Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบนิเวศ - Coggle Diagram
ระบบนิเวศ
องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component )
อินทรียสาร
ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ
อนินทรียสาร
ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์
ออกซิเจน น้ำ และคาร์บอน
ส่วนประกอบที่มีชีวิต (biotic component)
ผู้ผลิต (producer)
สิ่งมีชีวิตที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์อาหารขึ้นได้เองด้วยแร่ธาตุและสสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
เช่น พืช สาหร่าย
และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สังเคราะห์แสงได้
ผู้บริโภค (consumer)
สิ่งมีชีวิตที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นๆเป็นอาหาร
สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร (herbivore)
เช่น วัว ควาย กระต่ายและปลาที่กินพืชเล็กๆ
สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร (carnivore)
เช่น เสือ กบ สุนัขจิ้งจอก ฯลฯ
สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืช และสัตว์(Omnivore)
เช่น มนุษย์ ไก่ สุนัข เป็ด ฯลฯ
สิ่งมีชีวิตที่กินซากสิ่งมีชีวิตเป็นอาหาร(Scavenger)
เช่น แร้ง ไฮยีน่า หนอน ไส้เดือนดิน ฯลฯ
ผู้ย่อยสลาย (decomposer)
เป็นพวกย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอินทรีย์ได้
เช่น รา ยีส แบคทีเรีย
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ (Ecosystem)
พื้นที่บริเวณหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) มากกว่าหนึ่งชนิดและสิ่งแวดล้อม (Environment) ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกลุ่มสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้สามารถแบ่งความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศได้เป็น 6 รูปแบบ
ภาวะพึ่งพาอาศัย (Mutualism +,+)
เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลานานจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยที่ทั้งสองฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน
โปรโตซัว (Trichonympha sp.) ในลำไส้ปลวก
ไลเคนส์ (Lichens) เป็นสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด คือ ราและสาหร่าย
ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation +,+)
เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อยู่ร่วมกันโดยที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน แต่สามารถแยกออกจากกัน
นกเอี้ยงกับควาย
ผีเสื้อกับดอกไม้
ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (Commensalism +,0)
เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกัน โดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ใด ๆ
นกกับต้นไม้ใหญ่
พืชอิงอาศัย (Epiphyte) เช่น กระเช้าสีดา เฟิร์น จะเกาะอยู่บนต้นไม้เพื่อใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
ภาวะปรสิต (Parasitism +,-)
เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกัน โดยที่จะมีฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์จากการเป็นผู้ถูกอาศัย เรียกว่า โฮสต์ (Host) และจะมีอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้ประโยชน์จากการไปอาศัยอยู่กับโฮสต์ เรียกฝ่ายที่ได้ประโยชน์ว่า ปรสิต (Parasite) ปรสิตแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ปรสิตภายใน (Endoparasite) เช่น แบคทีเรีย พยาธิต่าง ๆ
ปรสิตภายนอก (Ectoparasite) เช่น ปลิง เห็บ หมัด ยุง
ปรสิตในเซลล์ (Intracellular parasite) เช่น ไวรัส
ภาวะแก่งแย่ง (Competition -,- )
เนื่องจากทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเดียวกันในการดำเนินชีวิต จึงทำให้ภาวะแก่งแย่งเป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อยู่ร่วมกันโดยต้องแก่งแย่งแข่งขันเพื่อให้ได้แหล่งทรัพยากรนั้นมาเป็นของตน ซึ่งส่งผลเสียแก่ทั้งสองฝ่าย สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ
การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (Intraspecies competition) เช่น ฝูงหมาป่าแย่งอาหารกัน สิงโตต่อสู้กันเพื่อครอบครองอาณาเขต
การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างสิ่งมีชีวิตคนละชนิด (Interspecific competition) เช่น เสือและสิงโตต่อสู้กันเพื่อแย่งอาหาร
ภาวะล่าเหยื่อ (Predation +,-)
เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกัน โดยฝ่ายที่เป็นผู้ล่า (Predator) จะเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์ ส่วนผู้ถูกล่าหรือเหยื่อ (Prey) จะเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ เช่น สัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ หรือพืชกินแมลง ซึ่งความสัมพันธ์จะช่วยทำให้ระบบนิเวศมีความสมดุลเกิดขึ้น
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถจำแนกออกเป็น 3 ระดับ
ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity)
หมายถึง ความแปรผันทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นภายในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เป็นความแตกต่างของสารพันธุกรรมภายในสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษผ่านทางหน่วยพันธุกรรมหรือ “ยีน” ซึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ ลักษณะเด่น หรือความแตกต่างขึ้นภายในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ
ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ (Species Diversity)
หมายถึง ความแปรผันทางชนิดพันธุ์ ที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ผ่านการสะสมและการวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน ซึ่งความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ถือเป็นผลจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติที่ทำให้เกิดทั้งการสูญพันธุ์และการก่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของโลก
ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (Ecological Diversity)
หมายถึง การดำรงอยู่ของระบบนิเวศแต่ละประเภทบนโลก ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศบนบก และระบบนิเวศในน้ำ ตลอดจนระบบนิเวศเมือง ที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งความหลากหลายทางระบบนิเวศนั้น เป็นผลจากความแตกต่างทางสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ของโลก อีกทั้ง ยังนับเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์และลักษณะเด่นของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งภายในระบบนิเวศแต่ละประเภท ล้วนมีสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันออกไปอาศัยอยู่