Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การซักประวัติหญิงตั้งครรภ์ G1P0000 GA 18+2 wks. - Coggle Diagram
การซักประวัติหญิงตั้งครรภ์
G1P0000 GA 18+2 wks.
11 แบบแผนกอร์ดอน
แบบแผนที่ 1
หญิงตั้งครรภ์ที่ 1 อายุ 24 ปี สัญชาติไทย
คุมกำเนิดด้วยการกินยาคุมกำเนิดมา 2 ปี ตั้งใจมีบุตรจึงหยุดกินยา จำวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายได้
รับรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ รับรู้ว่าอายุครรภ์ 18 สัปดาห์
ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
แบบแผนที่ 2
ก่อนตั้งครรภ์ : รับประทานอาหารวันละ 2 มื้อ
(มื้อเช้าและเย็น) รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ รับประทานได้ปกติ ไม่มีอาหารที่ไม่ชอบ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 75 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร
BMI 30.04 kg/m^2
ขณะตั้งครรภ์ : รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ
ในช่วงไตรมาสแรกรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ไตรมาสที่สองเริ่มรับประทานอาหารได้ตามปกติ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ กินผักและผลไม้ พยายามลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง ดื่มน้ำเปล่าวันละ 7-8 แก้ว
น้ำหนักปัจจุบัน 78.2 กิโลกรัม น้ำหนักเพิ่มขึ้นมา 3.2 กิโลกรัม
แบบแผนที่ 3
ก่อนตั้งครรภ์ : ปัสสาวะวันละ 3-4 ครั้ง/วัน ลักษณะสีเหลืองใส ไม่มีตะกอน ไม่มีเลือดปน ไม่มีแสบขัด
อุจจาระวันละ 2 ครั้ง ลักษณะปกติดี ไม่มีถ่ายเหลว
ไม่มีท้องผูก
ขณะตั้งครรภ์ : ปัสสาวะบ่อยขึ้นวันละ 5-6 ครั้ง/วัน ลักษณะสีเหลืองใส ไม่มีตะกอน ไม่มีเลือดปน ไม่มีแสบขัด
อุจจาระวันละ 1 ครั้ง
แบบแผนที่ 4
ก่อนการตั้งครรภ์ : ไม่ได้ออกกำลังกาย
ขณะตั้งครรภ์ : เดินออกกำลังกายวันละ 30 นาที
แบบแผนที่ 5
ก่อนตั้งครรภ์ : นอนหลับได้ปกติวันละ 6-8 ชั่วโมง
ไม่มีตื่นในตอนกลางคืน
ขณะตั้งครรภ์ : นอนหลับได้ปกติวันละ 6-8 ชั่วโมง
แต่มีตื่นมาปัสสาวะกลางดึกบ่อยประมาณ 2 ครั้ง/คืน
แบบแผนที่ 6
ระดับความรู้สึกตัวปกติ รับรู้วัน เวลา สถานที่
ได้ พูดคุยสื่อสารรู้เรื่องและเข้าใจ รับรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์และตั้งใจที่จะมีบุตร
แบบแผนที่ 7
ก่อนตั้งครรภ์ : มีการรับรู้ตนเองและยอมรับเกี่ยวกับรูปร่างของตน เตรียมพร้อมเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง
ขณะตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ : รับรู้ว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ และพร้อมที่จะมีลูก
แบบแผนที่ 8
ก่อนตั้งครรภ์ : มีสัมพันธภาพที่ดีต่อคนในครอบครัว
อาศัยอยู่กับสามี
ขณะตั้งครรภ์ : รับรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์และรู้สึกดีที่ตั้งครรภ์ มีสัมพันธภาพที่ดีต่อคนในครอบครัว
แบบแผนที่ 9
ก่อนตั้งครรภ์ : ประจำเดือนมาปกติทุกเดือน ไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ขณะตั้งครรภ์ : ไม่มีอาการผิดปกติที่อวัยวะสืบพันธุ์
แบบแผนที่ 10
ก่อนตั้งครรภ์ : ไม่มีภาวะซึมเศร้า สามารถปรับตัวและเผชิญความเครียดได้
ขณะตั้งครรภ์ : สามารถปรับตัวในระยะตั้งครรภ์ได้ดี มีความวิตกกังวลเล็กน้อยเนื่องจากเป็นครรภ์แรก
แบบแผนที่ 11
นับถือศาสนาพุทธ ไม่มีความเชื่อทางศาสนาหรือความเชื่ออื่นๆที่ขัดกับการรักษาของแพทย์
