Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
หลักการพยาบาลสาธารณภัย
หลักการบริหารจัดการในที่เกิดเหตุและรักษาผู้บาดเจ็บ
D –Detection คือ การประเมินสถานการณ์ว่าเกินกำลังหรือไม่
S –Safety and Security คือ การประเมินความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในที่เกิดเหตุ
S –Support คือ การเตรียมอุปกรณ์และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในที่เกิดเหตุ
T –Triage/Treatment คือ การคัดกรองและให้การรักษาที่รีบด่วนตามความจำเป็นของผู้ป่วย โดยการใช้หลักการของMASS Triage Model เพื่อคัดแยกผู้ป่วยแบ่งเป็นกลุ่มตาม ID-me ได้อย่างรวดเร็ว
R –Recovery คือ การฟื้นฟูสภาพหลังจากเกิดเหตุการณ์
I -Incident command คือ ระบบการบัญชาเหตุการณ์และผู้ดูภาพรวมของการปฏิบัติการทั้งหมด
A –Assess Hazards คือ การประเมินสถานที่เกิดเหตุเพื่อระแวดระวังวัตถุอันตรายต่างๆที่อาจเหลือตกค้างในที่เกิดเหตุ
E –Evacuation คือ การอพยพผู้บาดเจ็บระหว่างเหตุการณ์
พยาบาลกับการจัดการสาธารณภัยการพยาบาลสาธารณภัย
เป็นการพยาบาลที่ต้องนำความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไปและด้านการพยาบาลฉุกเฉิน มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เกิดสาธารณภัยทั้งในระยะก่อนเกิด ขณะเกิด และหลังเกิดภัย เพื่อป้องกันและ/หรือ ลดความสูญเสียที่จะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ
ลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์สาธารณภัย
1.มุ่งลดความเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากสาธารณภัย โดยใช้องค์ความรู้และทักษะทางการพยาบาลอย่างเป็นระบบ
2.ต้องนำความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไปและด้านการพยาบาลฉุกเฉินมาประยุกต์ใช้ในสถานการณUภัยพิบัติ ทั้งในระยะก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย
3.เป็นการปฏิบัติการพยาบาล
ป้องกันและลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย
มุ่งเน้นด้านการพยาบาลฉุกเฉินแก่ผู้ประสบภัยจำนวนมากในขณะเกิดภัย
การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ
คุณสมบัติพยาบาลสำหรับจัดการสาธารณภัย
1.มีความรู้ทางการพยาบาลและมีประสบการณ์การปฏิบัติงานการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต และด้านการรักษาโรคเบื้องต้นได้
2.มีความรู้ด้านสาธารณภัย มีความสามารถในการประเมินสถานการณUและคาดการณ์ถึงปัญหาสุขภาพที่จะเกิดจากสาธารณภัยชนิดต่างๆ รวมทั้งมีความสามารถให้การพยาบาลได้ครอบคลุมทุกระยะของการเกิดภัย
3.มีทักษะในการตัดสินใจที่ดีมีความเป็นผู้นำ และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4.มีทักษะในการสื่อสาร และการบันทึกข้อมูลต่างๆได้อย่างถูกต้องครบถ้วนชัดเจน
5.มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมกับสถานการณ์
ระบบทางดNวน (Fast track/Pathway system) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
สถาบันสามารถดำเนินการจัดทำหรือจัดการแตกต่างกัน โดยอาศัยหลักการ
1.การจัดทำควรเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการ
2.จัดทำแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย พร้อมกำหนดลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่เข้าระบบทางด่วน
3.จัดทำแนวปฏิบัติ ลำดับการปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงประตูโรงพยาบาล หรือ ห้องฉุกเฉิน พร้อมกําหนดหน้าที่ต่างๆของผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.จัดทำรายการตรวจสอบ (check list) สำหรับการลงข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
5.ฝึกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้และสามารถดำเนินการตามระบบทางด่วน
6.แผนการปฏิบัติต้องเน้นย้ำเวลาเป็นสำคัญ ต้องมีแผนปฏิบัติการรองรับเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
7.กำหนด clinical indicator เพื่อการติดตามและประเมินผลในแต่ละขั้นตอนของระบบทางด่วน สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
บทบาทพยาบาลกับระบบทางด่วน (Fast track)
1.การประเมินเบื้องต้นโดยใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะโรค
2.การรายงานแพทย์ผู้รักษาเพื่อตัดสินใจสั่งการรักษา
3.การประสานงานผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
4.การจัดการและดูแลขณะส่งต่อ
5.การให้การดูแลตามแผนการรักษาภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด
6.การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
7.การให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความผิดปกติและติดตามการประเมินผลลัพธ์
8.การดำเนินงานเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวม
9.การจัดระบบให้มีการทบทวนและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
บทบาทพยาบาลในระบบทางด่วน (Fast track)
1.EMS (accessibility)
2.Triage/ Specific triage/ Assessment
3.Activate system
4.Flow (purpose-process-performance)
5.Investigation
6.Care delivery
7.Monitoring: early warning signs & E-response
8.Risk management (general & clinical)
9.Co-ordination, Communication, Handover
10.Inter & Intra transportation
11.Evaluation, output, outcome
12.Improvement, Innovation, Integration
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
Primary survey
B: Breathing and Ventilation
การประเมินการช่วยหายใจและการระบาย อากาศเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศโดยประเมินจาก
การเปิดดูร่องรอยบาดแผลท่ีบริเวณทรวงอก
คลํา การเคาะเพื่อตรวจหาการบาดเจ็บ
ฟัง Breath sound ทั้งสองข้าง
ดูการเคลื่อนไหวบริเวณทรวงอก
C: Circulation and Hemorrhage control
1.ระบบหายใจ จะพบการหายใจเร็วและไม่สมํ่าเสมอจาก Acidosis respiration
2.ระบบทางเดินปัสสาวะ ระยะแรกปัสสาวะจะลดลง
3.ระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะกระหายนํ้า ลําไส้บวมและไม่ได้ยิน bowel sound
4.ภาวะกรดด่างของร่างกาย ร่างกายจะเกิดการเผาผลาญแบบ anaerobic metabolism จนเกิดภาวะ acidosis metabolic
การประเมินในระบบไหลเวียนและการห้าม เลือด โดยประเมินจากสัญญาณชีพ ระดับความ รู้สึกตัว สีผิว อุณหภูมิ รวมถึงปริมาณเลือดที่ ออกจากบาดแผล
อาการทางระบบประสาท ประกอบด้วย ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง การตอบสนองของรูม่านตา
ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีผิวหนังเย็นชื้น เหงื่อออกมาก cyanosis ยกเว้น septicshock ที่ผิวหนังจะอุ่น สีชมพูในระยะแรก
หัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยช็อก Systolic BP จะลดลงตํ่ากว่ำ90 mm.Hg.หรือตํ่ากว่าปกติ 50 mm.Hg. หาก Systolic BP น้อยกว่า 60-70 mm.Hg. จํานวนเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะลดลง
A: Airway maintenance with cervical spine
การเปิดทางเดินหายใจแบบ Head-tilt Chin-lift maneuver
การเปิดทางเดินหายใจแบบ jaw-thrust maneuver
การเปิดทางเดินหายใจแบบ modified jaw-thrust maneuver
การเปิดทางเดินหายใจแบบ Triple airway maneuver
D: Disability: Neurologic Status
การประเมินระบบประสาทต่อว่าสมอง หรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือไม่
ประเมินจาก AVPU Scale การตรวจประเมินรูม่านตา
Exposure / Environment control
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหนัก ควรถอดเสื้อผ้าออกให้หมดเพื่อค้นหา การบาดเจ็บต่างๆอื่นๆ ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บหนักอาจใช้กรรไกรใน การตัดเสื้อและกางเกงออกเพ่ือจะได้ตรวจร่างกายอย่างถูกต้อง
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
1.การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุเกิดขึ้น (Access)คือ การเข้าถึงช่องทางสำหรับการติดต่อในการแจ้งเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น มีศูนย์รับแจ้งเหตุและศูนย์สั่งการเพื่อติดต่อประสานงาน ประเทศไทยโทร 1669
การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care) คือ การดูแลรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่การคัดแยก ระบบทางด่วนฉุกเฉิน การวินิจฉัย การรักษาตามความเร่งด่วน รวมถึงการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต หอผู้ป่วย การฟื้นฟู ซึ่งทุกขั้นตอนจะต้องกระทำถูกต้องตามหลักวิชาชี
4.การฟื้นฟูสภาพและการส่งต่อ (Rehabilitation& transfer)คือ การดูแลต่อเนื่องในรายที่พบปัญหาหรือต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังจากการได้รับการรักษาในโรงพยาบาลขณะเดียวกันด้านการส่งต่อ อาจแบ่งเป็นการส่งต่อในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเกินความสามารถในการรักษา จำเป็นต้องส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าหรือมีความเชี่ยวชาญ
2.การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital care)คือ การจัดให้มีการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุโดยมีบุคลากรที่เป็นบุคลากรที่ได้รับการอบรมให้ความรู้ความสามารถ ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ การช่วยฟื้นคืนชีพ การจำแนกผู้บาดเจ็บ ให้การรักษาเบื้องต้น โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก
การดูแลผู้บาดเจ็บขั้นต้น
การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น(Primary Survey)การตรวจประเมินพยาธิสภาพหรือการเปลี่ยนแปลง
Resuscitationการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยพ้น ภาวะวิกฤตที่อาจทําให้เสียชีวิตได้
Definitive careการรักษาหลังจากผู้ป่วยได้ รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว
Secondary surveyการตรวจร่างกายอย่างละเอียด หลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว
การกู้ชีพ (RESUSCITATION)
Airwayภายหลังจากการประเมิน การทํา Definitive airway ในผู้บาดเจ็บที่มีปัญหาการหายใจ สามารถรักษาได้โดยการใส่ท่อช่วยหายใจและ ควรกระทําแต่เร่ิมต่นหลังจากที่ช่วยหายใจ ด้วยออกซิเจน
Breathingผู้บาดเจ็บทุกรายควรได้รับออกซิเจนเสริมหากไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้บาดเจ็บควรได้รับออกซิเจน ผ่านหน้ากาก (reservoir face mask) ที่เหมาะ สมกับหน้าพอดีด้วย flow rate 11 L/min เพื่อ ให้ได้ปริมาณออกซิเจนท่ีเพียงพอร่วมกับการ ติดตามระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด
Circulationการห้ามเลือดเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งในผู้บาดเจ็บ โดยทําร่วมกับการให้สารน้ำทดแทน เมื่อทําการ เปิดเส้นเลือดแล้วควรเก็บเลือดส่งตรวจเพื่อช่วย ในการประเมินความผิดปกติท่ีเกิดขึ้น การให้สาร น้ำในปริมาณมากอาจไม่ได้ทดแทนการห้ามเลือดได้
การให้สารน้ำและเลือด
หลีกเลี่ยงแทงเส้นใต้ตําแหน่งของแขนขาท่ีได้รับบาดเจ็บ
กรณีสงสัยว่ามีเลือดออกในช่องท้อง หลีกเล่ียงการให้สารน้ำที่ขาเพราะจะ ทำให้สารน้ำไหลรั่วเข้าช้องท่อง
ให้สารน้ำที่เป็น Balance salt solution
หากอาการทรุดลงไม่ตอบสนองพิจารณาการให้เลือดกรุ๊ปโอซึ่งสามารถให้ เลือดทุกหมู่ได้ตามแผนการรักษา
ไม่ควรให้เลือดร่วมกับ Lactated Ringer's solution, acetar สารนํ้าดัง กล่าวมีส่วนผสมของแคลเซียมเพราะจะทําให้เลือดตกตะกอน
หลังได้รับสารน้ำหรือเลือดควรประเมินการตอบสนองต่อสารน้ำ
การประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยท่ีได้รับบาดเจ็บอย่างละเอียด (SECONDARY SURVEY)
การประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างละเอียด มักทําหลังจาก PRIMARY SURVEY และ RESUSCITATION จน VITAL FUNCTION เข้าสู่ภาวะปกติแล้วเพื่อให้ได้ DEFINITE DIAGNOSIS ประกอบด้วย
การซักประวัติ
MECHANISM OF INJURY
การตรวจร่างกาย HEAD TO TOE การตรวจพิเศษต่างๆ เช่น X-RAY LABORATORY DPL (DIAGNOSTIC PERITONEAL LAVAGE) CT SCAN
พยาบาลพึงระวังว่าอาจเกิดภาวะอันตรายบางอย่างที่ตรวจไม่ พบใน PRIMARY SURVEY จนทําให้ผู้ป่วยอาการเลวลงในขณะ ทํา SECONDARY SURVEY ได้และการทํา SECONDARY SURVEY อาจทําหลังจากผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัดฉุกเฉินแล้ว
การรักษาผู้ป่วยท่ีได้รับบาดเจ็บภายหลังได้รับการช่วย เหลือขั้นต้นแล้ว (DEFINITIVE CARE)
การรักษาอย่างจริงจังหลังจากได้ทํา SECONDARY SURVEY เรียบร้อยแล้ว เพ่ือแก้ไขพยาธิสภาพโดยตรง เป็นการรักษาจําเพาะของการบาดเจ็บแต่ละอวัยวะ ได้แก่ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะฉุกเฉินต่างๆ