Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การฟังและการดูให้สัมฤทธิ์ผล - Coggle Diagram
การฟังและการดูให้สัมฤทธิ์ผล
การฟังให้สัมฤทธิ์ผล
ระดับขั้นของการฟังให้สัมฤทธิ์ผล
๑) ทราบว่าจุดประสงค์ได้แก่อะไร
๒) ทราบว่าความครบถ้วนแล้วหรือไม่
๓) พิจารณาว่าน่าเชื่อถือหรือไม่
๔) เห็นว่าสารนั้นมีคุณค่าหรือไม่ อย่างไร
หลักและแนวทางการฟังและดูอย่างสร้างสรรค์
๑) ต้องเข้าใจความหมาย หลักเบื้องต้นจองการจับใจความของสารที่ฟังและดูนั้น ต้องเข้าใจความหมายของคำ สำนวนประโยคและข้อความที่บรรยายหรืออธิบาย
๒) ต้องเข้าใจลักษณะของข้อความ ข้อความแต่ละข้อความต้องมีใจความสำคัญของเรื่องและใจความสำคัญของเรื่องจะอยู่ที่ประโยคสำคัญ ซึ่งเรียกว่า ประโยคใจความ ประโยคใจความจะปรากฏอยู่ในตอนใดตอนหนึ่งของข้อความ โดยปกติจะปรากฏอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง และตอนท้าย หรืออยู่ตอนต้นและตอนท้ายของข้อความผู้รับสารต้องรู้จักสังเกต และเข้าใจการปรากฏของประโยคใจความในตอนต่าง ๆ ของข้อความ จึงจะช่วยให้จับใจความได้ดียิ่งขึ้น
๓) ต้องเข้าใจในลักษณะประโยคใจความ ประโยคใจความ คือข้อความที่เป็นความคิดหลัก ซึ่งมักจะมีเนื้อหาตรงกับหัวข้อเรื่อง การจับใจความสำคัญต้องฟังให้ตลอดเรื่องแล้วจับใจความว่า พูดถึงเรื่องอะไร คือจับประเด็นหัวเรื่องและเรื่องเป็นอย่างไรคือ สาระสำคัญหรือใจความสำคัญของเรื่อง
๔) ต้องรู้จักประเภทของสาร สารที่ฟังและดูมีหลายประเภท ต้องรู้จักและแยกประเภทสรุปของสารได้ว่า เป็นสารประเภทข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นหรือเป็นคำทักทายปราศรัย ข่าว ละคร สารคดี จะได้ประเด็นหรือใจความสำคัญได้ง่าย
๕) ต้องตีความในสารได้ตรงตามเจตนาของผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะส่งสารต่าง ๆ กับบางคนต้องการให้ความรู้ บางคนต้องการโน้มน้าวใจ และบางคนอาจจะต้องการส่งสารเพื่อสื่อความหมายอื่น ๆ ผู้ฟังและดูต้องจับเจตนาให้ได้ เพื่อจะได้จับสารและใจความสำคัญได้
๖) ตั้งใจฟังและดูให้ตลอดเรื่อง พยายามทำความเข้าใจให้ตลอดเรื่อง ยิ่งเรื่องยาวสลับซับซ้อนยิ่งต้องตั้งใจเป็นพิเศษและพยายามจับประเด็นหัวเรื่อง กริยาอาการ ภาพและเครื่องหมายอื่นๆ ด้วยความตั้งใจ
๗) สรุปใจความสำคัญ ขั้นสุดท้ายของการฟังและดูเพื่อจับใจความสำคัญก็คือสรุปให้ได้ว่า เรื่องอะไร ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไรและทำไม หรือบางเรื่องอาจจะสรุปได้ไม่ครบทั้งหมดทั้งนี้ย่อมขึ้นกับสารที่ฟังจะมีใจความสำคัญครบถ้วนมากน้อยเพียงใด
ขั้นตอนการฟังอย่างมีวิจารณญาณมีดังนี้
๑) ฟังและดูให้เข้าใจเรื่อง เมื่อฟังเรื่องใดก็ตามผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังเรื่องนั้นให้เข้าใจตลอดเรื่อง ให้รู้ว่าเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร มีสาระสำคัญอะไรบ้าง พยายามทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมด
๒) วิเคราะห์เรื่อง จะต้องพิจารณาว่าเรื่องเป็นเรื่องประเภทใดเป็นข่าว บทความ เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทสนทนา สารคดี ละคร และเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เป็นเรื่องจริงหรือแต่งขึ้นต้องวิเคราะห์ลักษณะของตังละครและกลวิธีในการเสนอสารของผู้ส่งสารให้เข้าใจ
๓) วินิจฉัยเรื่อง คือการพิจารณาเรื่องที่ฟังว่าเป็นข้อเท็จจริง ความรู้สึกความคิดเห็นและผู้ส่งสารหรือผู้พูดผู้แสดงมีเจตนาอย่างไรในการพูดการแสดง อาจจะมีเจตนาที่จะโน้มน้าวในจรรโลงหรือแสดงความคิดเห็น เป็นเรื่องที่มีเหตุมีผลมีหลักฐานน่าเชื่อถือหรือไม่และมีคุณค่ามีประโยชน์เพียงใด
