Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Endocrine System ระบบต่อมไร้ท่อ - Coggle Diagram
Endocrine System ระบบต่อมไร้ท่อ
บทนำระบบต่อมไร้ท่อ (Introduction to Endocrinology)
ระบบที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและควบคุมกระบวนการต่างๆ ที่สำคัญภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นระบบที่ทำงานสอดประสานร่วมกับระบบประสาทโดยอาศัยการสื่อสารกันระหว่างเซลล์ (Cell to cell communication)
สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เรียกว่า ฮอร์โมน (Hormones)
บทบาทหน้าที่
ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
ควบคุมการเจริญโต เมทาบอลิซึม และการพัฒนาของเซลล์
ควบคุมสมดุลของสารน้ำ เกลือแร่ และอิเล็กทรอไลท์ต่างๆ
ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ทั้งในภาวะปกติ ตั้งครรภ์ และหลังคลอด
การสังเคราะห์ฮอร์โมน (Hormone synthesis)
เอมีน (Amines (A))
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโน (Modification of amino acids)
องค์ประกอบหลัก กรดอะมิโน Tryptophan or Tyrosine
สเตียรอยด์ (Steroids(S))
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของไขมันชนิดคอเลสเตอรอล (Modification of lipid cholesterol)
โปรตีน (Peptides and Protein (P&P))
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนหลายตัวที่เชื่อมติดกันด้วยพันธะเคมี (Modification of multiple amino acids)
กระบวนการสังเคราะห์เหมือนกันกับโปรตีนชนิดอื่นๆในร่างกาย
ชนิดของฮอร์โมน (Hormone classes)
แคททีโคลามีน (Catecholamines (C))
ไทรอยด์ (Thyroid (Iodothyronines)(T))
คุณสมบัติทางสรีรวิทยาของฮอร์โมน (Hormone physiology features)
การสังเคราะห์ (Synthesis)
P&P.A → สังเคราะห์ขึ้นมาและเก็บไว้
S → สังเคราะห์และหลั่งตามความต้องการ
การขนส่ง (Transport)
P&P.C → ขนส่งโดยอิสระไปตามการไหลเวียนของเลือด
S,T→ ขนส่งไปโดยการจับกับโปรตีนตัวนำ (Carrier proteins)
การจับกับตัวรับ (Receptor binding)
P&P,C → จับกับตัวรับบนผิวเซลล์ (Cell membrane receptors)
S,T → จับกับตัวรับที่อยู่ภายในเซลล์ (Intracellular receptors)
การตอบสนอง (Effects)
P&P,C → การเปลี่ยนแปลงโปรตีน (Protein modification)
P%P,S,T → การสังเคราะห์โปรตีน (Protein synthesis)
ชนิดและการทำงานของฮอร์โมนต่อมใต้สมอง (Pituitary hormones and their control by Hypothalamus)
ฮอร์โมนต่อมใต้สมองจาก Pituitary Gland & Hypothalamus
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior pituitary)
Antidiuretic hormone (ADH)
Oxytocin
Neurohypophysis
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior pituitary)
Thyroid-stimulating hormone (TSH)
Follicle stimulating hormonr (FSH)
Adrenocorticotropin (ACTH)
Luteinizing hotmone (LH)
Prolactin (PRL)
Interstitial cell-stimulating hormone (ICSH)
Growth hormone (GH)
Melanocyte-stimulating hormone (MSH)
Adenohypophysis
คุณสมบัติ
วางอยู่ที่แอ่งของกระดูก Sphenoid ที่ Anterior and inferior to the Thalamus
ต่อมนี้ถูกเชื่อมอยู่กับส่วนของ Hypothalamus อาศัย Infundibulum (Pituitary stalk)
มีลักษณะเป็นต่อมรูปไข่สีน้ำตาลแดง
แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ด้านหน้าและด้านหลัง
ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland or Hypophysis) จัดเป็นส่วนหนึ่งของ Diencephalon
ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต (Growth hormone, GH)
ชนิดของฮอร์โมน
Protein hormone
หน้าที่
กระตุ้นกระบวนการต่างๆ ที่ส่งผลในการเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์ร่างกาย
เซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย
ตับ
ภูมิคุ้มกัน
ประสาท
กล้ามเนื้อ
กระดูก
เซลล์ไขมัน
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต (Growth hormone and its disorders)
GH → Gigantism
พบในเด็กเล็ก เนื่องจากการหลั่ง GH มากกว่าปกติ ทำให้มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าปกติ
GH → Acromegaly
เกิดความผิดปกติของกระดูกตามบริเวณใบหน้า นิ้วมือ นิ้วเท้า มีขนาดใหญ่กว่าปกติ
GH → Pituitary dwarfism
พบในวัยเด็ก เนื่องจากการขาด GH ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ
ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid-stimulating hormone,TSH/Thyrotropin)
ชนิดของฮอร์โมน
Glycoprotein hormone
หน้าที่
กระตุ้นการเจริญเติบโตและควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์
เซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย
ต่อมไทรอยด์
ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมหมวกไต (Adrenocorticotropic hormone , ACTH/ Corticotropin)
ชนิดของฮอร์โมน
Peptide hormone
หน้าที่
กระตุ้นการเจริญเติบโตแบะควบคุมการทำงานของต่อมหมวกไต
เซลล์และอวัยวะเป้าหมาย
ต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex)
ฮอร์โมนเพศ (Follicle-Stimulating hormone, FSH และ Luteinizing hormone, LH)
Follicle
-Stimulating hormone, FSH
ชนิดของฮอร์โมน
Glycoprotein hormone
หน้าที่
เพศชาย
กระตุ้นการเจริญของอสุจิภายในอัณฑะ ทำให้มีการสร้างอสุจิ
เพศหญิง
กระตุ้นการเจริญของไข่ในรังไข่ ทำให้มีการพัฒนาไข่ให้สมบูรณ์
เซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย
เพศชาย
Sertoli cells →Spermatogenesis
เพศหญิง
Follicle →Follicular growth
Luteinizing hormone, LH
ชนิดของฮอร์โมน
Glycoprotein hormone
หน้าที่
เพศชาย
กระตุ้นการสังเคราะห์ฮอร์โมน Testosterone
เพศหญิง
กระตุ้นการสังเคราะห์ฮอร์โมน Estrogen และการเจริญเติบโตของไข่ ทำให้ไข่สุก และมีการตกไข่
เซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย
เพศชาย
Interstitial cells/Leydig cells →Testosterone production
เพศหญิง
Follicle →Estrogen production →Ovulation
ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมน้ำนม (Prolactin.PRL)
เซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย
ต่อมน้ำนม (Mammary glands)
ชนิดของฮอร์โมน
Peptide hormone
หน้าที่
กระตุ้นการเจริญเติบโตและควบคุมการทำงานของต่อมน้ำนม เพื่อให้มีการสร้างน้ำนม (Lactation)
ฮอร์โมนกระตุ้นเซลล์เม็ดสี ((Melanocyte-stimulating hormone, MSH)
ชนิดของฮอร์โมน
Peptide hormone
หน้าที่
กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลาาิาบนผิวหนัง (Melanogenesis)
เซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย
เซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocytes)
ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin)
หน้าที่
มีผลโดยตรงที่กล้ามเนื้อเรียบของมดลูกและเต้านม โดยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม กระตุ้นการคลอด
การกระตุ้นที่สำคัญ
การดูดนม(Sucking reflex)
การแตะสัมผัส
ด้านจิตใจ
ชนิดของฮอร์โมน
Peptide hormone
เซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย
กล้ามเนื้อมดลูกและกล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนม
ฮอร์โมนควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย (Antidiuretic Hormone ,ADH)
ชนิดของฮอร์โมน
Peptide hormone
หน้าที่
กระตุ้นการดูดน้ำกลับ เพื่อรักษาสมดุลของน้ำ
เซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย
ท่อไตรวม (Collecting duct)
ชนิดและการทำงานของฮอร์โมนต่อมไทรอยด์
ลักษณะคุณสมบัติ
วางตัวทางด้านในผิวทาบไปกับกล่องเสียงและหลอดลม
มีสีน้ำตาลเพราะมีเลือดมาเลี้ยงมาก อยู่ที่ส่วนล่างช่องคอทางด้านหน้าตรงกับกระดูกสันหลังส่วนคอ ตั้งแต่ C6-T1
ประกอบด้วยกลับซ้ายและกลีบขวา ส่วนคอดเรียกว่า Isthmus
กลุ่มเซลล์ที่จัดตัวเป็นวงรูปผีเสื้อ (A butterfly - shaped organ)
Follicular cell บรรจุสารเรียกว่า colloid หลั่งฮอร์โมน Thyroxine (T4) & Tri-iodนthyronine (T3)
Parafollicular cell or Clear cell (C-cell) หลั่งฮอร์โมน Calcitonin
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)
ชนิดของฮอร์โมน
Amine hormone
Tri-iodothyronine(T3)
Thyroxin or Tetra-iodothyronine(T4)
หน้าที่
ควบคุมอุณหภูมิกาย
ควบคุมอัตราการเผาผลาญสารอาหารต่างๆในร่างกาย(Basal metabolic rate)
ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)
แคลซิโทนิน (calcitonin)
ชนิดของฮอร์โมน
Peptide hormone
หน้าที่
ลดระดับแคลเซียมในเลือด
เซลล์และอวัยวะเป้าหมาย
Parathyroid glands
Kidneys
Bone
GI tract
ชนิดและการทำงานของฮอร์โมนพาราไทรอยด์
ฮอร์โมนพาราไทรอยด์(Parathyroid hormone, PTH)
ชนิดของฮอร์โมน
Peptide hormone
หน้าที่
เพิ่มระดับแคลเซีมในเลือด
เซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย
GI tract
Bone
Kidneys
ชนิดและการทำงานของฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์ (Reproductive hormones)
อวัยวะสืบพันธุ์และรก(Gonads and Placenta)
เพศชาย (Male)
Testes →Leydig cells →Testosterone
กระตุ้น Secondary sex characteristics
ควบคุมและกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย
กระตุ้นกระบวนการ Spermatogenesis
เพศหญิง (Female)
Ovary →Follicle →Estrogen
ควบคุมและกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย
กระตุ้นกระบวนการ Ovulation
กระตุ้น Secondary sex characteristics
Ovary →Corpus luteum →Progesterone
กระตุ้นการพัฒนาของเต้านมและมดลูกเพื่อรองรับการตั้งครรภ์และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกาย