Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง - Coggle Diagram
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
7.1 กฎหมายสิ่งแวดล้อม
กฎหมายสิ่งแวดล้อม (Environmental Law) หมายถึง กฎหมายประเภทหนึ่ง โดยตราขึ้นเพื่อ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เนื้อหาจะครอบคลุมการป้องกัน และเยียวยาความเสื่อมโทรมแห่งสุขภาพ ทั้งของมนุษย์และอมนุษย์ และจะเกี่ยวกับกฎหมายจารีตประเพณี สนธิสัญญา ข้อตกลง พันธกรณี กฎระเบียบ และนโยบาย
กฎหมายสิ่งแวดล้อม ในบางประเภทอาจจะกำหนดคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมีการจำกัดเงื่อนไข ในการดำเนินกิจการบางประเภทของมนุษย์ เช่น กำหนดปริมาณของภาวะมลพิษที่จะให้มีได้ หรือกำหนด ให้ต้องมีการวางแผนและการตรวจสอบกิจการบางอย่าง เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีผลมากยิ่งขึ้น ได้มีประกาศใช้กฎหมายหลายฉบับใน พ.ศ. 2536 ซึ่งเป็นการ ปรับปรุงกฎหมายฉบับเก่าที่มีมานานแล้วให้ทันสมัยและมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยมีกฎหมาย สิ่งแวดล้อมที่สำคัญมี ดังนี้
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2535 โดยยกเลิกฉบับเก่าซึ่งมีใช้ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 และใช้หลักว่าบุคคลที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพื่อการขจัด มลพิษนั้น โครงสร้างของกฎหมายแบ่งเป็น 7 หมวด คือ
1.1 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
1.2 กองทุนสิ่งแวดล้อม
1.3 การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
1.4 การควบคุมมลพิษ
1.5 มาตรการส่งเสริม
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติฉบับนี้ แบ่งโรงงานเป็น 3 ประเภทใหญ่ เพื่อสะดวกในการควบคุมและกำกับดูแล ให้รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตาม พระราชบัญญัติ นี้ “โรงงาน” ตาม พระราชบัญญัตินี้ หมายความว่า“อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร มีกำลังรวมตั้งแต่ห้าแรงม้าหรือกำลัง เทียบเท่าตั้งแต่ห้าแรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนตั้งแต่เจ็ดคนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพเก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ ทั้งนี้ตามชนิดของ โรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง” โครงสร้างของกฎหมายแบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่
2.1 การประกอบกิจการโรงงาน
2.2 กำกับและดูแลโรงงาน
2.3 บทกำหนดโทษ
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติฉบับนี้ยกเลิก พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฉบับที่มีใช้มาแต่ พ.ศ. 2527 และ พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระและปุ๋ยที่มีใช้มาแต่ พ.ศ. 2497 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้และให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขในการกำกับดูแลการทำงาน ของเจ้าพนักงานของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการจัดการปฏิบัติตามกฎหมาย
ในกฎหมายได้ให้คำจำกัดความของ ของเสียไว้ 2 ชนิด คือ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า “อุจจาระ หรือปัสสาวะและหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
3.1 บททั่วไป
3.2 คณะกรรมการสาธารณสุข
3.3 กำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย
3.4 สุขลักษณะของอาคาร
3.5 เหตุรำคาญ
3.6 การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
3.7 กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3.8 ตลาด
3.9 การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณ
3.10 อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข
3.11 หนังสือรับรองการแจ้ง
3.12 ใบอนุญาต
3.13 อัตราธรรมเนียมค่าปรับ
3.14 การอุทธรณ์
3.15 บทกำหนดโทษ
3.16 บทเฉพาะกาล
การอนุรักษ์พลังงาน คือ การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัด การอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย การสร้างนโยบายด้านพลังงาน ของรัฐบาลเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
แนวทางการอนุรักษ์พลังงาน
การใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าโดยการสร้างค่านิยมและจิตใต้สำนึกการใช้พลังงานการ ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าจะต้องมีการวางแผนและควบคุมการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ สูงสุดมีการลดการสูญเสียพลังงานทุกขั้นตอน มีการตรวจสอบและดูแลการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา เพื่อลดการรั่วไหลของพลังงาน เป็นต้น โดยการใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และอื่น ๆ นอกจากนี้การเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดไฟตะเกียบประหยัดไฟ เป็นต้น รวมถึงการเพิ่ม ประสิทธิภาพเชื้อเพลิง เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทำให้เชื้อเพลิงให้พลังงานได้มากขึ้น และการ หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำวัสดุที่ชำรุดนำมาซ่อมใช้ใหม่ การลดการทิ้งขยะที่ไม่จำเป็นหรือการ หมุนเวียนกลับมาผลิตใหม่ (Recycle)
