Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มโรคทางจิตเวชและวัยรุ่น, จ.อ.สุเมธ สิงห์สวัสดิ์ นทน.ชั้นปีที่1เลขที่่2…
กลุ่มโรคทางจิตเวชและวัยรุ่น
ความผิดปกติของพัฒนาการความบกพร่องทางสติปัญญา(intellectual disabilities/Mental Retardation)
คือภาวะที่มีพัฒนาการบกพร่องซึ่งทำให้มีข้อจำกัดด้านสติปัญญา การเรียนรู้และการปรับตัวในการดำรงชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้คำว่า บกพร่องทางสติปัญญา แทน ภาวะปัญญาอ่อน มากขึ้นในองค์กรระดับนานาชาติ
สาเหตุของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
สาเหตุของภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเกิดจากปัจจัยต่างๆ ในด้านชีวภาพ สังคมจิตวิทยา หรือหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน ประมาณร้อยละ 30-50 ของภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเท่านั้นที่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง (IQ<50) ซึ่งพบสาเหตุได้ร้อยละ 80 ส่วนกลุ่มที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยพบสาเหตุได้ประมาณร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังพบว่าประมาณร้อยละ 50 ของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา มีสาเหตุมากกว่าหนึ่งอย่าง
การแบ่งประเภทของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1.แบ่งตามระดับความรุนแรง เป็นการแบ่งโดยใช้ค่าคะแนนระดับเชาวน์ปัญญาหรือ IQ ทั้ง APA และ AAMR แบ่งภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเป็น 4 ระดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 AAMR ได้เปลี่ยนการแบ่งเหลือเพียง 2 ระดับ
เล็กน้อย (ระดับเชาวน์ปัญญาเท่ากับ 50-70) เป็นกลุ่มที่เรียนได้ (educable) ให้ได้รับประโยชน์จากโปรแกรมการศึกษา
มาก (ระดับเชาวน์ปัญญาน้อยกว่า 50) ะเน้นที่การฝึกทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต (trainable)
2.แบ่งตามระดับความช่วยเหลือที่ต้องการ บริการสนับสนุนสำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญาแต่ละบุคคลที่มีข้อจำกัดให้เข้าถึงระบบการศึกษาทั่วไป และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
พัฒนาการ
การเรียนการสอน
การใช้ชีวิตในบ้าน
การใช้ชีวิตในชุมชน
การจ้างงาน
สุขภาพและความปลอดภัย
พฤติกรรม
ทักษะทางสังคม
การแก้ต่างและการป้องกัน
ลักษณะทางคลินิก แบ่งตามระดับได้ดังนี้
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง พบความผิดปกติของพัฒนาการตั้งแต่ขวบปีแรก มักมีพัฒนาการล่าช้าทุกด้าน โดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษา สื่อความหมายได้เพียงเล็กน้อยหรือพูดไม่ได้เลย
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยก่อนเรียน เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี โดยพบว่าอาจมีความแตกต่างของระดับความสามารถในด้านต่างๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ล่าช้าในด้านการใช้ภาษา กลุ่มอาการวิลเลี่ยม (Williams syndrome)
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย ได้รับการวินิจฉัยเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนแล้ว เนื่องจากในวัยก่อนเรียนพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อความหมายได้เพียงพอ ส่วนใหญ่เรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือสูงกว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่สามารถทำงาน แต่งงาน ดูแลครอบครัวได้ แต่อาจต้องการความช่วยเหลือบ้างเป็นครั้งคราวเมื่อมีปัญหาชีวิตหรือหน้าที่การงาน
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงมาก พัฒนาการล่าช้าชัดเจนตั้งแต่เล็กๆ ต้องการการดูแลตลอดเวลา ตลอดชีวิต แม้จะเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม
บุคคลบกพร่องทางสติปัญญามักมีพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ ภาษาและสติปัญญาล่าช้ากว่บุคคลทั่วไป
ตามเกณฑ์ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition, Text Revision (DSM- IV-TR) โดย American Psychiatric Association (APA) ในปี พ.ศ. 2543 ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือภาวะปัญญาอ่อน หมายถึง ภาวะที่มี
1.ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เกณฑ์ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาด้านเชาวน์ปัญญา คือการมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่า 70
3.อาการแสดงก่อนอายุ 18 ปี
2.พฤติกรรมการปรับตนบกพร่องตั้งแต่ 2 ด้านขึ้นไป จากทั้งหมด 10 ด้าน หมายถึง การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นความสามารถของบุคคลนั้นที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองในสังคม ประกอบด้วย
การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Use of Community Resources)
การควบคุมตนเอง (Self- direction)
การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม (Social and Interpersonal Skills)
การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน (Functional Academic Skills)
การดำรงชีวิตภายในบ้าน (Home living)
การใช้เวลาว่าง (Leisure)
การดูแลตนเอง (Self-care)
การทำงาน (Work)
การสื่อความหมาย (Communication)
การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น (Health and Safety)
ความผิดปกติที่พบร่วมกับภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ภาวะประสาทสัมผัสบกพร่อง
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยและรุนแรงพบความบกพร่องในด้านการเคลื่อนไหวซึ่งเข้าได้กับสมองพิการ (cerebral palsy :CP)
ด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาจะพบอาการชักได้บ่อยกว่าเด็กทั่วไปประมาณ 10 เท่า โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก พบได้ถึงร้อยละ 30
การฟื้นฟูสมรรถภาพในบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation) ในช่วงอายุ 7 - 15 ปี มีการจัดการการศึกษาโดยมีแผนการศึกษาสำหรับแต่ละบุคคล (Individualized Educational Program : IEP)
3.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ (Vocational Rehabilitation) เมื่ออายุ 15-18 ปี เป็นการฝึกวิชาชีพและลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน เป็นสิ่งจำเป็นมากต่อการประกอบอาชีพในวัยผู้ใหญ่
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical Rehabilitation) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในช่วงแรกเกิด 6 ปี ได้แก่ การส่งเสริมป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ นอกจากการส่งเสริมสุขภาพเช่นเด็กปกติ การบำบัดรักษาความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วย
กิจกรรมบำบัด การฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ การใช้มือหยิบจับสิ่งของ ฝึกการทำงานของตาและมือให้ประสานกัน (eye-hand co-ordination) เด็กสามารถหยิบจับสิ่งของ
อรรถบำบัด เด็กต้องฝึกใช้กล้ามเนื้อช่วยพูด บังคับกล้ามเนื้อเปล่งเสียง ออกเสียงให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกพูดต้องกระทำตั้งแต่เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี จึงจะได้ผลดีที่สุด
การส่งเสริมพัฒนาการ(Early Intervention) การส่งเสริมพัฒนาการ หมายถึง การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่พัฒนาการปกติตามวัยของเด็
กายภาพบำบัด เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาขนาดหนักและหนักมาก ส่วนใหญ่ก็จะมีความพิการทางระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ด้วย ทำให้มีการเกร็งของแขน ขา ลำตัว จึงจำเป็นต้องแก้ไขอาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เพื่อช่วยลดการยึดติดของข้อต่อ และการสูญเสียกล้ามเนื้อ
การป้องกัน
ระหว่างตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์ที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงและหญิงตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนที่จำเป็นครบถ้วน
ระยะคลอด ควรคลอดในสถานบริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ระยะก่อนตั้งครรภ์ การให้วัคซีนหัดเยอรมัน หรือ เกลือไอโอดีน ให้คำแนะนำคู่สมรสเรื่องอายุมารดาที่เหมาะในการตั้งครรภ์(19-34 ปี) และระยะห่างระหว่างตั้งครรภ์ (2 ปี) โรคทางพันธุกรรมที่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ก่อนตั้งครรภ์และก่อนคลอด รวมทั้งการวางแผนครอบครัว
ระยะหลังคลอด ควรให้แม่และลูกได้อยู่ด้วยกันเร็วที่สุด เพื่อให้ลูกได้ดื่มนมแม่ซึ่งมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆและมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองของลูก ห้วัคซีนป้องกันโรค ติดตามภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเสี่ยง
เอกสารอ้างอิง
1.ชนิสา เวชวิรุฬห์. เครื่องมือทดสอบสติปัญญา. วารสารราชานุกูล 2550; 22(3) : 167-198.