ปัญหาที่พบ
Obesity
Obesity classification
Obesity >= 30.0
Obesity class I 30.0-34.9 (moderate obesity)
Obesity class II 35.0-39.9 (severely obesity)
Obesity class III >= 40.0 (extreme obesity)
มารดา BMI 30.04 อยู่ในระดับ Obesity class I
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ
ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
การคลอดล่าช้า
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ความยากลำบากในการใช้ยาระงับความรู้สึก
ผลกระทบต่อทารก
ภาวะแท้งบุตร
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
ความผิดปกติทางโครงสร้างของทารกในครรภ์
ทารกตัวโต
คำแนะนำ
โภชนาการ : แนะนำให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ธัญพืช ข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง เป็นต้น รับประทานเนื้อสัตว์ที่หลากหลาย หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน ควรทานเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ไขมันอิ่มตัว ปรุงอาหารด้วยวิธีการต้ม นึ่ง ปิ้ง แทนการทอดหรือผัดโดยใช้น้ำมัน รับประทานผักและผลไม้ที่หลากหลาย หลีกเลี่ยงผลไม้รสชาติหวาน เช่น ทุเรียน เงาะ เป็นต้น ควรงดอาหารหวาน ขนมขบเคี้ยวต่างๆ
การออกกำลังกาย : แนะนำให้ออกกำลังกายเท่าที่จะทำได้ ไม่หักโหมมากนัก เช่น การเดินช้าๆ 10-20 นาที หรือการว่ายน้ำ
การคัดกรอง GDM
เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มีค่า BMI เท่ากับ 30.04 kg/m^2 ซึ่งอยู่ในระดับ Obesity จึงต้องคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
วิธีการคัดกรองคือการทำ Glucose Challenge Test
หญิงตั้งครรภ์ไม่ต้องงดอาหาร รับประทานกลูโคส 50 กรัม และเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากนั้น 1 ชั่วโมง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Glucose Challenge Test
Glucose (50 gm) = 66 mg/dL
คัดกรองเนื่องจากมารดามีค่า BMI เท่ากับ 30.04 kg/m^2
ซึ่งอยู่ในระดับ Obesity
ABO group = A
RH group = Positive
Ab Screening = Negative
HBsAg = Negative
HIV Ab = Negative
VDRL = Negative
Screening Test for Thalassemia
Hb E Screening = Negative
Complete Blood Count
Hb = 13.3 g/dL (ค่าปกติ > 11 g/dL)
Hct = 39.8% (ค่าปกติ > 39.8)
MCV = 91.2 fL (ค่าปกติ > 80 fL)
Urinalysis
Glucose = Negative
Albumin = Negative
ข้อมูลส่วนบุคคล
หญิงไทยตั้งครรภ์ G1P0000 อายุ 24 ปี
ศาสนาพุทธ อาชีพ พนักงานเซเว่น รายได้ต่อเดือน 15,000 น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 75 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร
BMI 30.04 kg/m^2 น้ำหนักปัจจุบัน 78.2 กิโลกรัม
น้ำหนักเพิ่มขึ้นมา 3.2 กิโลกรัม
ECD by date 20 กรกฎาคม 2565 GA 18+2 wks
ปฏิเสธการแพ้ยาและอาหาร
มารดาได้รับวัคซีนบาดทะยัก 1 เข็ม (12 มกราคม 2565)
ประวัติการเจ็บป่วย
ปฏิเสธการผ่าตัด
ประวัติครอบครัว
ยายเป็นเบาหวาน
ลูกของน้าเป็นหอบหืด
ประวัติการตั้งครรภ์
G1P0000
ประวัติการฝากครรภ์
ครั้งที่ 1 วันที่ 3 ธันวาคม 2564 อายุครรภ์ 6+4 wks
ตรวจโปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะ ผล negative
เจาะเลือดส่งตรวจ Complete Blood Count
Hb E screening
VDRL
HIV Ab
HBsAg
Blood group
Rh group
และทำ Glucose Challenge Test 50 gm.
