขึ้นในระดับยีน หรือในระดับโครโมโซมผสมผสานกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้น้อยมาก และเมื่อลักษณะดังกล่าวถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก จะทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
สภาวะแวดล้อมที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆรวมไปถึงสิ่งไม่มีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งจัดเป็นปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ดิน น้ำ เป็นต้น ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์
หมายถึง ความหลากหลายของชนิดของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆ โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.ความมากชนิด หมายถึง จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยเนื้อที่
2.ความสม่ำเสมอของชนิด หมายถึง สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