3.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, พัฏ โรจน์มหามงคล. ภาวะปัญญาอ่อน/ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา. ใน : ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด, 2554 : 299-323
2.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, พัฏ โรจน์มหามงคล. ภาวะปัญญาอ่อน/ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา. ใน : ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง, 2551: 179-204.
King BH, Hodapp RM, Dykens EM. Mental retardation. In HI Kaplan, BJ Sadock (Eds.).
Comprehensive textbook of psychiatry (8th edition, Vol 2). Baltimore: Williams & Wilkins, 2005:3076-106.
Walker WO, Plauche C. Mental retardation: overview and diagnosis. Pediatr Rev 2006; 27:204-212.
ออทิสติก (AUTISTIC DISORDER)
โรคออทิสติกจัดอยู่ในกลุ่มการวินิจฉัยโรค ที่เรียกว่า พีดีดี หรือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน (Pervasive Developmental Disorders; PDDs) พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ถึงแม้ว่ายังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ก็ใช่ว่าจะทำอะไรไม่ได้เลย เนื่องจากการดูแลช่วยเหลือในปัจจุบันสามารถช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ดีขึ้นได้มาก โดยเฉพาะถ้าได้รับการวินิจฉัย และดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสมตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุของความผิดปกติที่แน่ชัดได้ ในปัจจุบันมีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่าเกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ มากกว่าเป็นผลจากสิ่งแวดล้อม
ลักษณะ ออทิสติก
มีลักษณะร่วมคล้ายกัน ที่เรียกว่า ออทิสติก คือเด็กอยู่ในโลกของตัวเองมาก สนใจสิ่งแวดล้อมน้อย เรียกไม่หัน ไม่สบตา ไม่สนใจใคร โต้ตอบไม่เป็น เล่นไม่เหมาะสม จินตนาการไม่เป็น ไม่พูดหรือพูดไม่รู้เรื่อง พูดเป็นภาษาต่างดาว ทำอะไรซ้ำๆ เป็นแบบแผน ไม่ยืดหยุ่น สนใจบางอย่างแบบหมกมุ่น ไม่มีประโยชน์ ในรายที่อยู่ในโลกของตัวเองมาก จะกระตุ้นตัวเองเป็นระยะ เช่น หมุนตัว โยกตัว เขย่งเท้า สะบัดมือ เล่นมือ เล่นเสียง เป็นต้น
ลักษณะ ที่ต้องประเมินและติดตามอายุ
ในช่วงขวบปีแรกจะสังเกตได้ยาก ไม่มีลักษณะภายนอกผิดสังเกต เด็กมักจะไม่สบตา
ช่วงขวบปีที่สอง าการผิดปกติเริ่มสังเกตได้ชัดเจนขึ้น ด็กยังไม่พูดเป็นคำ แต่จะพูดเป็นภาษาต่างดาวที่ไม่มีความหมาย ไม่สนใจของเล่น ไม่สนใจในเรื่องที่คนรอบข้างกำลังสนใจอยู่ ไม่ชี้นิ้วบอกความต้องการของตนเอง เวลาอยากได้อะไรมักจะทำเอง หรือจูงมือพ่อแม่ไปหยิบโดยไม่ส่งเสียง
ขวบปีที่สามเป็นต้นไป อาการจะชัดเจนขึ้น และรุนแรงมากขึ้น ถ้าไม่ได้นำเข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
ในด้านสังคม เด็กจะไม่สบตา ไม่เข้าใจสีหน้า อารมณ์ของผู้อื่น เด็กจะเล่นกับเด็กคนอื่นในวัยเดียวกันไม่เป็น แต่มักจะเล่นกับเด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่ ไม่สนใจของเล่นที่เด็กทั่วไปสนใจ แต่จะไปเล่นของที่ไม่ควรเล่น
ในด้านภาษาเด็กหลายคนเริ่มพูดได้ แต่เป็นลักษณะพูดซ้ำๆ พูดเลียนแบบโดยไม่เข้าใจความหมาย พูดเรียงประโยคไม่ถูกต้อง หรือตอบคำถามไม่เป็น ยังมีภาษาต่างดาวอยู่มาก
ด้านพฤติกรรม เด็กจะมีท่าทางแปลกๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว กระโดดสะบัดมือเวลาดีใจหรือตื่นเต้น เดินเขย่งหรือซอยเท้า สนใจของบางอย่างแบบหมกมุ่นเกินความพอดี
การวินิจฉัยออทิสติก
โรคออทิสติก อยู่ในกลุ่ม พีดีดี (Pervasive Developmental Disorders; PDDs) หรือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน ซึ่งแสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดไปจากปกติ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
ออทิสติก (Autistic Disorder)
พีดีดี เอ็นโอเอส (Pervasive Developmental Disorder Not Otherwise Specified; PDD-NOS)
แอสเพอร์เกอร์ (Asperger's Disorder)
ซีดีดี (Childhood Disintegrative Disorder)
เร็ทท์ (Rett's Disorder)
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคออทิสติก
A. เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้ 6 ข้อหรือมากกว่า จากหัวข้อ (1) (2) และ (3) โดยอย่างน้อยต้องมี 2 ข้อ จากหัวข้อ (1) และจากหัวข้อ (2) และ (3) อีกหัวข้อละ 1 ข้อ
มีคุณลักษณะในการเข้าสังคมที่ผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้
1.1. บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง (เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยา หรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม)
1.2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้
1.4. ไม่มีอารมณ์หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม
1.3. ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่นๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)
มีคุณลักษณะในการสื่อสารผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อต่อไปนี้
2.1. พัฒนาการในการพูดช้าหรือไม่มีเลย โดยไม่แสดงออกว่าอยากใช้การสื่อสารวิธีอื่นมาทดแทน เช่น แสดงท่าทาง
2.3. ใช้คำพูดซ้ำหรือใช้ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ
2.4. ไม่มีการเล่นสมมติที่หลากหลาย คิดเองตามจินตนาการ หรือเล่นเลียนแบบสิ่งต่างๆ ตามสมควรกับพัฒนาการ
2.2. ในรายที่มีการพูดได้ ก็ไม่สามารถเริ่มพูดหรือสนทนาต่อเนื่องกับคนอื่นได้
มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ใช้ซ้ำ และรักษาเป็นเช่นเดิม โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้
3.2. ติดกับกิจวัตร หรือย้ำทำกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์โดยไม่ยืดหยุ่น
3.3. ทำกิริยาซ้ำๆ เช่น เล่นสะบัดมือ หมุนตัว โยกตัว
3.1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆ ตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป และความสนใจในสิ่งต่างๆ มีจำกัด ซึ่งเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ
3.4. สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ
B. มีความล่าช้าหรือความผิดปกติก่อนอายุ 3 ปี ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ด้าน
(2) ภาษาที่ใช้สื่อสารกับสังคม
(3) เล่นสมมติหรือเล่นตามจินตนาการ
(1) ปฏิสัมพันธ์กับสังคม
C. ความผิดปกติไม่เข้ากับเร็ทท์ (Rett's Disorder) หรือ ซีดีดี (Childhood Disintegrative Disorder) ได้ดีกว่า
เด็กออทิสติกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะของพฤติกรรรม และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ดังนี้
กลุ่มที่แยกตัว (Aloof)
กลุ่มที่นิ่งเฉย (Passive)
กลุ่มที่เข้าหาคน (Active but Odd)
การป้องกัน
กุญแจสำคัญ ที่เป็นตัวทำนายออทิสติก ในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป มี 4 อาการหลัก ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป ควรนึกถึงออทิสติก และมีการดำเนินการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และให้ความช่วยเหลืออย่างทันที อาการดังกล่าว คือ
ไม่สามารถชี้นิ้วบอกความต้องการได้
ไม่สนใจเข้ากลุ่ม หรือเล่นกับเด็กคนอื่น
เล่นสมมติ เล่นจินตนาการไม่เป็น
ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสนใจร่วมกับคนอื่นได้
แนวทางดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
1) ส่งเสริมพลังครอบครัว (Family Empowerment)
4) พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy)
5) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical Rehabilitation)
การแก้ไขการพูด (Speech Therapy)
กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)
6) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation)
7) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม (Social Rehabilitation)
การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
3) ส่งเสริมพัฒนาการ (Early Intervention)
8) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ (Vocational Rehabilitation)
9) การรักษาด้วยยา (Pharmacotherapy)
2) ส่งเสริมความสามารถเด็ก (Ability Enhancement)
10) การบำบัดทางเลือก (Alternative Therapy)
การบำบัดทางเลือกใช้เสริมแนวทางหลักให้มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย
เครื่องเอชอีจี (HEG; Hemoencephalogram)
การฝังเข็ม (Acupuncture)
ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
การบำบัดด้วยหุ่นยนต์ (Robot Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication; AAC)
เอกสารอ้างอิง
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. การเล่นเพื่อการเรียนรู้ ในเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2549.