ครั้งที่ 2 วันที่ 12 มกราคม 2565 อายุครรภ์ 12+2 wks
ได้รับวัคซีนบาดทะยัก 1 เข็ม
คำแนะนำ
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระและคำแนะนำแต่ละไตรมาส
ไตรมาสที่ 1 (อายุครรภ์ 1-3 เดือน)
ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด
มีอาการแพ้ท้อง เกิดจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะแรกของการตั้งครรภ์
เต้านมขยายใหญ่ขึ้น
เหนื่อย อ่อนเพลีย อยากนอนพัก
น้ำหนักตัวคงที่หรือเพิ่มขึ้น 1-3 กิโลกรัมในรายที่ไม่แพ้ท้อง
คำแนะนำ
อาหาร ทานได้ตามปกติเท่าทีจะทานได้ ในรายที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น น้ำขิงอุ่น หรือน้ำหวาน ควรทานน้อยๆแต่บ่อยครั้งวันละ 4-6 มื้อ
การฝากครรภ์ แพทย์จะให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวต่างๆขณะตั้งครรภ์ โดยในระยะแรกแพทย์จะนัดตรวจทุก 4 สัปดาห์ จนถึงไตรมาสที่ 2 จึงจะนัดถี่ขึ้นเป็น 2 และ 1 สัปดาห์
การฉีดวัคซีน ในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนบาดทะยักมาก่อน จะฉีดวัคซีนบาดทะยัก 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ส่วนวัคซีนอื่นๆไม่นิยมขณะตั้งครรภ์
เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ ไม่มีข้อห้ามในการมีเพศสัมพันธ์ ยกเว้นในรายที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ประวัติแท้งบุตรมาแล้วหลายครั้ง มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ หรือมีอาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย
ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน)
น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น เดือนละ 1-2 กิโลกรัม
มดลูกจะโตขึ้น และจะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นในสัปดาห์ที่
16-22
ผิวคล้ำตามใบหน้า ลำคอ ลำตัว รักแร้ มีเส้นสีดำหรือน้ำตาลเป็นทางยาวกลางท้องตั้งแต่สะดือลงไปถึงหัวหน่าวเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น อาจมีหน้าท้องลายเกิดจากมดลูกที่โตขึ้นรวดเร็วทำให้หน้าท้องยืดขยายมากขึ้น
ตกขาวหรือมูกในช่องคลอดมากขึ้นกว่าปกติ
ระบบย่อยอาหารเปลี่ยนแปลง อาจมีอาการท้องอืด
ท้องเฟ้อ ท้องผูก
ตะคริว
คำแนะนำ
อาหาร ในระยะนี้อาการแพ้ท้องมักหายไป เริ่มทานอาหารได้ตามปกติ ควรทานให้ครบ 5 หมู่ วันละ 5-6 มื้อ ควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ควรเน้นโปรตีน ผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
การออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ระบบย่อยทำงานได้ดี ท้องไม่ผูก นอนหลับสบาย ควรออกกำลังกายที่ไม่หักโหมมาก เช่น เดินวันละ 10-20 นาที ว่ายน้ำ เป็นต้น
ท่านอน จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ควรนอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวา เพื่อให้หายใจสะดวก อาจมีหมอนรองรับขาให้สูงขึ้นเพื่อลดอาการบวมของขา
การตรวจเต้านม เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้นมในระยะหลังคลอด
ไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน)
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรเพิ่มเดือนละ 2 กิโลกรัม
รวม 6 กิโลกรัม
ปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอดจากการที่ศีรษะ
ปวดหลัง เนื่องจากน้ำหนักของมดลูกและทารกมีขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คุณแม่ต้องแอ่นหลังหรือเกร็งกล้ามเนื้อหลังมากกว่าปกติ
ตะคริว เกิดจากกล้ามเนื้อขาต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นมกกว่าปกติ และจากการที่ได้รับแคลเซียลที่ไม่เพียงพอ