ส่งเสริมการจัดหาและการใช้พลังงานที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้กระบวนการ มีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดมาตรฐานด้านต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดโครงการกลไกการพัฒนา พลังงานที่สะอาด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน ทั้งในภาคครัวเรือน อุตสาหกรรม บริการ และ ขนส่ง โดยรณรงค์ให้เกิดวินัยและสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน และสนับสนุนการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัด พลังงาน และมาตรการ สนับสนุนให้ครัวเรือนลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุด รวมทั้งการวิจัย พัฒนาและกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าและมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน ตลอดจนสนับสนุน การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการขนส่งระบบราง เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและ สามารถชะลอการลงทุนด้านการจัดหาพลังงานของประเทศ
กำกับดูแลราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีเสถียรภาพ และเป็นธรรมต่อประชาชน โดยกำหนดโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงที่เหมาะสม และเอื้อต่อการพัฒนาพืชพลังงาน รวมทั้งสะท้อนต้นทุน ที่แท้จริงมากที่สุด และบริหารจัดการผ่านกลไกตลาดและกองทุนน้ำมัน เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่าง ประหยัด และส่งเสริมการแข่งขัน และการลงทุนในธุรกิจพลังงาน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการให้บริการ และความปลอดภัย
ดำเนินการให้นโยบายด้านพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ โดยสนับสนุนการผลิตและ การใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวมวล เช่น แก๊สโซฮอล์ (E10, E20 และ E85) ไบโอดีเซล พลังงานจากขยะ และพลังงานจากมูลสัตว์ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้าน พลังงาน ลดภาวะมลพิษ และเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร โดยสนับสนุนให้มีการผลิตและใช้พลังงาน หมุนเวียนในระดับชุมชน หมู่บ้าน ภายใต้มาตรการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่งให้มากขึ้น โดยขยายระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
พัฒนาพลังงานให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยจัดหาพลังงานให้เพียงพอ มีเสถียรภาพด้วยการเร่งสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานประเภทต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และเร่งให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในระดับรัฐบาลเพื่อร่วมพัฒนาแหล่งพลังงาน วางแผนพัฒนา ไฟฟ้าให้มีการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการจัดหา ความผันผวนทางด้านราคา และลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะโครงการผลิต ไฟฟ้าขนาดเล็ก และโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาพลังงาน ทางเลือกอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า
นโยบายพลังงานของประเทศไทย
7.3 การอนุรักษ์พลังงาน
7.2 กฎหมายอนุรักษ์พลังงาน
ในปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง ทำให้ประเทศต้องลงทุนเพื่อจัดหาพลังงานทั้งในและนอกประเทศไว้ใช้ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว และปัจจุบันการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้มีการผลิตและการ ใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการก่อให้เกิดการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มี ประสิทธิภาพสูงและวัสดุที่ใช้ในการอนุรักษ์พลังงานขึ้นภายในประเทศนั้น ยังไม่สามารถเร่งรัดดำเนินงาน ให้บรรลุเป้าหมายได้ ดังนั้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้ยกร่างกฎหมาย ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานขึ้นมา เพื่อกำหนดมาตรการในการกำกับ ดูแล ส่งเสริม และช่วยเหลือเกี่ยวกับ การใช้พลังงาน โดยมีการกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงาน เป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบ และวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงาน วิธีปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อใช้ในการอนุรักษ์พลังงาน