Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความหมาย ขอบเขต ขั้นตอน และการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแว…
ความหมาย ขอบเขต ขั้นตอน และการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
1.ความหมาย
การวิจัย
คือ การหาคําตอบของปัญหาที่ผู้ทําโครงการวิจัยต้องการได้คําตอบ ซึ่งปัญหานั้นยังไม่มีคําตอบที่ชัดเจนปรากฏอยู่บนโลกนี้ วิธีการที่ผู้ทําโครงการนํามาใช้ในการหาคําตอบต้องเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้ว่า คําตอบที่ได้จากวิธีการนั้นจะมี ความถูกต้องในภาวะแวดล้อมหรือสถานการณ์นั้น (ไม่ว่าจะทํากี่ครั้งในภาวะแวดล้อมเดียวกัน จะได้คําตอบที่เหมือนกัน)
ขอบเขตของโครงการวิจัยรายวิชา GE 362 198
2.1 ประเด็นวิจัย
ขอบเขตของเป้าหมายเพื่อ “แก้ปัญหาด้านพลังงานและ สิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์”
1.กําหนดประเด็นปัญหาที่สนใจ
2.สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่สนใจ
3.กําหนดวัตถุประสงค์หลักและวัตถุประสงค์ย่อยอย่างชัดเจน
4 กําหนดวิธีการวิจัยที่จะนํามาใช้แก้ปัญหานั้นโดยระบุขั้นตอนอย่างละเอียด
5.ประเมินความเป็นไปได้หรือโอกาสที่จะนักศึกษาทําได้สําเร็จโดยพิจารณาจากขั้นตอนที่ระบุไว้ใน
2.2 ภาระงาน
หาประเด็นวิจัยที่ตนเองและกลุ่มย่อยสนใจ
กําหนดหัวข้อเรื่องของโครงการวิจัย
ศึกษาหลักการและวิธีการเขียนเอกสารข้อเสนอโครงการวิจัย
เขียนเอกสารข้อเสนอโครงการวิจัย ฉบับร่าง
นําเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับร่างหน้าชั้นเรียนเพื่อขอรับข้อเสนอแนะและความเห็นชอบจากอาจารย์ ประจํากลุ่มเรียน และเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน
ปรับปรุงเอกสารข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อให้เป็นฉบับจริงที่ผ่านการพิจารณาของนักศึกษาแล้วเป็นอย่างด
ข้อเสนอแนะ
3.1 มองรอบด้าน มองอนาคต เพื่อนําไปสู่หัวข้อเรื่อง
สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องทําได้อย่างเชี่ยวชาญคือ การสืบค้นข้อมูลความรู้ทั้งในรูปแบบของเอกสารประเภทตําราและ บทความวิจัย ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลบุคคล จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อนําข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นแนวทางในการ ดําเนินการวิจัย ถ้าหัวข้อเรื่องของนักศึกษาเป็นเรื่องที่ยังไม่มีคําตอบที่ชัดเจนปรากฏอยู่บนโลกนี้
3.2 ภาพรวมของขั้นตอนการทําโครงการวิจัย
ชื่อหัวข้อโครงการวิจัยต้องแสดงถึง องค์ประกอบอย่างน้อย 2 องค์ประกอบ คือ ประเด็นที่เป็นวัตถุประสงค์หลัก และกลุ่มตัวอย่างหรือวัตถุที่ศึกษา หากจําเป็นก็ ระบุตัวแปรไว้ในชื่อเรื่องด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อได้ทําและเกิดความเข้าใจกับโครงในระยะหนึ่งแล้วอาจต้องกลับมาปรับปรุงชื่อ หัวข้อโครงการอีกครั้งก็ได้ เมื่อได้ชื่อหัวข้อโครงการแล้ว ขั้นตอนที่สําคัญมากอีกขั้นตอนหนึ่งคือ การกําหนดวัตถุประสงค์ของ โครงการ ซึ่งทําได้โดยนําประเด็นที่เป็นวัตถุประสงค์หลักในชื่อเรื่อง แล้วนํามามาพิจารณาถึงรายละเอียด ระบุรายละเอียดที่ เป็นขอบเขตที่ชัดเจนของโครงการว่ามีวัตถุประสงค์ย่อยอะไรบ้างโดยเขียนเป็นข้อ ๆ ตามลําดับ
สว่นประกอบของเอกสารข้อเสนอโครงการวิจัยรายวิชา GE 362 198
ชื่อหัวข้อวิจัย
ชื่อและสังกัดของคณะผู้วิจัยและชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
หลักการและเหตุผลในการทําโครงการ หรือ ความเป็นมาของโครงการ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
ข้อมูลทางวิชาการและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการและรายการเอกสารอ้างอิง
วิธีการและขั้นตอนการวิจัย
ขอบเขตและข้อจํากัดของการวิจัย
สถานที่ทําการวิจัย
แผนการดําเนินงานของโครงการ
งบประมาณของโครงการ
หลักการเขียนหัวข้อต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของเอกสารข้อเสนอโครงการวิจัย
5.1 ชื่อหัวข้อวิจัย
ต้องสื่อถึงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของโครงการ สิ่งที่ศึกษา และตัวแปร ชื่อเรื่องไม่ควรยาว เกินไปจึงควรเลือกใช้ข้อความสั้น ๆ แต่ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการสื่อได้ครบสมบูรณ
5.2 ชื่อและสังกัดของคณะผู้วิจัย และชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
ในรายวิชานี้กําหนดให้นักศึกษาเขียนรหัสประจําตัว ชื่อ ลําดับที่ในใบลงชื่อเข้าเรียน และคณะที่สังกัด ตามลําดับจากน้อยไปหามาก ส่วนชื่อที่ปรึกษาโครงการให้เขียนตําแหน่งทาง วิชาการและชื่อของอาจารย์ประจํากลุ่มเรียน สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ ความถูกต้องของตําแหน่งและการสะกดชื่อและนามสกุล
5.3 หลักการและเหตุผลในการทําโครงการ หรือ ความเป็นมาของโครงการ
1 ความสําคัญของโครงการ
ผู้เขียนควรเรียบเรียงหัวข้อนี้ในแนวทางเดียวกับการเขียนบทความ คือ มีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อความที่เป็นการ นําเข้าสู่เรื่อง (2) รายละเอียดของเนื้อหาสําคัญ และ (3) บทสรุปว่าควรทําวิจัยหัวข้อนี้ เมื่อจบข้อความทั้งสามส่วนนี้แล้วจึง เขียนหัวข้อวัตถุประสงค์ของโครงการ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการตามลําดับ
2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
เป็นวัตถุประสงค์ย่อยที่ได้คิดและเขียนไว้แล้วในผลงานใบงานที่ 1 โดยเขียนเป็นข้อ แต่ละข้อแสดงถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาของโจทย์วิจัย (สิ่งที่ทําในโครงการ) โดยเขียนลําดับข้อตามลําดับ ขั้นตอนที่จะปฏิบัติ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสัมพันธ์กับชื่อหัวข้อวิจัยโดยเป็นรายละเอียดของวัตถุประสงค์หลักที่ กําหนดไว้ในชื่อหัวข้อวิจัยแล้ว
3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
เป็นการระบุผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติตามที่ กําหนดไว้ในวัตถุของโครงการ โดยเขียนเป็นข้อ ๆ เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และลําดับข้อสอดคล้องกับลําดับข้อ ในวัตถุประสงค์ของโครงการด้วย
5.5 วิธีการและขั้นตอนการวิจัย
1 ลําดับวิธีการที่ใช้ในการหาคําตอบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ย่อยทุกข้อ เป็นขั้นตอนอย่างละเอียด โดยเขียนเป็น ข้อ ๆ ที่ครอบคลุมถึงข้อ 2 ถึง 5
2 เครื่องมือที่นํามาใช้ใน 1
3 กลุ่มเป้าหมายของโครงการหรือวัตถุที่ศึกษาที่ใช้ดําเนินการใน 1
4 ขั้นตอนการบันทึกและรวบรวมข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์จาก 1
5 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจาก 4
5.4 ข้อมูลทางวิชาการและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการและรายการเอกสารอ้างอิง
1 กําหนดคําสําคัญ (key words) จากวัตถุประสงค์ย่อยของโครงการ
2 กําหนดหัวข้อย่อยของข้อ 5.4 นี้ แล้วนําหัวข้อย่อยมากําหนดคําสําคัญอีกครั้ง ซึ่งคําสําคัญครั้งนี้จะมีส่วนที่ ซ้ําซ้อนกับคําสําคัญจากวัตถุประสงค์ย่อย
3 นําคําสําคัญนําไปค้นหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ที่กล่าวถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคําสําคัญเหล่านั้น)
4 นําข้อมูลที่สืบค้นได้มาวิเคราะหเ์พื่อเลอืกและประมวลเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ย่อย
5 เรียบเรียงข้อมูลที่ประมวลได้ตามหัวข้อย่อยที่กําหนดไว้ (4 )โดยอ้างอิงที่มาของข้อมูลที่นํามาเรียบเรียงทุก
แหล่งข้อมูล และแหล่งข้อมูลเหล่านี้ต้องปรากฏอยู่ในรายการเอกสารอ้างอิงที่อยู่ส่วนท้ายของหัวข้อนี้ด้วย
5.6 ขอบเขตและข้อจํากัดของการวิจัย
1 รายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายหรือวัตถุที่ศึกษา
2 ระยะเวลาที่ใช้ดําเนินการวิจัย เ
5.7 สถานที่ทําการวิจัย
เขียนสถานที่ที่ใช้ในวิธีดําเนินการวิจัย ทั้งในภาคสนามและห้องปฏิบัติการ ได้แก่ สถานที่เก็บ รวบรวมข้อมูล สถานที่วิเคราะห์ข้อมูล
5.8 แผนการดําเนินงานของโครงการ
แสดงเวลาและกิจกรรมในการดําเนินโครงการวิจัย
1 ขั้นเตรียมการ เช่น เตรียมอุปกรณ์ สารละลาย แบบบันทึกข้อมูล
2 ขั้นปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาหรือหาคําตอบ
3 ขั้นวิเคราะห์และสรุปผลการดําเนินงาน
4 ขั้นรายงานและนําเสนอผลงานของโครงการ
5.9 งบประมาณของโครงการ
เขียนแสดงค่าใช้จ่ายที่จําเป็นสําหรับดําเนินขั้นตอนหลักทั้ง 4 ขั้นตอน โดยแยกเป็นหมวด ได้แก่ หมวดค่าวัสดุ เช่น กระดาษ กาว สีน้ํา ฯลฯ หมวดค่าใช้สอย เช่น ค่าโดยสารยานพาหนะในการเดินทางไปยังสถานที่ทํา การวิจัย เป็นต้น