American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders 4th- edition (DSM- IV). Washington, DC: American Psychiatric Association, 1994: 63-65
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. คู่มืออทิสติก สำหรับผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2548.
Fombonne E. Epidemiology of autism and related conditions. In: Autism and pervasive developmental
disorders, Volkmar FR, ed. Cambridge, England: Cambridge University Press, 1998: pp.33-63
อุมาพร ตรังคสมบัติ. ช่วยลูกออทิสติก. กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์, 2545.
เพ็ญแข ลิ่มศิลา. การวินิจฉัยโรคออทิซึม. สมุทรปราการ: ช.แสงงามการพิมพ์, 2545.
โรคสมาธิสั้น (ADHD , Attention Deficit Hyperactivity Disorder)
สาเหตุ
โรคสมาธิสั้น เป็นปัญหาทางพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียนและเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เด็กมีปัญหาการเรียน เกิดจากความบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมอง มีอาการหลักเป็นความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมได้แก่ ขาดสมาธิ
อาการของโรคสมาธิสั้น
ซน อยู่ไม่นิ่ง เด็กจะมีอาการซน ยุกยิก นั่งนิ่งไม่ค่อยได้ เคลื่อนไหวตลอดเวลา เล่นโลดโผน
ขาดสมาธิ เด็กไม่สามารถจดจ่ออยู่กับการเรียน ไม่สามารถตั้งใจฟังครูสอนได้อย่างต่อเนื่อง มีอาการเหม่อลอย วอกแวกง่าย ทำงานไม่เสร็จ เบื่อง่าย ผลงานที่ออกมาไม่เรียบร้อย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กเรียนรู้ไม่เต็มศักยภาพ หลงลืมกิจวัตรที่ควรทำเป็นประจำ หรือทำของหายบ่อย
ขาดการยับยั้งใจตนเอง หุนหันพลันแล่น ขาดการยั้งคิด ทำโดยไม่ไตร่ตรองถึงผลกระทบที่ตามมา อดทนรอคอยไม่ค่อยได้ ไม่สามารถควบคุมตนเองให้ทำในสิ่งที่ควรทำให้จนเสร็จ
การตรวจโรคสมาธิสั้น
การแยกสมาธิสั้นแท้ กับ สมาธิสั้นเทียม
เด็กสมาธิสั้นเทียม เมื่อได้รับการดูแลแก้ไข ปรับพฤติกรรมแล้ว อาการเหล่านั้นจะหายไป
เด็กสมาธิสั้นแท้ เมื่อได้รับการดูแลแก้ไข ปรับพฤติกรรมแล้วมีอาการดีขึ้น ควบคุมตนเองได้ แต่ยังมีอาการอยู่ ยังต้องได้รับการดูแลและกินยาอย่างต่อเนื่อง
เป็นการวินิจฉัยทางคลินิกโดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย สังเกตพฤติกรรมเด็ก และประเมินด้วยแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก ตรวจทางจิตวิทยา (ตรวจเชาวน์ปัญญา และตรวจวัดความสามารถทางด้านการเรียน) นอกจากนี้แพทย์จะต้องวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะอื่นๆที่อาจทำให้เด็กมีอาการคล้ายกันได้แก่ พฤติกรรมซนปกติตามวัย ปัญหาจากการเลี้ยงดูที่ขาดการฝึกระเบียบวินัย ปัญหาเกี่ยวกับสายตาหรือการได้ยิน โรคทางกายบางอย่าง
วิธีการรักษาและช่วยเหลือเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
ต้องอาศัยการรักษาแบบผสมผสานทั้งการปรับพฤติกรรมและการใช้ยา ร่วมกัน(multimodal management) และต้องอาศัยความร่วมมือกันจากหลายฝ่าย
การรักษาด้วยยาโดยแพทย์ จะทำให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ซนน้อยลง ดูสงบลง การรักษาด้วยยาจะไม่ทำให้เด็กติดและไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตเนื่องจากอยู่ในความดูแลของแพทย์
** คำพูดแนะนำเมื่อเด็กไม่ยอมรับประทานยา “หนูจำเป็นต้องกินยาตัวนี้ เพราะยาช่วยให้หนูควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น น่ารักมาก” หรือ “เวลาหนูกินยาแล้วแม่สังเกตว่าหนูเรียนดีขึ้น มีความรับผิดชอบทำการบ้าน ดีกว่าแต่ก่อนเยอะเลย”
การใช้ยาสามารถช่วยให้สมาธิของเด็กดีขึ้น โดยการออกฤทธิ์ปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุลอยู่ในระดับที่สมองจะทำหน้าที่ได้ดีขึ้น โดยมีกลุ่มยาหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มยาออกฤทธิ์ไม่กระตุ้น เช่น ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด, ยาลดความดันบางชนิด
กลุ่มยาออกฤทธิ์กระตุ้น ได้แก่ methylphenidate เป็นยาตัวแรกที่แพทย์จะเลือกใช้คือ Methylphenidate เป็นยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้น มีผลทำให้ความผิดปกติของสมอง ทางด้านโครงสร้างและการทำงานที่บกพร่อง เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
การช่วยเหลือด้านจิตใจ แพทย์จะให้คำแนะนำและข้อมูลที่ถูกต้องในการดูแลเด็ก เพื่อขจัดความเข้าใจผิดต่างๆ ของผู้ปกครองที่คิดว่าเด็กดื้อ และเพื่อให้เด็กเข้าใจว่าปัญหาที่ตนเองมีนั้นไม่ใช่ว่าตนเองเป็นคนไม่ดี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยหลัก ลดสิ่งเร้า เพิ่มสมาธิ เพิ่มการควบคุมตนเอง จะช่วยให้เด็กมีสมาธิ ดีขึ้น มีความอดทน และควบคุมตนเองได้ดี
การช่วยเหลือด้านการศึกษา
ผู้ปกครอง ควรเอาใจใส่ในเรื่องการเรียน ประสานงานกับคุณครูอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการจัดการเรียนให้เหมาะสมกับเด็กตามศักยภาพ
ครูผู้สอน สามารถช่วยเหลือได้ตามแนวทางดังนี้
ด้านสังคม สอนให้เรียนรู้ทักษะทางสังคมที่จำเป็นต่อการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นของเด็กสมาธิสั้น ช่วยให้เด็กสมาธิสั้นมีเพื่อน โดยการสังเกต เพื่อค้นหาปัญหาในการเข้าสังคมกับเพื่อน หากิจกรรมกลุ่มให้ทำร่วมกันเกิดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับเพื่อน
ด้านการเรียน ครูควรช่วยจัดระบบการเรียนการสอนไม่ให้ซับซ้อน ตารางเรียนแน่นอน หากมีการเปลี่ยนแปลงต้องแจ้งให้ทราบและเตือนความจำทุกครั้ง และจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็ก เด็กในชั้นเรียนไม่ควรเกิน 20 คน จัดทำกฎระเบียบที่ชัดเจน
หากเด็กไม่ได้รับการรักษาและดูแลช่วยเหลือ
วัยรุ่น มีพฤติกรรมต่อต้าน ก้าวร้าว โกหก ลักขโมย หนีเรียน ในบางรายเริ่มใช้ยาเสพติด มีผลการเรียนต่ำเนื่องจากเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน และต้องออกจากโรงเรียน เป็นปัญหาสังคมตามมา
วัยประถม ผลการเรียนจะต่ำกว่าความสามารถจริง เด็กอาจมีอารมณ์ซึมเศร้า ขาดความมั่นใจในตนเอง เนื่องจากจะได้รับความกดดันจากทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
เอกสารอ้างอิง
2.เด็กสมาธิสั้น คู่มือสำหรับพ่อแม่/ผุ้ปกครอง สถาบันราชานุกูล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บียอนด์ พับลิสชิ่ง , 2555
3.เด็กสมาธิสั้น คู่มือสำหรับครู สถาบันราชานุกูล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย , 2558
1.เด็กสมาธิสั้น . ใน : คู่มือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สถาบันราชานุกูล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บียอนด์ พับลิสชิ่ง , 2558 : 5-9
Conduct Disorder (พฤติกรรมเกเรรุนแรง)
โรคความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กหรือวัยรุ่น โดยเด็กหรือวัยรุ่นที่ป่วยมักมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำลายข้าวของ โกหกเป็นนิสัย หรือมีปัญหาในการปฏิบัติตัวตามกฎระเบียบต่าง ๆ
อาการ
พฤติกรรมก้าวร้าว คุกคามหรือรังแกผู้อื่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ทารุณสัตว์ หรือล่วงละเมิดทางเพศผู้อื่น
โกหกบ่อย ๆ ลักขโมย ย่องเบา หรือปลอมแปลงสิ่งของ
ทำลายข้าวของ หรือลอบวางเพลิงโดยเจตนา
ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัย เช่น หนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน ก่อกวนผู้อื่น มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติด เป็นต้น
สาเหตุของ
พันธุกรรม เด็กที่คนในครอบครัวมีประวัติป่วยทางจิตอาจมีแนวโน้มในการเกิดพฤติกรรมเกเรรุนแรงมากขึ้น เช่น โรคทางอารมณ์ (Mood Disorder) โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรคทางจิตเวชจากการใช้สารเสพติด (Substance Use Disorder) หรือโรคความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality Disorder)
ความผิดปกติทางสมอง พฤติกรรมเกเรรุนแรงอาจเป็นผลจากสมองส่วนหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม แรงกระตุ้น อารมณ์ หรือกระบวนการคิดและการรับรู้มีความผิดปกติจากพันธุกรรม หรือถูกทำลายจากการกระทบกระเทือนบริเวณสมอง
สภาพแวดล้อมและสังคมที่อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเกเรรุนแรง เช่น การเลี้ยงดูในครอบครัว ประวัติการถูกทารุณในเด็ก เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ ประวัติการใช้สารเสพติดในครอบครัว การไม่ถูกยอมรับจากสังคมหรือคนใกล้ตัว
นอกจากนี้พฤติกรรมเกเรรุนแรงอาจพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย หรือเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น เด็กที่ป่วยเป็นโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) เด็กที่มีพฤติกรรมการใช้สารเสพติด เด็กที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น หรือเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เป็นต้น
การวินิจฉัย
หากผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ ที่อาจเป็นสัญญาณของ Conduct Disorder แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นโดยการสอบถามประวัติโรคประจำตัวและอาการทางจิตเวชของผู้ป่วย
แพทย์อาจตรวจหาภาวะหรือโรคอื่นที่มักเกิดร่วมกับ Conduct Disorder อย่างภาวะซึมเศร้า หรือโรคสมาธิสั้นด้วย
การรักษา
จิตบำบัด (Psychotherapy) แพทย์จะพูดคุยและให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์ของตัวเอง การแสดงออกที่เหมาะสม การใช้หลักเหตุผล และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เหมาะสม
การรักษาด้วยยา แพทย์อาจให้ยาบางชนิดเพื่อรักษาอาการหรือโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดร่วมกับ Conduct Disorder เช่น โรคสมาธิสั้น หรือภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อน
หากเด็กที่ป่วยเป็น Conduct Disorder ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเรียน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การใช้ความรุนแรงต่อตัวเองหรือผู้อื่น การใช้สารเสพติด การเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การทำผิดกฎหมาย และการฆ่าตัวตาย หรืออาจเกิดโรคความผิดปกติทางจิต อย่างโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) โรคทางอารมณ์ (Mood Disorder) หรือโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)
การป้องกัน Conduct Disorder
ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิด Conduct Disorder การป้องกันจึงอาจทำได้ยาก แต่ผู้ปกครองอาจลดความเสี่ยงได้โดยการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อย่างสภาพแวดล้อมและสังคมของเด็กได้ เช่น สร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว ดูแลเอาใจใส่บุตรหลานอย่างเหมาะสม หรือสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและเด็ก
ODD (Oppositional Defiant Disorder)
รคที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อผู้ดูแลอย่างผู้ปกครอง หรือครู อย่างการต่อต้าน ท้าทาย ขัดขืน และไม่ฟังคำสั่ง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ระบบประสาท หรือสภาพแวดล้อม อาการที่พบนั้นมักก่อให้เกิดปัญหาภายในครอบครัวและสังคมรอบข้าง โดยอาการต่าง ๆ อาจเริ่มแสดงให้เห็นเมื่อเด็กมีอายุ 6-8 ปี และมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง
อาการ
อาการหรือพฤติกรรมของ ODD หากเด็กมีพฤติกรรมตรงกับเกณฑ์ต่อไปนี้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป อาจถูกจัดว่าเป็นโรคดื้อต่อต้าน
อารมณ์รุนแรงและเปลี่ยนแปลงง่าย
เจตนาร้าย มีการสบถหรือพูดคำหยาบคายเมื่อรู้สึกไม่พอใจ หากรู้สึกโกรธใครมาก ๆ มักจะหาทางแก้แค้น ตอบโต้ หรือกลั่นแกล้งอีกฝ่าย และเกิดขึ้นมากกว่า 2 ครั้งในระยะเวลา 6 เดือน
มีพฤติกรรมต่อต้าน
ระดับอาการของ ODD
ระดับไม่รุนแรง มีอาการของโรคเกิดขึ้น ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งเท่านั้น เช่น บ้าน โรงเรียน หรือที่ทำงาน
ระดับรุนแรงปานกลาง มีอาการของโรคเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ที่ เช่น บ้านและโรงเรียน หรือบ้านและที่ทำงาน
ระดับรุนแรงมาก มีอาการของโรคเกิดขึ้นตั้งแต่ 3 สถานที่ขึ้นไป