หลักการฟังด้านความรู้โดยใช้วิจารณญาณ มีดังนี้
๑) เมื่อได้รับสารที่ให้ความรู้เรื่องใดต้องพิจารณาว่าเรื่องนั้นมีคุณค่าหรือมีประโยชน์ควรแก่การใช้วิจารณญาณมากน้อยเพียงใด
๒) ถ้าเรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณไม่ว่าจะเป็นข่าว บทความ สารคดี ข่าว หรือความรู้เรื่องใดก็ตาม ต้องฟังด้วยความตั้งใจจับประเด็นสำคัญให้ได้ ต้องตีความหรือพินิจพิจารณาว่า ผู้ส่งสารต้องการส่งสารถึงผู้รับคืออะไร และตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับเพื่อน ๆ ที่ฟังร่วมกันมาว่าพิจารณาได้ตรงกันหรือไม่อย่างไร หากเห็นว่าการฟังและดูของเราต่างจากเพื่อนด้อยกว่าเพื่อนจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้มีปะสิทธิภาพการฟังพัฒนาขึ้น
๓) ฝึกการแยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เจตคติของผู้พูดหรือแสดงที่มีต่อเรื่องที่พุดหรือแสดงและฝึกพิจารณาตัดสินใจว่าสารที่ฟังและดูนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ และเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
๔) ขณะที่ฟังควรบันทึกสาระสำคัญของเรื่องไว้ ตลอดทั้งประเด็นการอภิปรายไว้เพื่อนำไปใช้
๕) ประเมินสารที่ให้ความรู้ว่า มีความสำคัญมีคุณค่าและประโยชน์มากน้อยเพียงใด มีแง่คิดอะไรบ้าง และผู้ส่งสารมีกลวิธีในการถ่ายทอดที่ดีน่าสนใจอย่างไร
๖) นำคุณค่าประโยชน์ข้อคิด ความรู้และกลวิธีต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างเหมาะสม
สารที่โน้มน้าวใจเป็นสารที่เราพบเห็นประจำจากสื่อมวลชน จากการบอกเล่าจากปากหนึ่งไปสู่ปากหนึ่ง ซึ่งผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายหลายอย่างทั้งที่ดีและไม่ดี มีประโยชน์หรือให้โทษ ดังนั้นจึงต้องมีวิจารณญาณ คิดพิจารณาให้ดีกว่าสารนั้นเป็นไปในทางใด
หลักการฟังสารโน้มน้าวใจ
ควรปฏิบัติดังนี้
๑) สารนั้นเรียกร้องความสนใจมากน้อยเพียงมด หรือสร้างความเชื่อถือของผู้พูดมากน้อยเพียงใด
๒) สารที่นำมาเสนอนั้น สนองความต้องการพื้นฐานของผู้ฟังและดุอย่างไรทำให้เกิดความปรารถนาหรือความว้าวุ่นขึ้นในใจมากน้อยเพียงใด
๓) สารได้เสนอแนวทางที่สนองความต้องการของผู้ฟังและดูหรือมีสิ่งใดแสดงความเห็นว่าหากผู้ฟังและดูยอมรับข้อเสนอนั้นแล้วจะได้รับประโยชน์อะไร
๔) สารที่นำมาเสนอนั้นเร้าใจให้เชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งใด และต้องการให้คิดหรือปฏิบัติอย่างไรต่อไป
๕) ภาษาที่ใช้ในการโน้มน้าวใจนั้นมีลักษณะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์อย่างไรบ้าง
สารที่จรรโลงใจ ความจรรโลงใจ อาจได้จากเพลง ละคร ภาพยนตร์ คำประพันธ์ สุนทรพจน์ บทความบางชนิด คำปราศรัย พระธรรมเทศนา โอวาท ฯลฯ เมื่อได้รับสารดังกล่าวแล้วจะเกิดความรู้สึกสบายใจ สุขใจ คลายเครียด เกิดจินตนาการ มองเห็นภาพและเกิดความซาบซึ้ง สารจรรโลงใจจะช่วยยกระดับจิตใจมนุษย์ให้สูงขึ้นประณีตขึ้น
หลักการฟังสารที่จรรโลงใจ
๑) ฟังและดูด้วยความตั้งใจ แต่ไม่เคร่งเครียดทำใจให้สบาย
๒) ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่สำคัญ ใช้จินตนาการไปตามจุดประสงค์ของสารนั้น
๓) พิจารณาว่าสิ่งที่ได้รับฟังให้ความจรรโลงในด้านใด อย่างไรและมากน้อยเพียงใด หากเรื่องนั้นต้องอาศัยเหตุผล ต้องพิจารณาว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
๔) พิจารณาภาษาว่าเหมาะสมกับรูปแบบเนื้อหาและผู้รับสารหรือไม่เพียงใด