คำแนะนำ
อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลา ผักใบเขียวและอาหารที่มีแคลเซียม
การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะเพื่อดูระดับน้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะ เช็คความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาภาวะครรภ์เป็นพิษ
การดูแลเต้านม ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมเพราะจะทำให้หัวนมแห้งและแตกง่าย
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและคำแนะนำแต่ละไตรมาส
ด้านอารมณ์
ไตรมาสที่ 1 : accepting the pregnancy รู้สึกสองฝักสองฝ่าย สนใจตนเองและการตั้งครรภ์เท่านั้น
ไตรมาสที่ 2 : accepting the baby เกิดการยอมรับทารกในครรภ์
ไตรมาสที่ 3 : preparing for the baby and end of pregnancy วิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด กลัวการสูญเสีย
ภาพลักษณ์
ไตรมาสที่ 1 : ร่างกายยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงไม่มีความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 : จะรู้สึกต่อการที่หน้าท้องและเต้านมขยายใหญ่ขึ้น บางคนรู้สึกไม่ยอมรับในร่างกายของตนเองแต่จะเป็นแค่ชั่วคราว
ไตรมาสที่ 3 : ร่างกายเปลี่ยนแปลงมาก รู้สึกไม่คล่องตัว อาจเกิดความเครียดได้
เพศสัมพันธ์
ไตรมาสที่ 1 : อาจมีความสนใจและความต้องการทางเพศลดลงเนื่องจากรู้สึกไม่สุขสบาย
ไตรมาสที่ 2 : บางรายจะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงแต่บางรายจะรู้สึกมีความสุขในการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น
ไตรมาสที่ 3 : บางรายไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงแต่บางรายจะรู้สึกว่าความสนใจทางเพศลดลง เนื่องจากกลัวอันตรายกับทารกในครรภ์
คำแนะนำ
ไตรมาสที่ 1
ให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงร่างกายและอารมณ์
กระตุ้นให้ได้ระบายความรู้สึกสับสนต่อการตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 2
ส่งเสริมให้มารดามีความรู้สึกที่ดีต่อทารกในครรภ์ ให้ฟังเสียงหัวใจและสังเกตการดิ้นของทารกโดยการสัมผัสทางหน้าท้อง
ให้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจ
พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวให้เข้าใจพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของหญิงตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 3
ให้ความรู้เกี่ยวกับการเจ็บครรภ์คลอดและการลดความเจ็บปวด
ส่งเสริมให้มีความรู้สึกที่ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับทารกในครรภ์
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
Presumptive sign
ทฤษฎี
ประจำเดือนขาดมากกว่า 10 วันขึ้นไป
มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
ถ่ายปัสสาวะบ่อย
อาการเหนื่อยล้า
ความรู้สึกเด็กดิ้นครั้งแรก (Quickening)
ครรภ์แรก 18-20 สัปดาห์
ครรภ์หลัง 16-18 สัปดาห์
-เต้านมขยายใหญ่ขึ้น เจ็บคัดตึงหรือคันเต้านม
สีผิวเปลี่ยนมีเส้นกลางหน้าท้องสีคล้ำ (Linea nigra)
ตั้งแต่เหนือหัวหน่าวถึงสะดือ Estrogen สร้างเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น
มีผิวหนังแตกเป็นริ้วบริเวณหน้าท้อง (Striae gravidarum)
Vagina mucosa มีสีคล้ำขึ้นจนเกือบม่วงหรือเรียกว่า Chadwick’s sign พบมากในอายุครรภ์ 6-10 สัปดาห์
ข้อมูลผู้ป่วย
LMP : 18 ตุลาคม 2565 x 4 วัน
มีอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียง่าย
Probable sign
ข้อมูลผู้ป่วย
ตรวจ Urine pregnancy test (UPT)