การป้องกัน
หากพ่อแม่หรือผู้ปกครองสังเกตเห็นเด็กมีอาการหรือสัญญาณของ ODD ควรรีบพาบุตรหลานไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ เนื่องจากการรักษาโรคดื้อต่อต้านตั้งแต่เริ่มแรกนั้นอาจช่วยลดความรุนแรงของอาการและควบคุมอาการไม่ให้รุนแรงขึ้น อีกทั้งยังป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมทางลบ
ควรสร้างสภาพแวดล้อมของครอบครัวให้เต็มไปด้วยความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งคอยให้คำแนะนำอย่างเป็นเหตุเป็นผล ฝึกวินัยและความรับผิดชอบให้เด็กอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอด้วย
สาเหตุ
ปัจจัยทางร่างกาย เป็นส่วนหนึ่งของภาวะพฤติกรรมบกพร่องที่เกิดจากสารสื่อประสาทและเซลล์ประสาททำงานผิดปกติ รวมถึงสารเคมีในสมองที่อยู่ในภาวะไม่สมดุล ซึ่งอาจเป็นผลกระทบจากการที่สมองได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความบกพร่องบางอย่าง นอกจากนี้ เด็กและวัยรุ่นที่เป็น ODD อาจมีความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เป็นโรคสมาธิสั้น
ปัจจัยทางพันธุกรรม ODD นั้นอาจเกิดจากการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิต เช่น โรควิตกกังวล
ปัจจัยแวดล้อม ปัญหาหรือพฤติกรรมในครอบครัวอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ เช่น ครอบครัวมีฐานะยากจน ผู้ปกครองละเลยไม่ใส่ใจดูแลลูก
ปัจจัยอื่น ๆ อาจมีปัจจัยอื่นที่อาจเป็นสาเหตุของ ODD ได้ เช่น การเผชิญความเครียด การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การถูกทำร้ายร่างกาย การย้ายบ้านหรือย้ายโรงเรียนบ่อยครั้ง
การวินิจฉัย
วินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต โดยสังเกตว่าเด็กมีอาการจากกลุ่มพฤติกรรมใดก็ตามเป็นจำนวน 4 อาการ และ 1 ในพฤติกรรมนั้นเด็กได้แสดงออกกับบุคคลที่ไม่ใช่ญาติหรือมีความใกล้ชิดแต่อย่างใด รวมทั้งสังเกตความถี่ในการเกิดพฤติกรรมและระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 6 เดือน นอกจากนั้น ควรสังเกตสถานการณ์รอบตัวเด็กด้วย โดยสังเกตว่าเด็กเข้าสังคมหรือมีความสัมพันธ์กับคนรอบตัวลดลงหรือไม่ และหากมีสัญญาณของ ODD เกิดขึ้น ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
การรักษา
กลุ่มบำบัด ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อพัฒนาทักษะในการสื่อสาร การเข้าสังคม และการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเมื่ออยู่กับผู้อื่น
ครอบครัวบำบัด
พฤติกรรมบำบัด มีจุดประสงค์เพื่อลดและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทางลบ
Parent-Child Interaction Therapy (PCIT) เป็นวิธีการบำบัดโดยเปลี่ยนวิธีการแสดงออกของพ่อหรือแม่ เพื่อให้เด็กลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหา โดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา
การเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่เป็น ODD เป็นการอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนาวิธีเลี้ยงดูเด็กที่มีอาการ ODD อันเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่อาจช่วยรักษาอาการให้ดีขึ้นได้
การใช้ยา อาจเป็นวิธีที่ช่วยรักษาอาการได้ในกรณีที่ผู้ป่วย ODD มีความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ ร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อน
มีประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำงานต่ำ
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติด
มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
เกิดพฤติกรรมต่อต้านสังคม
ฆ่าตัวตาย
บุคลิกภาพแปรปรวน(Personality Disorders)
กลุ่มของความผิดปกติทางพฤติกรรมที่ฝังรากลึก ยากแก่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งโดยทั่วไปจะเริ่มปรากฏในวัยรุ่นหรืออาจเร็วกว่านั้น และจะดำเนินต่อไปเกือบตลอดวัยผู้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามลักษณะดังกล่าวจะชัดเจนน้อยลง ในวัยกลางคนและวัยชรา
ลักษณะของบุคลิกภาพแปรปรวน
บุคลิกภาพแปรปรวน เป็นบุคลิกภาพที่แตกต่างจากบุคลิกภาพของคนส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก และเป็นอยู่นาน แต่โดยทั่วไปจะไม่ทำให้เกิดอาการที่รบกวนบุคคลผู้นั้น ดังนั้นบุคคลซึ่งมีบุคลิกภาพแปรปรวนจึงมักจะไม่มาขอความช่วยเหลือจากแพทย์ด้วยตนเอง แต่โดยที่บุคคลซึ่งมีบุคลิกภาพแปรปรวนจะทนต่อความตึงเครียดและความคับข้องใจได้น้อยกว่าคนธรรมคา เช่น เมื่อมีความกดดันเพียงเล็กน้อยเขาอาจวิตกกังวลอย่างมาก หรือถ้าความกดดันมากพอควรเขาอาจเกิดอาการของโรคจิตชั่วคราวได้ รวมทั้งความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมักบกพร่องไป ทำให้บุคคลผู้นั้นทรงชีวิตอยู่ในสังคมโดยมีความสุขและความสำเร็จน้อยกว่าที่ควร ยกเว้นในบางอาชีพซึ่งยอมรับและส่งเสริมบุคลิกภาพแปรปรวนบางแบบ
สาเหตุ
๑. ลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด
๓. ประสบการณ์ในวัยเด็กอาจส่งเสริมพฤติกรรมที่ผิดปกติ
๒ การถูกอบรมเลี้ยงดูที่เคร่งครัดเกินไป การที่พ่อแม่เคร่งครัดไม่ผ่อนปรน และขาดเหตุผลต่อเด็ก
๓ การที่บิดามารดาหรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ เด็กอาจลอกเลียนลักษณะที่ผิดปกติเหล่านั้นได้
๑ เมื่อทำไม่ดีแล้วได้รับรางวัล
๒. การพัฒนาทางบุคลิกภาพ เช่น การอบรมเลี้ยงดูอย่างขาดความอบอุ่นในวัยทารก อาจทำให้ทารกนั้นกลายเป็นผู้ใหญ่ซึ่งขาดความไว้วางใจสิ่งแวดล้อม หรือยึดติดกับการพัฒนาทางบุคลิกภาพในระยะปาก
ปัจจัยทางจิต-สังคม (psychosocial factor)
๕. ความผิดปกติในหน้าที่ของสมอง
การจำแนกบุคลิกภาพแปรปรวน
๑. Paranoid personality disorder บุคลิกภาพแปรปรวนแบบหวาดระแวง ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ มีความรู้สึกไวเกินควรต่อความผิดหวัง การถูกเหยียดหยาม หรือการถูกปฏิเสธ และมีแนวโน้มจะเข้าใจการกระทำที่เป็นธรรมดา หรือการกระทำที่หวังดีของคนอื่นว่าเป็นการก้าวร้าวหรือดูถูกดูหมิ่นตน และมีความรู้สึกฝังแน่นว่าตนเองจะต้องต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเอง คนเหล่านี้มักจะอิจฉาริษยาผู้อื่นหรือรู้สึกว่าตนมีความสำคัญมากเกินไป อาจรู้สึกว่าตนถูกผู้อื่นเหยียดหยามหรือเอาเปรียบ ยิ่งกว่านั้นยังก้าวร้าวและดื้อรั้น และทุกรายจะคิดถึงตนเองมากผิดปกติ
