Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลอนามัยครอบครัว - Coggle Diagram
การพยาบาลอนามัยครอบครัว
บทบาทของการพยาบาลอนามัยชุมชนในการพยาบาลอนามัยครอบครัว
ผู้ให้บริการ (care provider)
การประเมิน วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และ
ประเมินผล ให้การดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม
ตัวแบบอย่างที่ดี (role model)
เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ผู้ปกป้องพิทักษ์สิทธิผู้รับบริการ (client advocate)
เช่น สนับสนุนการใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประกันสังคม และ การรับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน
ผู้บริหารจัดการรายกรณี (case manager)
ผู้ร่วมงาน (collaborator)
การทำงานร่วมกับทีมสุขภาพในทุกขั้นตอนของ
กระบวนการพยาบาล
ผู้ค้นหาผู้ป่วย (case inder)
ผู้ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม (environmental modifer)
ผู้สอนและที่ปรึกษา (educator and counselor)
โดยให้ข้อมูลข่าวสารที่ช่วยให้ครอบครัวพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพทั้งในภาวะปกติและเจ็บป่วย
องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการอนามัยครอบครัว
การพยาบาลด้านร่างกาย การช่วยเหลือดูแลผู้ใช้บริการให้มีความสุขสบายทางกาย เป็นสนองความต้องการพื้นฐาน ทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่สมดุล การดูแลทางด้านร่างกายจึงเป็นการดูแลขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการช่วยตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่มีผลคุกคามต่อชีวิต
การพยาบาลด้านจิตใจ การดูแลที่มีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ได้แก่ ความเชื่อมั่น ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจ ความเป็นมิตร ความเป็นกันเอง ความอดทน รวมทั้งการตระหนักถึงความต้องการของผู้ใช้บริการ
การพยาบาลด้านสังคม ได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพ การตอบปัญหา การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยตัดสินใจ การสื่อสาร การให้กำลังใจ การรับฟัง
การพยาบาลด้านจิตวิญญาณ เป็นอีกมิติหนึ่งที่มีความสำคัญต่อความเชื่อมโยงความเป็นองค์รวมของบุคคลให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เพราะเป็นการดูแลมิติที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับศาสนา ความเชื่อความหวัง ความรัก ความศรัทธา เป้าหมายของชีวิต และการแสดงออกพฤติกรรมความรู้สึกที่อยู่ส่วนลึกของบุคคล และส่งผลกระทบต่อกายและจิตใจ
การพยาบาลอนามัยครอบครัว
หลักการบริการอนามัยครอบครัว
พยาบาลชุมชนจะให้บริการสุขภาพแบบผสมผสานทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคหรือลดภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ
ทฤษฎีที่ใช้ในการทำความเข้าใจสุขภาพครอบครัว
ทฤษฎีระบบ
ครอบครัวเป็นระบบสังคมที่ประกอบด้วยคนหลายคนอยู่รวมกัน มีบทบาทที่ คาดหวังไว้ให้ครอบครัว มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และพึ่งพาซึ่งกันและกันความสัมพันธ์ของระบบครอบครัว
ขอบเขตของครอบครัว
เป็นเส้นกรอบที่ระบบที่เป็นเส้นสมมุติ สามารถเปิดได้มากบ้างน้อยบ้าง ควบคุม การนำภเข้าจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ ทำให้ครอบครัวคงไว้ซึ่งความสมดุล
ระบบย่อยของครอบครัว
การกำหนดค่านิยม บทบาทเฉพาะในครอบครัว ทำให้เกิดองค์กรย่อยขึ้น
การปรับตัวของครอบครัว