ผลการตรวจ positive ที่รพ.ตำรวจ
ทฤษฎี
หน้าท้องโตขึ้น
การหดรัดตัวของมดลูก (Braxton Hicks Contractions)
การเปลี่ยนแปลงของมดลูกและปากมดลูก
Goodell’ s sign คลำพบปากมดลูกนุ่มคล้ายริมฝีปาก พบเมื่ออายุครรภ์ 8 สัปดาห์
Hagar’ s sign isthmus นุ่ม ตรวจพบเมื่ออายุครรภ์ 6-8 สัปดาห์
McDonald’ s sign มดลูกมีความยืดหยุ่นมาก สามารถหักพับงอได้ง่าย ตรวจพบเมื่ออายุครรภ์ 7-8 สัปดาห์
การขยับคลอนของทารก (ballottement)
คลำขอบเขตตัวของทารกได้
ได้ยินเสียงของหลอดเลือดมดลูก (Uterine suffle)
ตรวจพบฮอร์โมน hCG
Positive sign
ข้อมูลผู้ป่วย
ยังไม่ได้ตรวจ positive sign
ทฤษฎี
ได้ยินเสียงหัวใจทารก (Fetal heart sound)
เห็นการเคลื่อนไหวและคลำส่วนต่างๆของทารกได้ เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์
Ultrasound สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 5-6 สัปดาห์ เห็นการทำงานของหัวใจเมื่ออายุครรภ์ 6-7 สัปดาห์
Radiological demonstration เห็นรูปร่างกระดูกทารกได้เมื่ออายุครรภ์ 16 สัปดาห์ แต่ไม่ควรใช้วิธีนี้ เนื่องจากรังสีมีผลต่อทารกในครรภ์
ส่งเสริมการฝากครรภ์คุณภาพ
การฝากครรภ์คุณภาพ หมายถึง การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และฝากครบ 5 ครั้งตลอดระยะการตั้งครรภ์ เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการบริการทางสุขภาพที่ครบถ้วนและดีที่สุด
ในการฝากครรภ์ครั้งแรกจะมีการ
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
ตรวจความเข้มข้นของเลือดเพื่อให้ทราบว่ามารดามีภาวะโลหิตจางหรือไม่
ตรวจเลือดเพื่อดูภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบีและ HIV
ตรวจปัสสาวะและตรวจไข่ขาวในปัสสาวะเพื่อค้นหาความผิดปกติของไต และภาวะครรภ์เป็นพิษ
ในช่วงแรกแพทย์จะนัดมาตรวจครรภ์ทุก 4-6 สัปดาห์ ส่วนในระยะหลังๆการฝากครรภ์จะถี่ขึ้นขึ้นทุก 1-2 สัปดาห์
การฝากครรภ์ให้ครบ 5 ครั้งมีดังนี้
ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13 - < 20 สัปดาห์
ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20- < 26 สัปดาห์
ครั้งที่ 4 26- < 32 สัปดาห์
ครั้งที่ 5 32 - 40 สัปดาห์
ในการฝากครรภ์ทุกครั้ง แพทย์จะจ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก โฟลิกและไอโอดีน ให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานวันละ 1 เม็ดตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อให้ได้รับปริมาณธาตุเหล็กและไอโอดีนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การปฏิบัติตนในระยะตั้งครรภ์เพื่อส่งเสริมครรภ์คุณภาพ
อาหาร ในแต่ละวันควรได้รับสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ
โปรตีน ได้จากเนื้อสัตว์ทุกประเภท รวมทั้งไข่และถั่วต่างๆ โปรตีนจะช่วยสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
แคลเซียม ได้จากอาหารประเภท นม งา ช่วยสร้างกระดูก
วิตามินและเกลือแร่ มีในผัก ผลไม้ ช่วยให้ผิวพรรณสดชื่นและระบบขับถ่ายดี
งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากทำให้เกิดความพิการต่อทารกในครรภ์
การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายเช่นเดิม ท่าที่เคยปฏิบัติแต่ไม่หักโหมหรือใช้แรงมากเกินไป
เพศสัมพันธ์ มีได้ปกติ ยกเว้น 4 สัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอด
นับลูกดิ้น เมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป จะรู้สึกว่า ทารกดิ้น เริ่มนับหลังรับประทานอาหารเช้า หากดิ้นตั้งแต่ 10 ครั้งขึ้นไปเป็นอาการปกติ ถ้าหากดิ้นน้อยหรือไม่ดิ้นควรมาพบแพทย์