เกณฑ์การวินิจฉัย
๑. มีความระแวงสงสัยอย่างมากโดยไม่มีเหตุผล และขาดความไว้วางใจผู้อื่น โดยแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๓ ประการ คือ
.๑ คาดว่าผู้อื่นมีเล่ห์เหลี่ยม หรือเป็นอันตรายต่อตน
๒ ระมัดระวังตัวมากเกินไป โดยการพินิจพิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเพื่อค้นหาว่ามีการคุกคามต่อตนหรือไม่ หรือระมัดระวังตัวมากโดยไม่จำเป็น
๔ ไม่ยอมรับการตำหนิอย่างมีเหตุผล
๓ ปิดบัง หรือมีความลับ
๗ สนใจเกี่ยวกับเบื้องหลังที่เคลือบแฝง และความหมายพิเศษของสิ่งต่างๆ
๕ ไม่ไว้ใจผู้อื่นว่าจะซื่อสัตย์ต่อตน
๘ อิจฉาริษยา
๖ สนใจเกี่ยวกับส่วนเล็กๆ น้อยๆ ของเรื่องต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องทั้งหมด
๒. อารมณ์หวั่นไหวง่าย โดยแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๒ ประการ คือ
๒.๑ ถือโกรธในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ โดยง่าย
๒.๒ ทำปัญหาเล็กให้เป็นปัญหาใหญ่
๒.๓ พร้อมที่จะต่อสู้เมื่อถูกคุกคาม
๒.๔ ไม่สามารถผ่อนคลายความตึงเครียดของตนเองได้
๓. อารมณ์แคบ (restricted affectivity) ซึ่งแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๒ ประการ คือ
๓.๑ ลักษณะภายนอกดูชาเย็น และไม่มีอารมณ์
๓.๒ มักทำอะไรโดยอาศัยแต่เหตุผล ไม่คำนึงถึงอารมณ์หรือความรู้สึกเลย
๓.๓ ขาดอารมณ์ขันอย่างแท้จริง
๓.๔ ไม่มีความรู้สึกอ่อนโยน หรือความรู้สึกซาบซึ้งในเรื่องต่างๆ
๔. Hysterical personality disorder บุคลิกภาพแปรปรวนแบบฮีสทีเรีย ประกอบด้วย ลักษณะที่สำคัญ คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายไม่มั่นคง ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องการความชื่นชมยินดีและความเอาใจใส่จากผู้อื่นมากผิดปกติ ถูกชักจูงง่าย และจะแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางมากเกินไป (dramatize) มักไม่บรรลุวุฒิภาวะทางเพศ เช่น เป็นกามตายด้าน และเมื่อมีความกดดันอาจแสดงอาการของโรคประสาทแบบฮีสทีเรียได้
ลักษณะสำคัญ
๑. แสดงออกทางพฤติกรรมมากเกินไปจนดูคล้ายเล่นละคร โดยมีลักษณะที่จะกล่าวต่อไปนี้อย่างน้อย ๓ ประการ
๑.๑ แสดงออกทางอารมณ์มากเกินไป
๑.๒ สนใจตนเองตลอดเวลา
๑.๓ กระหายที่จะมีกิจกรรมหรือได้รับความตื่นเต้น
๑.๔ มีปฏิกิริยามากเกินไปต่อเหตุการณ์เล็กๆ น้อย ๆ
๑.๕ ตีโพยตีพายหรือระเบิดอารมณ์โกรธอย่างไม่สมเหตุผล
๒. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผิดปกติไป โดยมีลักษณะที่จะกล่าวต่อไปนี้อย่างน้อย ๒ ประการ
๒.๑ คนอื่นจะมองเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นคนผิวเผิน ขาดความจริงใจ ทั้งที่ดูภายนอกก็อบอุ่นและมีเสน่ห์
๒.๒ เอาแต่ใจตนเอง และไม่เกรงใจใคร
๒.๓ ทิฐิและเรียกร้องจากผู้อื่นมาก
๒.๔ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น และต้องการความมั่นใจจากผู้อื่นตลอดเวลา
๒.๕ มักขู่ แสร้งทำ หรือพยายามฆ่าตัวตาย เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการของตน
๓. Anankastic personality disorder บุคลิกภาพแปรปรวนแบบเจ้าระเบียบ สมบูรณ์แบบ หรือย้ำคิดย้ำทำ ประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือ ขาดความมั่นใจ ระแวงสงสัย และรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างขาดตกบกพร่อง ทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อบาป ความระมัดระวัง และความรอบคอบมากเกินไป เพื่อให้เกิดความมั่นใจ รวมทั้งมีความดื้อรั้นดันทุรังด้วย แต่ความรุนแรงไม่ถึงขนาดเป็นโรคประสาท
บุคลิกภาพแบบนี้อาจเรียกว่า compulsive personality disorder หรือ perfectionist
เกณฑ์ในการวินิจฉัย
๑. ขาดความสามารถที่จะแสดงความอบอุ่นและความสุภาพต่อผู้อื่น
๒. ไม่ค่อยเข้าใจปัญหาทั้งหมด มักจะสนใจรายละเอียด กฎเกณฑ์ หรือระเบียบเล็กๆ น้อยๆ ของปัญหาซึ่งไม่สำคัญ
๓. ต้องการให้ผู้อื่นกระทำตามวิธีของตน โดยไม่สำนึกถึงความรู้สึกของเขาเกี่ยวกับการกระทำเช่นนี้ของจน
๔. อุทิศตนให้กับงานและผลงานของตน โดยไม่คำนึงถึงความสุขหรือคุณค่าแห่งมนุษยสัมพันธ์
๕. ตัดสินใจไม่ได้ มักไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ เนื่องจากกลัวความผิดพลาดมากเกินไป
๕. Sociopathic or asocial personality disorder ลักษณะสำคัญ คือ อารมณ์ไม่มั่นคง ขาดจริยธรรมและคุณธรรม การตัดสินใจไม่ถูกต้อง และขาคความซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่นหรือหมู่คณะ ปราศจากความเมตตากรุณา เอาแต่ใจตนเองโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น และขาดความรับผิดชอบอาจก่อพฤติกรรมรุนแรงโดยไม่สามารถควบคุมได้ และเมื่อกระทำแล้วก็จะพยายามหาเหตุผลให้กับการกระทำนั้นโดยไม่มีความสำนึกผิด ทั้งการลงโทษก็ไม่ทำให้เขาเข็ดหลาบ บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนั้นไม่ว่าเป็นอันตรายต่อสังคมถ้าเกิดความคับข้องใจ
การวินิจฉัย
๑. อายุที่กำลังมีความผิดปกติต้องไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี
๒. ต้องเริ่มมีอาการก่อนอายุ ๑๕ ปี โดยมีประวัติต่อไปนี้อย่างน้อย ๓ ประการ ได้แก่
๒.๑ หนีโรงเรียนอย่างน้อย ๕ วันใน ๑ ปี เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย ๒ ปี
๒.๒ ถูกภาคทัณฑ์หรือถูกไล่ออกจากโรงเรียน เนื่องจากความประพฤติไม่ดี
๒.๓ ประพฤติเป็นพาลเกเร ถูกจับหรือถูกส่งไปที่ศาลเด็กเนื่องจากความประพฤติดังกล่าว
๒.๔ หนีออกจากบ้านตลอดคืนอย่างน้อย ๒ ครั้ง ขณะอาศัยอยู่กับบิดามารดา หรือบิดามารดาบุญธรรม
๒.๕ พูดปดเสมอ
๒.๖ สำส่อนทางเพศ
๒.๗ ดื่มสุราหรือใช้ยาอย่างผิดๆ หลายครั้ง
๒.๙ มีพฤติกรรมที่ป่าเถื่อน
๒.๑๐ ผลการเรียนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมาก
๒.๑๑ ชอบก่อการทะเลาะวิวาท
๒.๘ ลักขโมย
๓. ต้องมีลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๔ ประการ ตั้งแต่อายุ ๑๘ ปี
๓.๑ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ คือ จะเปลี่ยนงานบ่อย อย่างน้อย ๓ งานในเวลา ๕ ปี โดยไม่เกี่ยวกับลักษณะของงาน
๓.๒ ขาดความสามารถรับผิดชอบในฐานะเป็นพ่อแม่
๓.๓ ไม่เคารพกฎหมายโดยมีการลักขโมยบ่อยๆ ประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย ถูกจับหลายครั้ง และทำผิดคดีอาญา
๓.๔ ไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับคู่ร่วมเพศ ดังจะเห็นว่ามีการหย่าและ/หรือแยกกันอยู่ตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไป หรือมีประวัติการสำส่อนทางเพศซึ่งได้แก่การมีคู่ร่วมเพศตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปภายในระยะเวลา ๑ ปี
๓.๕ หงุดหงิดหรือก้าวร้าว เห็นได้จากการต่อสู้หรือการกระทำรุนแรง รวมทั้งการตบตีบุตรและคู่สมรส
๓.๖ ไม่รับผิดชอบเรื่องการเงิน เห็นได้จากมีการโกงหนี้ ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตร หรือคนที่อยู่ในความอุปการะ
๓.๗ ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า หรือทำอะไรโดยขาดการยับยั้งชั่งใจ เช่น จะเดินทางก็ไม่จัดการเรื่องการงานให้เรียบร้อย หรือไม่มีเป้าหมายในการเดินทาง ว่าเมื่อไรจะกลับ หรือไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหนเป็นเวลา ๑ เดือนหรือมากกว่า
๓.๘ ไม่คำนึงถึงความซื่อสัตย์ โดยการกล่าวคำเท็จบ่อยๆ ใช้ชื่อปลอม คดโกงคนอื่นเพื่อหากำไรใส่ตัว
๓.๙ ทำอะไรโลดโผน เช่น ขับรถขณะเมาสุรา หรือขับรถเร็วเกินไป
๕. บุคลิกภาพแบบอันธพาลนี้ไม่ได้เกิดจากสภาวะปัญญาอ่อน โรคจิตเภท หรือโรคจิตทางอารมณ์แบบคลั่ง
มีพฤติกรรมอันธพาล โดยการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นติดต่อกันโดยไม่มีระยะที่เป็นปกติอย่างน้อย ๕ ปี ในระหว่างช่วงอายุ ๑๕ ปีจนถึงปัจจุบัน (ยกเว้นในกรณีที่ต้องนอนแซ่วอยู่บนเตียง ถูกกักกันในโรงพยาบาลหรือสถานกักกัน)
๒. Schizoid personality disorder ลักษณะสำคัญ คือ ขี้อาย ไม่ค่อยพูด และแยกตัวจากสังคมหรือจากการใกล้ชิดกับผู้อื่นร่วมกับเพ้อฝันถึงเรื่องของตนเองบ่อยๆ พฤติกรรมอาจแปลกไปบ้าง หรือมีพฤติกรรมซึ่งแสดงว่าบุคคลนั้นพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ซึ่งมีการแข่งขัน หรือหลีกเลี่ยงการแสดงความรู้สึกหรือความก้าวร้าวของตนให้ผู้อื่นทราบ
เกณฑ์ในการวินิจฉัย
๑. อารมณ์ชาเย็นและเย่อหยิ่ง ไม่มีท่าทีที่อบอุ่นและนุ่มนวลต่อผู้อื่น
๔. ไม่มีคำพูด พฤติกรรม หรือความคิดแปลกๆ
๓. มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลไม่มากกว่า ๑ หรือ ๒ คน ทั้งนี้รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวด้วย
๒. ไม่ยินดียินร้ายต่อคำชม คำวิพากษ์วิจารณ์ หรือต่อความรู้สึกของผู้อื่น
๖. Affective personality disorder ลักษณะที่สำคัญ คือ มีอารมณ์เศร้าหรืออารมณ์เป็นสุขต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หรือมีอารมณ์เศร้าสลับกับอารมณ์เป็นสุข ในระยะที่มีอารมณ์เศร้าจะมีความกังวล มองโลกแต่ในแง่ร้าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และรู้สึกว่าตนหาประโยชน์มิได้ แต่ในระยะที่อารมณ์เป็นสุข จะมีความทะเยอทะยาน กระตือรือร้น มองโลกในแง่ดีเพียงอย่างเดียว และรู้สึกว่าชีวิตและกิจกรรมทุกอย่างของตนสนุกสนาน
๗. Explosive personality disorder ลักษณะสำคัญ คือ อารมณไม่มั่นคง และไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์รุนแรง หรืออารมณ์รักของตนได้ อาจแสดงความก้าวร้าวออกทางคำพูดหรือการกระทำรุนแรง สาเหตุของความก้าวร้าวมักเกิดจากสิ่งกระตุ้นทางสังคมหรือจิตใจ และมักเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เหมาะสมกับการตอบสนองทางอารมณ์ของบุคคลนั้น
๘. Asthenic personality disorder ลักษณะสำคัญ คือ มักทำตามความต้องการของผู้ใหญ่หรือผู้อื่นง่าย มีการตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตประจำวันของตนน้อย
การรักษาบุคลิกภาพแปรปรวน การรักษาปัญหาบุคลิกภาพแปรปรวนเป็นสิ่งที่ลำบากมาก เพราะบุคคลผู้นั้นมักไม่มีความต้องการจะรักษา
๑. จิตบำบัดอย่างลึก (intensive psychoanalytically oriented psychotherapy)
๒. จิตบำบัดเฉพาะตัว (individual therapy) การรักษาจะมุ่งเฉพาะพฤติกรรมที่ผิดปกติมากกว่าจะมุ่งที่ความขัดแย้งภายในจิตใจ
๓. จิตบำบัดกลุ่ม
ความผิดปกติทางอารมณ์ในเด็ก Mood Disorders in Children
ภาวะซึมเศร้าจนถึงโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วเรียกว่าความผิดปกติทางอารมณ์หรือความผิดปกติทางอารมณ์ ในความผิดปกติใดๆ เหล่านี้ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรุนแรงจะส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ของบุตรหลาน แตกต่างจากอารมณ์ที่ไม่ดีปกติ ที่เด็กรู้สึกเป็นครั้งคราว ความผิดปกติทางอารมณ์เกี่ยวข้องกับความคิดและความรู้สึกที่รุนแรง จัดการยาก และคงอยู่ ความผิดปกติทางอารมณ์ที่เป็นภาวะทางการแพทย์ที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งที่เด็กน่าจะ "หาย" ได้ด้วยตัวเอง เด็กผู้หญิงมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าเด็กผู้ชายอย่างน้อยสองเท่า
ความผิดปกติทางอารมณ์ที่พบบ่อยที่สุดในเด็กและวัยรุ่น
Persistent depressive disorder (dysthymia) โรคซึมเศร้าเรื้อรังหรืออารมณ์ซึมเศร้าหดหู่เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี
Major depression อารมณ์หดหู่หรือหงุดหงิดยาวนานอย่างน้อยสองสัปดาห์
Bipolar disorder ช่วงของอารมณ์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามด้วยช่วงอารมณ์ที่หดหู่หรือสองอารมณ์
Disruptive mood dysregulation disorder พฤติกรรมอารมณ์หงุดหงิดและควบคุมพฤติกรรมไม่ได้
Premenstrual dysmorphic disorder อาการซึมเศร้า หงุดหงิด และรวมถึงตึงเครียดก่อนมีประจำเดือน
Mood disorder due to a general medical condition ความเจ็บป่วยทางการแพทย์ที่อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้เช่นโรคมะเร็ง การเจ็บป่วยเรื้อรัง
Substance-induced mood disorder อาการซึมเศร้าจากการใช้ยา ผลของยา หรือการสัมผัสสารพิษ
สาเหตุ ยังไม่แน่ชัดแต่ได้สันนิฐานว่ามาจาก
สมดุลของสารเคมีในสมอง
ความเครียดที่รุนแรงหรือเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิตสามารถ
พันธุกรรม ด็กที่มีญาติเป็นโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น
ความเครียดเรื้อรัง
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เหตุการณ์ในชีวิตที่ไม่คาดคิด
อาการและอาการแสดง
เศร้า หดหู่ หงุดหงิด โกรธ หรืออารมณ์ดูรุนแรงกว่าที่เด็กปกติเป็นเวลานาน หรือเกิดขึ้นบ่อยขึ้น
มีปัญหาครอบครัวรวมถึงพฤติกรรม
ไม่มีความสุขในกิจกรรมที่เคยชอบ
นอนไม่หลับหรือน้ำหนักลดลง
มีอาการเจ็บปวดแบบไม่ทราบสาเหตุบ่อยครั้ง เช่น ปวดหัว ปวดท้อง หรือเมื่อยล้า
เมื่อยล้าอ่อนแรง
มีความรู้สึกผิด ไร้ค่า หรือความนับถือตนเองต่ำ
มักเกิดอารมณ์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ขาดเรียนหรือไม่อยากไปโรงเรียน
มีพฤติกรรมดื้อรั้นหรือเสี่ยงสูง
หนีหรือขู่หนีออกจากบ้าน
ไม่สามารถเข้ากับเพื่อนและคนรอบข้าง
มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
การวินิจฉัย จะต้องทำการประเมินจาก
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจสร้างความเครียดให้กับชีวิตของลูก
ปัญหาจากครูหรือที่ปรึกษาแนะแนวที่โรงเรียน
อาการและพฤติกรรมลูกของคุณที่บ้าน ที่โรงเรียน และกับเพื่อน
ประวัติการรักษาเฉพาะ การใช้ยา
ประวัติสุขภาพทางการแพทย์ของบุตร
ความคิดเห็นหรือความเห็นชอบต่อการรักษา
การรักษา
ครอบครัวบำบัด ครอบครัวมีบทบาทสนับสนุนที่สำคัญในความผิดปกติทางอารมณ์ ครอบครัว รวมทั้งพ่อแม่หรือผู้ปกครองสามารถเรียนรู้วิธีที่จะช่วยให้ลูกจัดการปัญหาอารมณ์และพฤติกรรมได้
การรักษาด้วยยา ยาหลายชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษาความผิดปกติทางอารมณ์โดยการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้อง ยาอาจลดความรุนแรงหรือความถี่ของอาการ ลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ปรับปรุงการทำงาน และป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความผิดปกติทางอารมณ์และอาการของเด็ก
การบำบัดด้วยพฤติกรรมบำบัด วิธีการนี้เกี่ยวกับการจัดการความเครียดจัดการกับอาการทางอารมณ์ พฤติกรรม เปลี่ยนความคิด ความรู้สึก ที่เป็นปัญหาซึ่งบุตรกำลังประสบอยู่
การบำบัดระหว่างบุคคลเน้นไปที่การสร้างทักษะการเข้าสังคมและช่วยเหลือเด็กที่มีความสัมพันธ์ที่ลำบากในชีวิต
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณลักษณะของพยาบาลจิตเวช
ความรับผิดชอบ
มีทักษะในการสื่อสารเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
เป็นแบบอย่างของพฤติกรรมการปรับตัวที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการที่มีปัญหาการปรับตัว ได้เรียนรู้ตามแบบอย่างที่ดี เนื่องจากพยาบาลเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการมากที่สุด
เป็นผู้ชี้นำในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดรักษาได้
สามารถให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ เพื่อการบำบัดรักษาได้
สามารถให้การสนับสนุน ช่วยเหลือผู้รับบริการทางจิตและครอบครัวได้
มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม เป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดีของทีมสุขภาพจิตได้
สามารถบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาทางจิตทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มได้
สามารถช่วยเหลือผู้รับบริการที่มีปัญหาพิเศษได้ เช่น ผู้รับบริการในภาวะวิกฤต เป็นต้น
คุณลักษณะของพยาบาลจิตเวช
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตเวช การพยาบาลจิตวิทยา สังคมวิทยาปัญหาสังคม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้รับบริการได้อย่างถูกต้อง
ยอมรับในพฤติกรรมของผู้รับบริการและหาแนวทางแก้ไขให้ดีขึ้น
มีความสม่ำเสมอในการกระทำและคำพูด เป็นที่ไว้วางใจสำหรับผู้รับบริการมีความจริงใจแสดงให้ผู้รับบริการเห็นว่าพยาบาลสนใจ เข้าใจ และยินดีช่วยเหลือ จริงใจ
มีความเป็นอิสระและเชื่อถือในตนเอง
มีความอดทน เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลจิตเวชกำหนดได้เป็น 2 ระดับ คือ
บทบาทหน้าที่ระดับพื้นฐานหรือระดับรอง
1) เป็นผู้จัดสรรสิ่งแวดล้อมเพื่อการรักษา คือสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับบุคคล
3) เป็นตัวแทนสังคม มีหน้าที่ช่วยให้ผู้รับบริการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
2) เป็นเสมือนตัวแทนของแม่ เช่นหน้าที่ในการเลี้ยงดูหรือบำรุงเลี้ยงให้ผู้บริการมีความสุขสบายได้รับอาหารเพียงพอ คอยดูแลช่วยเหลือผู้รับบริการช่วยตัวเองจนสามารถเป็นตัวของตัวเองได้
6) ทางการรักษาพยาบาลที่ใช้เทคนิคเฉพาะทางการพยาบาล มีหน้าที่ในการพยาบาลพื้นฐานทุกประเภท รวมทั้งการสังเกตพฤติกรรมและบันทึกเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่ทีมการรักษาพยาบาล เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการรักษาพยาบาลถูกต้อง
5) พยาบาลเป็นเสมือนครูมีหน้าที่สอนกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แก่ผู้รับบริการที่ขาดความสนใจตัวเอง
4) เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ มีหน้าที่รับฟังผู้รับบริการ ให้คำแนะนำช่วยเหลือตามความเหมาะสม การรับฟังอาจไม่ต้องให้คำแนะนำก็ได้
บทบาทหน้าที่ระดับสูงหรือระดับผู้เชี่ยวชาญ
1) เป็นที่ปรึกษา มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง มีหน้าที่ให้คำปรึกษา
4) เป็นผู้นำการบำบัด มีหน้าที่ดังนี้
สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการเชิงการรักษา
การทำจิตบำบัดประคับประคอง
เป็นผู้ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้รับบริการ
เป็นผู้ให้ความรู้
เป็นผู้นิเทศงานหรือประสานงาน
3) เป็นผู้บำบัดรักษาเบื้องต้น มีหน้าที่คัดกรองผู้รับบริการและให้การบำบัดรักษาเบื้องต้น
ดำรงไว้ซึ่งสิทธิของผู้ป่วยและคุณภาพของงานบริการจำเป็นต้องสวมหน้าที่หลายบทบาทในเวลาเดียวกัน
2) เป็นผู้ติดต่อให้ความร่วมมือ การให้การพยาบาลทั่วไป การให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
จ.อ.สุเมธ สิงห์สวัสดิ์ นทน.ชั้นปีที่1เลขที่่24