ความสามารถของครอบครัว ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนและผู้อื่นใน สถานการณ์ที่จำเป็น เพื่อให้ครอบครัวอยู่ในสภาวะสมดุลได้ลักษณะของครอบครัวที่ดี
ระบบย่อยภายในครอบครัว
ระบบคู่ครอง
ระบบบิดามารดา-บุตร
ระบบพี่น้อง
ระบบเครือญาติ
ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่
ข้อตกลงเบื้องต้น
ครอบครัวคือระบบสังคมซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีหน้าที่ต่อสังคม
ครอบครัวเป็นกลุ่มย่อยที่มีลักษณะเฉพาะร่วมกัน
ครอบครัวในฐานะระบบสังคมมีหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการของบุคคลและสังคมให้สำเร็จ
บุคคลในครอบครัวจะปฏิบัติพฤติกรรมที่เป็นไปตามบรรทัดฐาน (norms) และค่านิยมทางสังคมที่ได้เรียนรู้มาจากครอบครัว
แนวคิด
โครงสร้างบทบาท
1 บทบาทของสมาชิกที่ปฏิบัติอยู่ในครอบครัวต้องไม่ขัดแย้งกับสิ่งที่สังคมภายนอกคาดหวังเช่นบิดามารดามีบทบาทเป็นผู้เลี้ยงดูและอบรมบุตรในขณะที่บุตรก็แสดงความเคารพนับถือ
2 บทบาทของสมาชิกแต่ละคนมีความสอดคล้องและเสริมบทบาทซึ่งกันและกันเช่นสามีภรรยาต้องมีการตอบสนองความต้องการที่สอดคล้องกันและในแต่ละคู่มีบทบาททั้งฝ่ายที่
3 การแสดงบทบาทของสมาชิกมีความชัดเจนสามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกแต่ละคนและปรับบทบาทเพื่อตอบสนองความต้องการของครอบครัวได้เช่นในกรณีที่มีสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วยสมาชิกคนอื่นจะปรับบทบาทเพื่อช่วยเหลือทำบทบาทแทนสมาชิกที่เจ็บป่วยนั้น
ระบบค่านิยม
การบวนการสื่อสาร
โครงสร้างอำนาจ
ทฤษฎีพัฒนาการ
ขั้นตอนของพัฒนาการในวงจรชีวิตครอบครัว
ระยะเริ่มต้นชีวิตครอบครัว เริ่มตั้งแต่สมรสจนกระทั่งตั้งครรภ์บุตรคนแรก
มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน มีบทบาทหน้าที่ตามความ
เหมาะสม มีการสร้างสัมพันธ์อันดีกับเครือญาติอีกฝ่าย
ระยะเริ่มเลี้ยงดูบุตร (childbearing families)เริ่มตั้งแต่มีบุตรคน
แรกจนบุตรคนแรกอายุ 30 เดือน
การปรับบทบาทในการเป็นบิดามารดา การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบิดามารดาและบุตร ดำรงไว้ซึ่งการสื่อสารและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสามี-ภรรยา แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในครอบครัวเพื่อให้สามารถเลี้ยงดูบุตร
ระยะมีบุตรวัยก่อนเรียน (families with preschool children) เริ่มตั้งแต่บุตรคนแรกอายุ 30 เดือน ถึง 6 ปี
ต้องมีการจัดบ้านเรือนและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการส่งเสริมพัฒนาการของบุตร มีการอบรมสั่งสอนบุตร ให้มีการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ถ้ามีบุตรคนที่สองในระยะน้จะต้องเตรียมบุตรคนแรกไม่ให้เกิดปฏิกิริยาอิจฉาน้อง บิดามารดาควรเตรียมตัวบุตรให้พร้อมก่อนเข้าเรียน
ระยะบุตรวัยเรียน เริ่มตั้งแต่บุตรคนแรกอายุ 6-13 ปี
พฤติกรรมที่เหมาะสม คือต้องมีการอบรมสั่งสอนบุตร ส่งเสริมบุตรในการศึกษา การสร้างสัมพนธภาพที่ดีกับเพื่อนและมีการคงซึ่งไว้ในสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคู่สมรส
ระยะมีบุตรวัยรุ่น เริ่มตั้งแต่บุตรคนแรกอายุ 13-20 ปี
ต้องมีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว โดยมีการเปิดโอกาสให้ทุกคนพูดคุยปรึกษาหารือกัน มีการสร้างดุลยภาพระหว่างความเป็นอิสระและความรับผิดชอบ
ระยะแยกครอบครัวใหม่หรือระยะปลูกฝังให้บุตรเริ่มต้นสร้างหลัก
ฐานได้ด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่บุตรคนแรกแยกตัวไปสร้างครอบครัว
บิดามารดาจะต้องมีการปรับตัวเมื่อบุตรแยกไปมีครอบครัว คงไว้ซึ่งความสัมพันธภาพที่ดี มีการปรับบทบาทเป็นปู่ ย่า ตา ยาย ได้เหมาะสม
ระยะครอบครัววัยกลางคน เริ่มหลังจากบุตรคนแรกแยกไปมีครอบครัว เป็นครอบครัวเดิมว่างเปล่าจนถึงเกษียณ
ต้องมีการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง มีการดูแลสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม คงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว มีการวางแผนการดำเนินชีวิตหลังเกษียณอายการทำงาน
ระยะครอบครัวผู้สูงอายุ เริ่มจากเกษียณจนถึงการสูญเสียชีวิตของคู่สมรส
ต้องมีการปรับความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม มีการปรับค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจที่ลดลง มีการคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกีบคู่สมรส และจะต้องมีการปรับตัวเผชิญการสูญเสียได้อย่างเหมาะสม
จะใช้ลำดับบุตรคนแรกในการกำหนดระยะพัฒนาการครอบครัว
กลวิธีเพื่อการพัฒนาสุขภาพครอบครัว
การเสริมสร้างพลังอำนาจครอบครัว
ระดับการสร้างพลังอำนาจ
ระดับที่ 1 การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สมาชิกในครอบครัว เพื่อให้เกิดความสามารถในการกระทำพฤติกรรมต่างๆ
ระดับที่ 2 การเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อพัฒนาให้เกิดกลุ่มช่วยเหลือกัน
ระดับที่ 3 การเสริมสร้างพลังอำนาจระดับองค์กรชุมชน
ระดับที่ 4 การเสริมสร้างพลังอำนาจที่ทำให้เกิดหุ้นส่วนสุขภาพ
ระดับที่ 5 การเสริมสร้างพลังอำนาจที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง
ขั้นตอน
ค้นพบความจริง (Recovering reality)
การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical refiection)
การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม (Taking charge)
ชั้นเกิดความมุ่งมั่นกระทำและการดงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ(Holding on)
การสนับสนุนทางสังคม
มิติของการสนับสนุนทางสังคม
การสนับสนุนทางอารมณ์ (Emotional support)
การสนับสนุนสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ (Instrumental support)
การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร (Informational support)
การสนับสนุนด้วยการประเมิน (Appraisal support)
การสนับสนุนทางสังคมกับการสร้างเสริมสุขภาพ
1) สร้างสิ่งแวดล้อมที่ช่วยผลักดันการเจริญเติบโตของบุคคล
2) ลดโอกาสเกิดสถานการณ์ที่อาจคุกคามชีวิตหรือทำให้เกิดความเครียด
3) ช่วยสะท้อนกลับหรือยืนยันการกระทำที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ
4)เป็นตัวกลาง (Mediate) ลดระดับผลลบจากความเครียด
วิธีของการสร้างการสนับสนุนทางสังคม
ทำให้เครือข่ายทางสังคมที่บุคคลมีอยู่เดิมเชื่อมโยงกันมากขึ้น
การสร้างเครีอข่ายทางสังคมขึ้นมาใหม่
การใช้เครือข่ายที่มีอยู่ในสังคมให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
การส่งเสริมเครือข่ายทางสังคมในชุมชน
การใช้ทุกวิธีการผสมผสานร่วมกัน
การจัดการทางการพยาบาลต่ออนามัยครอบครัว
การเยี่ยมครอบครัว
กระบวนการพยาบาลครอบครัว
ครอบครัวเป็นบริบท
(family as context)
ครอบครัวในฐานะผลรวมของสมาชิก
(family as sum of its member)
ครอบครัวในฐานะผู้รับบริการ
(family as client)
ครอบครัวในฐานะองค์ประกอบของสังคม
(family as a component of society)
ขั้นตอนที่ 1 การปรเมินครอบครัว
ขั้นตอนที่ 2 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการพยาบาล
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล