Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
แนวคิด
(1) Anglo-American Model (AAM)
“Scoop and run” เวลาสําหรับการประคับประคองอาการในสถานที่เกิดเหตุสั้น และนําผู้ป่วยส่งยังสถาน พยาบาลให้เร็วที่สุด
นําผู้ป่วยยไปยังโรงพยาบาลให้ เร็วที่สุด
บุคลากร : ทีมเวชกิจฉุกเฉินให้การดูแล โดยมีแพทย์กํากับ
นำส่งห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการนำส่งโรงพยาบาล
(2) Franco-German Model (FGM)
“Stay and Stabilize” ให้เวลานานในการดูแลอาการในสถานที่เกิดเหตุและนําการรักษาไปยังสถานที่เกิดเหตุ
นําบริการโรงพยาบาลมาหาผู้ป่วย
บุคลากร : แพทย์ให้การดูแลโดยมีทีมเวชกิจฉุกเฉินช่วย นำส่งหน่วยเฉพาะทาง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษา ณ จุดเกิดเหตุ
ความหมาย
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน
คือ การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จําเป็นต้องดําเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที อาจเกิดจากภาวะต่างๆ
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
หมายถึง ผู้ที่ทีอาการหนักรุนแรงต้องการการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชํานาญ เฉพาะทาง โดยใช้หลักและกระบวนการพยาบาลที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามชีวิต
มี ลักษณะทางคลินิก ดังนี้
ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต
หยุดหายใจหายใจช้ากว่า10ครั้งต่อนาที หรือเร็วกว่า30ครั้งต่อนาทีหายใจลําบากหรือหอบเหนื่อย
คลําชีพจรไม่ได้ หรือชีพจรช้ากว่า40 หรือเร็วกว่า30ครั้ง/นาที
ความดันโลหิตSystolicต่ำกว่า80มม.ปรอท หรือDiastolicสูงกว่า130มม.ปรอท
เจ็บปวดทุรนทุรายกระสับกระส่าย
มือเท้าซีดเย็น เหงื่อ ออกมาก
อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า35เซลเซียสหรือสูงกว่า40เซลเซียส
ถูกพิษจากสัตว์ เช่น งูหรือสารพิษชนิดต่างๆ
ตกเลือดเลือดออกมากซีดมาก
การเจ็บป่วยวิกฤต
จึงหมายความถึง การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต หรือพิการได้
ผู้ป่วยวิกฤตมีลักษณะดังนี้
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลว
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น Septic Shock
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น myocardialin farction
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
เพื่อช่วยชีวิต เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ต้องรีบช่วยหายใจโดยการผายปอด ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และนวดหัวใจทันที
การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต เช่น การทําแผล การใส่เฝือกชั่วคราว กระดูกที่หัก
การบันทึกเหตุการณ์อาการและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาต่อไป
การส่งต่อรักษา หลังจากให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยแล้ว ต้องรีบเคลื่อนย้ายนําส่งโรงพยาบาล เพื่อทําการรักษาต่อทันที
การพยาบาลสาธารณภัย
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster)
ภัย (Hazard) หมายถึง เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดๆที่สามารถที่ทําให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ความเสียหายต่อทรัพย์สินความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
สาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการ กระทําของมนุษย์แล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทําให้ เกิดขึ้นอุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ
อุบัติภัย
อุบัติเหตุกลุ่มชน/อุบัติภัยหมู่(MASS CASSUALTIES)
หมายถึง อุบัติเหตุที่เกิดกับคนจํานวนมาก ได้รับการเจ็บป่วยจํานวนมาก เกินขีดความสามารถปกติที่โรงพยาบาลจะให้การรักษาพยาบาลได้ ทําให้ โรงพยาบาลไม่สามารถปฏิบัติภารกิจเช่นเดิมได้
ประเภทของอุบัติภัยหมู่ แบ่งตามขีดความสามารถของสถานพยาบาล
Multiple casualties ทั้งจํานวนและความรุนแรงของผู้ป่วยไม่เกินขีดความสามารถของ โรงพยาบาลผผู้ป่วยที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต(lifeThreatening)จะได้รับการรักษาก่อน
Mass casualties ทั้งจํานวนและความรุนแรงของผู้ป่วยเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลและทีมผู้รักษา ผู้ป่วยที่มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยท่ีสุดจะได้รับการรักษาก่อน
หลักการพยาบาลสาธารณภัย
การบรรเทาภัย (Mitigation) : กิจกรรมต่าง ๆ ที่ดําเนินการเพื่อลดหรือกําจัดโอกาสในการเกิดหรือ ลดผลกระทบของการเกิดภัยพิบัติ ได้แก่ การจัดทําโครงการบรรเทาภัยก่อนเกิดภัย การจัดทําข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย
การเตรียมความพร้อม (Preparedness) การรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เป็นระยะต่อเนื่องจากการ บรรเทาภัย โดยการเตรียมคนให้พร้อม มีแผนที่ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน มีการฝึกอบรมความรู้และทักษะ รวมถึง การซ่อมแผนและการเตรียมพร้อมของทรัพยากรที่จําเป็น การจัดระบบการสื่อสารที่จําเป็นในภาวะฉุกเฉิน
การตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Response) ต้องมีการดําเนินการทันเมื่อเกิดภัย โดยยึดตามหลัก CSCATT
C – Command คำสั่ง
S – Safety A, B, C (Personal, Scene, Survivors)
C – Communication สีเวร
A – Assessment ประกอบด้วย
M : Major incident : เป็นเหตุการณ์สาธารณภัยหรือไม่
E : Exact location : สถานท่ีเกิดเหตุที่
T : Type of accident : ประเภทของสาธารณภัย
H : Hazard : มีอันตราย หรือเกิดอันตรายอะไรบ้าง
A : Access : ข้อมูลการเดินทางเข้า-ออกจากที่เกิดเหตุ
N : Number of casualties: จํานวนและความรุนแรงของผู้บาดเจ็บ
E : Emergency service : หน่วยฉุกเฉินไปถึงหรือยัง
T – Triage
T – Treatment
T – Transportation
ระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system) สําหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
การจัดทําควรเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง มาร่วมดําเนินการ
จัดทําแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย พร้อมกําหนดลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่เข้าระบบทางด่วน
จัดทําแนวปฏิบัติ ลําดับการปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงประตูโรงพยาบาล หรือ ห้องฉุกเฉิน พร้อมกําหนดหน้าที่ต่างๆของผู้ที่เกี่ยวข้อง
จัดทํารายการตรวจสอบ (check list) สําหรับการลงข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
ฝึกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้และสามารถดําเนินการตามระบบทางด่วน
แผนการปฏิบัติต้องเน้นย้ำเวลาเป็นสําคัญ ต้องมีแผนปฏิบัติการรองรับเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้
กําหนด clinical indicator เพื่อการติดตามและประเมินผลในแต่ละขั้นตอนของระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system) สําหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
การดูแลผู้บาดเจ็บขั้นต้น ประกอบด้วย
1. การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น (Primary Survey)
ประเมินพยาธิสภาพหรือการเปลี่ยนแปลง ต้องเรียงลําดับความสําคัญของการบาดเจ็บ และภาวะคุกคามแก่ชีวิตให้ดี จากนั้นให้การรักษาโดยเรียงลําดับความสําคัญ
Airway maintenance with cervical spine protection
การเปิดทางเดินหายใจ
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ Head-tilt Chin-lift maneuver
ใช้มือข้างหนึ่งกดลงบนหน้าผากผู้ป่วย
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างยกกระดูกปลายคางขึ้น
ระวังอย่าให้นิ้วดันส่วนท่ีเป็นเนื้อใต้คางเพราะจะทําให้ทางเดิน หายใจอุดกั้นมากข้ึน
กรณีที่ไม่แน่ใจว่ามีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอให้ใช้วิธี jaw-thrust maneuver, modified jaw thrust
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ jaw-thrust maneuver
ผู้ช่วยฟื้นคืนชีพอยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย
ใช้มือสองข้างจับมุมขากรรไกรล่างทั้งสองข้าง
ดึงขากรรไกรล่างแล้วยกขึ้นพร้อมกับดันไปข้างหน้าพร้อมกับดันศีรษะให้หงายไปข้างหลัง (jaw-thrust maneuver with Head-tilt)
กรณีสงสัยมีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ ให้ดึงขากรรไกรล่างแล้ว ยกขึ้นพร้อมกับดันไปข้างหน้าไม่ต้องหงายศีรษะไปข้างหลัง
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ modified jaw-thrust maneuver
ใช้ในกรณีสงสัยมีการบาดเจ็บต้นตอ
ผู้ช่วยฟื้นคืนชีพอยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย
ใช้มือสองข้างจับมุมขากรรไกรล่างทั้งสองข้าง
ดึงขากรรไกรล่างแล้วยกขึ้นพร้อมกับดันไปข้างหน้าไม่ต้องหงาย ศีรษะไปข้างหลัง
ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งข้างกดที่ด้านหน้าของกระดูกขากรรไกลล่าง บริเวณใต้มุมปาก
ออกแรงกดให้ปากอ้าออก
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ Triple airway maneuver
กรณีไม่มีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ
Head-tilt
jaw-thrust
open mouth
กรณีสงสัยมีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ
jaw-thrust
open mouth
ยกเว้นในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยกําลังมีอันตรายแก่ชีวิต
1) Head-tilt 2) jaw-thrust 3) open mouth
2. Resuscitation
เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตที่อาจทําให้เสียชีวิตได้ เช่น การดูแลทางเดินหายใจ การช่วยหายใจ
Breathing and Ventilation
เป็นการประเมิน การช่วยหายใจและการระบายอากาศเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศ เพื่อให้ได้ ออกซิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์
พยาบาลควรวินิจฉัยภาวะผิดปกติตั้งแต่ Primary survey ได้แก่ Tension pneumothorax, Flail chest with pulmonary contusion, Massive hemothorax, Open pneumothorax โดยประเมินจาก
1.การเปิดดูร่องรอยบาดแผลที่บริเวณทรวงอก
2.ดูการเคลื่อนไหวบริเวณทรวงอก
3.คลําการเคาะเพื่อตรวจหาการบาดเจ็บ
4.ฟังBreathsoundทั้งสองข้าง
Secondary survey เป็นการตรวจร่างกายอย่างละเอียดหลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว ได้แก่ การซักประวัติ การตรวจ Head to toe การตรวจทางรังสีรักษา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจพิเศษต่างๆ
Circulation and Hemorrhage control
เป็นการประเมินในระบบไหลเวียนและการห้ามเลือด โดยประเมินจากสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว สีผิว อุณหภูมิ รวมถึงปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผล
4. Definitive care
เป็นการรักษาหลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว
Disability: Neurologic Status
เป็นการประเมินระบบประสาทต่อว่าสมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือไม่หลังจากดูแลผู้ป่วย Airway, Breathing, Circulation ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
(Life threatening injury)
การกู้ชีพ (Resuscitation)
Airway
ภายหลังจากการประเมิน การทํา Definitive airway ในผู้บาดเจ็บที่มีปัญหาการหายใจ สามารถรักษาได้โดยการใส่ท่อช่วยหายใจ และควรกระทําแต่เริ่มต้นหลังจากที่ช่วยหายใจด้วยออกซิเจน หาก ใส่ไม่ได้ อาจพิจารณาการใส่ท่อด้วยวิธีการทางศัลยกรรม
Breathing
ผู้บาดเจ็บทุกรายควรได้รับออกซิเจนเสริมหากไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้บาดเจ็บควรได้รับ ออกซิเจนผ่านหน้ากาก (reservoir face mask) ที่เหมาะสมกับหน้าพอดีด้วย flow rate 11 L/min เพื่อให้ได้ปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอร่วมกับการติดตามระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด
Circulation
การห้ามเลือดเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งในผู้บาดเจ็บโดยทําร่วมกับการให้สารน้ําทดแทน เมื่อทําการเปิดเส้นเลือดแล้วควรเก็บเลือดส่งตรวจเพื่อช่วยในการประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้น การให้สารน้ําใน ปริมาณมากอาจไม่ได้ทดแทนการห้ามเลือดได้
การประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างละเอียด (Secondary Survey)
History
ประวัติและ Mechanism of Injury อาจได้จากตัวผู้ป่วยเอง หรือในกรณีที่ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัวอาจต้องสอบถามจาก ผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้นําส่ง
ควรซักประวัติตามหลัก AMPLE ประกอบด้วย
• Allergies ประวัติการแพ้ยา สารเคมีหรือวัตถุต่างๆ
• Medication ยาที่ใช้ในปัจจุบัน
• Past illness/ Pregnancy การเจ็บป่วยในอดีตและการตั้งครรภ์
• Last meal เวลาที่รับประทานอาหารครั้งล่าสุด
• Event/ Environment related to injury อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร รุนแรงเพียงใด สถานการณ์สิ่งแวดล้อมขณะเกิดเหตุเป็นอย่างไร
Physical Examination
Head
Facial
Cervical spine and Neck
Chest
Abdomen
Musculoskeletal and Peripheral vascular assessment
Pelvic fracture
Neurological system
Re-evaluation