Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535
โรงงาน
เป็นอาคารสถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าหรือ กำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไปหรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม
หมวด 1: การประกอบกิจการโรงงาน
มาตรา 10
ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 1 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฏกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฏกระทรวง
มาตรา 11
ให้ผู้ประกอบการกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ปภิบัติตามมาตรา 10 เมื่อจะเริ่มประกอบกิจการโรงงาน ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เลิกประกอบกิจการ โอน ให้เช่าหรือให้เช่าซื้อโรงงาน
มาตรา 9
ให้เอกชนสามารถเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ แทนการ ปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้
มาตรา 12
ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดในกฏกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และประกาศของรัฐมนตรี ที่ออกตามกฏกระทรวง และประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 32 และห้ามตั้งโรงงานก่อนได้รับใบอนุญาติ
ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 50)
ถ้าเป็นโรงงานประเภทหนึ่งหรือชนิดที่กำหนดจำนวนหรือขนาดที่จะให้ตั้งหรือไม่ให้ตั้งในท้องที่ ใดตามประกาศที่ออกตามมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 50)
มาตรา 8
กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้งของโรงงานสภาพแวดล้อมของโรงงาน ลักษณะอาคารของโรงงานหรือลักษณะภายในของโรงงาน
กำหนดลักษณะ ประเภทหรือชนิดของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน
กำหนดให้มีคนงานซึ่งมีความรู้เฉพาะตามประเภท ชนิดหรือขนาดของโรงงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่หนึ่งหน้าที่ใดประจำโรงงาน
กำหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติกรรมวิธีการผลิตและการจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใดเพื่อป้องกัน หรือระงับหรือบรรเทาอันตราย ความเสียหายหรือความเดือดร้อนที่อาจเกิดแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงาน หรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน
กำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษหรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน
กำหนดการจัดการให้มีเอกสารที่จำเป็นประจำโรงงาน เพื่อประโยชน์ในการควบคุม หรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฏหมาย
กำหนดข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงานที่ผู้ประกอบกิจการ โรงงานต้องแจ้งให้ทราบเป็น ครั้งคราวหรือตามระยะเวลาที่กำหนด
กำหนดการอื่นใดเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน เพื่อป้องกันหรือระงับหรือบรรเทาอันตราย หรือความเสียหายที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน
มาตรา 13
ผู้รับใบอนุญาติตามมาตรา 12 ต้องแจ้งให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ทราบไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มประกอบกิจการโรงงาน
ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 51)
มาตรา 7
โรงงานจำพวกที่ 1 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันที
โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงาน ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะ ดำเนินการ
มาตรา 14
ใบอนุญาติให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินแห่งปีที่ 5 นับแต่ปีที่เริ่มประกอบกิจการ และต้องทำการขอต่อใบอนุญาตตามมาตรา 15
มาตรา 15
ต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้แก้ไขให้ ถูกต้อง หากพบว่าโรงงานไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฏกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฏกระทรวง ประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 32 และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตและให้มีคำสั่งไม่ต่อใบอนุญาต หากไม่แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
มาตรา 18
ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 52)
ถ้าเป็นโรงงานประเภทหรือชนิดที่กำหนดจำนวนหรือขนาดที่จะให้ตั้งหรือไม่ให้ตั้งในท้องที่ใด ตามประกาศที่ออกตามาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา 52)
มาตรา 20
หากเห็นสมควรผู้อนุญาตสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเงื่อนไขที่ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติ ในการประกอบกิจการโรงงานที่กำหนดในใบอนุญาติตามมาตรา 12 หรือผู้รับ ใบอนุญาต อาจยื่นคำขอ และชี้แจงเหตุผลเพื่อขอยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าวได้
มาตรา 30
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมได้ และอาจออกกฏกระทรวงกำหนดให้บริเวณโดยรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมหรือนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฏหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม ภายในระยะที่กำหนดเป็นเขตห้ามประกอบกิจการ
หมวด 2 : การกำกับและดูแลโรงงาน
มาตรา 37
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ โรงงานนี้ หรือการประกอบกิจการโรงงงานมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายความเสียหาย หรือความเดือดร้อนแก่บุคคล หรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงาน หรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน หรือแก้ไขหรือปรับปรุงหรือปฏิบัติ ให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนังงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง (มาตรา 57)
มาตรา 35
ให้พนักงานเจ้าที่ที่อำนาจเข้าไปในโรงงานหรืออาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่มีเหตุสงสัยว่าจะประกอบกิจการโรงงาน ในเวลาทำการของสถานที่ดังกล่าว เพื่อตรวจสภาพหรือการกระทำใดๆ ที่อาจะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโรงงานนี้ ตรวจ ค้น กัก ยึด หรืออายัดผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ สมุด บัญชี เอกสาร หรือสิ่งใดๆ ที่เกี่ยวข้องในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่าการประกอบกิจการของโรงงานอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียง
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 56)
มาตรา 39
ในกรณีผู้ประกอบกิจการโรงงานใดจงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 37 โดยไม่มีเหตุอันควร หรือในกรณีที่ปรากฏว่าการประกอบกิจการของโรงงานใด อาจจะก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย หรือความเดือดร้อนอย่างร้ายแรงแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงาน หรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานให้ปลัดกระทรวง หรือผู้ที่ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานหยุดประกอบกิจการโรงงานทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว และปรับปรุงแก้ไขโรงงานนั้นเสียใหม่หรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
มาตรา 32
เพื่อผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศหรือ ของสาธารณชนให้รัฐมนตรีโดยการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดในเรื่องต่อไปนี้
กำหนดชนิด คุณภาพ อัตราส่วน ของวัตถุดิบแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบและปัจจัยหรือชนิดของพลังงานที่จะนำมาใช้หรือผลิตในโรงงาน
กำหนดจำนวนและขนาดของโรงงานแต่ละประเภท หรือชนิดที่จะให้ตั้ง หรือขยาย หรือที่จะไม่ให้ตั้งหรือขยายในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง