Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพและมารดาหลังคลอด - Coggle Diagram
การประเมินภาวะสุขภาพและมารดาหลังคลอด
Problem list
Day 0
1.4ชม.หลังรับใหม่มารดามีน้ำคาวปลา Lochia rubra 50 ml 2.มารดาอาการปวดแผลมดลูก pain score = 2 คะแนน
3.มารดาวิตกกังวลเรื่องบุตรน้ำหนักตัวน้อยและคลอดก่อนกำหนด
4.มารดาเสี่ยงพลัดตกหกล้มเนื่องจากมีอาการอ่อนเพลีย
การวางแผนการจำหน่ายมารดาและทารกตามหลัก
D-METHOD
D-DIAGNOSIS อธิบายมารดาให้เข้าใจเกี่ยวกับอาการและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จะเริ่มกลับคืนมาสู่สภาวะปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเหมือนเดิมได้ เช่น ท้องลาย รูปร่าง การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลังคลอดใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะหยุดการเปลี่ยนแปลง
M-MEDICATION คือ มารดาหลังคลอดต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับยาที่ได้รับตามแผนการรักษาของแพทย์ คือNATARAL TAB.30 Vitamin +Mineral For Pregnancy tab.30
รับประทานครั้งละ 1เม็ดวันละ1ครั้งหลังอาหารเช้า
วิตามินและแร่ธาตุเสริมความต้องการระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด
Paracetamo 500 mg 1 เม็ด เมื่อมีอาการปวดหรือมีไข้
E-ENVIRONMENT ให้ความรู้มารดาหลังคลอดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยภายในบ้านให้สะอาดดูแลเรื่องสุขอนามัยเช่น ของใช้ส่วนตัวของสมาชิกในครอบครัว มารดาและทารก ควรแยกทำความสะอาดเลี่ยงการติดเชื้อจากส่วนอื่น วางสิ่งของจำเป็นไว้ใกล้ตัวสะดวกต่อการหยิบจับ จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของมารดาและทารก
T-TREATMENT มารดาและคูรอบครัวต้องเข้าใจเป้าหมายของการดูแลรักษาและให้คำแนะนำในทักษะที่จำเป็นกับมารดาในการดูแลทารก เช่น การเฝ้าระวังอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับมารดา มีไข้สูง แผลที่ปากมดลูก บวม แดง มีสารคัดหลั่ง น้ำคาวปลายังไม่หมดภายใน 2สัปดาห์หรือออกมากหลังจากนั้น มดลูกไม่หดรัดตัว หมั่นวัดระดับยอดมดลูก ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
การให้นมบุตร น้ำนมแม่ มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนที่เหมาะสม มีภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อต่าง ๆ สะอาด ลดอาการท้องผูกในเด็ก และช่วยลดภาวะการตกเลือดหลังคลอด มดลูกแห้งเร็ว หน้าท้องจะลดลงเป็นปกติได้เร็ว ทรวดทรงเข้าที่ได้เร็ว
ท่าอุ้มในการให้นม ควรนั่งเก้าอี้อยู่ในท่าสบาย ทั้งแขนและหลัง เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง และอาการอ่อนล้าจากการให้นมบุตร ในบางกรณีคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ นมผงดัดแปลงสำหรับทารก (Infant Formula) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
การเก็บนม ในคุณแม่ซึ่งมีน้ำนมมากหรือต้องกลับไปทำงานอาจมีปัญหาในการเก็บรักษา ปกติแล้วนมแม่สามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 6 ชั่วโมงในตู้เย็นธรรมดา 24 ชั่วโมงในช่องแข็ง 2 สัปดาห์ ในตู้แช่แข็งประมาณ 3 เดือน เมื่อเราต้องการใช้น้ำนมแช่แข็งเลี้ยงทารก หลังจากละลายแล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็น 12 ชั่วโมง
H-HEALTH มารดาหลังคลอดและครอบครัวต้องเข้าใจภาวะสุขภาพของตนเองว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้างและต้องดูแลตนเองอย่างไร
O-OUTPATIENT REFERAL การอธิบายความสำคัญของการตรวจตามนัดให้ผู้ป่วยมาตรวจนัดตามที่แพทย์ระบุคือ12 สัปดาห์ วันที่ ......
D-DIET แนะนำ อาหารหลังคลอดที่มารดาควรรับประทานเช่นอาหารที่มีกากใยสูงีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำอุ่มหรือน้ำขิงเพื่อเบาเทาการปวดมดลูก และควรหลีกเลี้ยงอาหารหมักดอง อาหารรสจัด
การคุมกำเนิด
ก่อนคลอด : ไม่ได้คุมกำเนิด 3 ปี
หลังคลอด : มารดาต้องการจะทำหมัน แต่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า
•Post-partum sterilization เป็นการทำหมันหลังคลอด ถือเป็นช่วงเวลาการทำหมันหญิงที่ทำมากที่สุด โดยสามารถทำได้พร้อมกับการผ่าตัดคลอด หรือทำภายหลังไม่กี่วันจากคลอดทางช่องคลอด โดยทั่วไปแนะนำให้ทำภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังคลอด
•Interval sterilization คือการทำหมัน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ (หลังคลอดไปแล้วมากกว่า 6 สัปดาห์) หรือเรียกว่า “การทำหมันแห้ง”
การแนะนำผู้ป่วยก่อนทำหมัน (Pre-operative counseling)
-ผู้หญิงที่จะทำหมันควรได้รับคำปรึกษาก่อนทำหมันทุกราย ถึงความคาดหวัง ข้อดีข้อเสียของการเลือกทำหมันแต่ละวิธี รวมถึงประเมินความแน่ใจที่จะคุมกำเนิดแบบถาวรหรือซักหาปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนใจหรือการตัดสินใจผิดพลาดภายหลังหลังจากทำหมันไปแล้ว
-ผู้หญิงที่ต้องการทำหมัน ควรทราบว่าการทำหมันไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้100% ประสิทธิภาพของการทำหมันขึ้นอยู่กับแต่ละวิธิที่ทำ
-การทำหมันเป็นวิธีคุมกำเนิดแบบถาวร การผ่าตัดแก้หมัน(sterilization reversal) สามารถทำได้แต่ ค่อนข้างมีข้อจำกันและไม่ได้ประสบความสำเร็จในการแก้หมันทุกราย
-อธิบายข้อดีข้อเสียเปรียบเทียบกับการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นๆ ที่สามารถคุมกำเนิดได้ยาวนานเช่น การทำหมันชาย, การใช้กลุ่ม long acting reversible contraceptive methods (LARC) เช่น การใส่ห่วงคุมกำเนิด,การใช้ยาฝัง เป็นต้น
-ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก (ectopic pregnancy)
การคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน วิธีคุมกำเนิดที่ใช้ควรเป็นชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจนชนิดเดียว เนื่องจากไม่มีผลต่อปริมาณหรือคุณภาพของน้ำนม ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของทารก สามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ : สัปดาห์หลังคลอด มีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ดีกว่าถุงยางอนามัย แต่ขณะที่ใช้การคุมกำเนิดวิธีนี้ระดูมักไม่สม่ำเสมอ บางรายระดูมาห่างๆ บางรายไม่มีระดู ซึ่งเป็นผลข้างเคียงปกติจากฮอร์โมน ไม่มีผลต่อสุขภาพหรือความสามารถในการเจริญพันธุ์ เมื่อหยุดใช้
ยาระดูจะกลับเป็นปกติ
1) ยาฉีดคุมกำเนิดชนิด 3 เดือน สามารถฉีดยาได้ที่สถานพยาบาลทั่วไป
2) ยาฝังคุมกำเนิด มีประสิทธิภาพคุมกำเนิดสูง สามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดยา แพทย์เป็นผู้ฝั่งยาให้ที่ใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขนด้านใน หลังเอายาออก สามารถกลับมาตกไข่ได้เร็วกว่ายาฉีดคุมกำเนิด
3) ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจนชนิดเดียว เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ง่าย การ กินยาชนิดนี้ควรกินให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ ถ้าลืมกินยามีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่าย เนื่องจากฮอร์โมนมีขนาดต่ำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 มารดามีโอกาสตกเลือดในระยะ24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
•Blood loss ที่ห้องคลอด 50 ml
• น้ำคาวปลาใน4 ชั่วโมงแรก 50 ml
• มารดาตั้งครรภ์เป็นครรรภ์ที่ 5
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันไม่ให้มารดาเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
เกณฑ์การประเมิน
-ไม่มีการและอาหารของภาวะซีด เช่น เยื่อบุตา ริมฝีปาก หรือผิวหนังซีด
-สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
-อุณหภูมิร่างกาย 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
-ชีพจร 60-100 ครั้ง/นาที
-อัตราการหายใจ 16-22 ครั้ง/นาที
-ความดันโลหิต systolic 90-140 mmHg Diastolic 60-90 mmHg
O2 saturation >95%
-Blood loss 24 ชม.ไม่เกิน 500 ml.
กิจกรรมการพยาบาล
-ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
-ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะซีดเช่น เยื่อบุตาตาริมฝีปากหรือผิวหนังซีด
-ประเมินประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
-กระตุ้นให้มารดาปัสสาวะเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่างลดการขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
-กระตุ้นให้ลูกเข้าเต้าโดยเร็ว
-แนะนำมารดาให้คลึงมดลูก เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัว
-สังเกตบันทึกลักษณะปริมาณเลือดที่ออกจากช่องคลอด
การประเมิน
-มดลูกหดรัดตัวดี
-ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะซีด
-สัญญาณชีพปกติ
-Bleeding per vagina=50 ml
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 4 มารดามีภาวะไม่สุขสบายเนื่องจากปวดมดลูกในระยะหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาหลังหลังคลอดบอก ปวดมดลูก Pain score 2 คะแนน
วัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาภาวะไม่สุขสบายของมารดา
เกณฑ์การประเมิน
-มารดาหลังคลอดปวดมดลูกมดลง
กิจกรรมการพยาบาล
-ประเมินอาการปวดจากการสังเกตและซักถามมารดาหลังคลอด -ใช้ถุงประคบร้อน เพราะถุงร้อนจะช่วยทำให้การหมุนเวียนเลือดดีขึ้น ช่วยทำให้มดลูกคลายตัว
-นอนในท่าที่คุณแม่รู้สึกสบายเพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวด โดยอาจใช้หมอนช่วยพยุงก็ได้
-อธิบายถึงสาเหตุการเจ็บป่วย ถ้ามีอาการปวดมากให้ยา Paracentamol (500mg) q 6 hrs
-ชวนคุยหรือให้คำแนะนำเพื่อเบี่ยงเบนความเจ็บปวด จากความไม่สุขสบายทำให้คลายกังวลเเละสบายใจมากขึ้น
ประเมินผล
มารดาปวดมดลูกลดลง สีหน้าดีขึ้น รู้สึกกังวลลดลง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 3 มารดามีความวิตกกังวล เนื่องจากบุตรน้ำหนักตัวน้อยและคลอดก่อนกำหนด
ข้อมูลสนับสนุน
-มารดา ถามว่า บุตรอยู่ที่ไหนและอาการเป็นยังไงบ้าง
-มารดามีสีหน้าวิตก กังวล
วัตถุประสงค์
เพื่อลดความวิตกังวลของมารดา
เกณฑ์ประเมินผล
-มารดาคลายความวิตกังวลโดยสังเกตจากสีหน้า ท่าท่าง อารมณ์
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายให้มารดาทราบถึงสาเหตุที่ทารกต้องไปอยู่หออภิบาลทารกแรกเกิด และแจ้งให้ทราบว่าทารกอยู่ที่ใด แจ้งเวลาที่สามารถไปเยี่ยมทารกได้โดยใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล
2.อธิบายการดูแลรักษาของแพทย์ให้มารดาทราบ เพื่อคลายความวิตกกังวล
3.เปิดโอกาสให้มารดาซักถามและระบายความรู้สึก พร้อมทั้งให้กำลังใจและให้ความมั่นใจว่าทารจะได้รับการรักษาอย่างเต็มความสามารถ
การประเมินผล
มารดาคลายความวิตตกกังวล มีสีหน้าที่สดชื่น ไม่กังวล
2.เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากอ่อนเพลีย
ข้อมูลสนับสนุน
-มารดามีอ่อนเพลียหลังคลอด
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของมารดาหลังคลอด
เกณฑ์การประเมินผล
มารดาไม่มีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม Fall score=0
กิจจกรรมการพยาบาล
1.ให้มารดาพักผ่อนบนเตียงและไม่ให้ลุกจากเตียงโดยเร็วเกินไป หากต้องการลุกเดินไปเข้าห้องน้ำ ต้องให้มีคนพาไป เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
2.ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมให้สะดวกต่อการใช้งานของมารดา แสงสว่างเพียงพอ
3.ถ้ามารดาปัสสาวะบนเตียงให้เสิร์ฟ bed pan และกั้นม่านให้เรียบร้อย
4.ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังให้การพยาบาล จนกว่ามารดาจะมีแรงช่วยเหลือตัวเองได้
การประเมินผล
มารดาไม่มีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม Fall score=0
ยา
NATARAL TAB.30
Vitamin +Mineral For Pregnancy tab.30
รับประทานครั้งละ 1เม็ดวันละ1ครั้งหลังอาหารเช้า
วิตามินและแร่ธาตุเสริมความต้องการระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด
ผลข้างเคียง : อาจทำให้อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องผื่นแดงอาเจียนท้องผูกหรือท้องเสีย
Paracetamol 500 mg.tab
รับประทานครั้งละ1เม็ด ทุก6 ชั่วโมง หรือเมื่อปวด
เพื่อบรรเทาอาการปวด
ผลข้างเคียงไม่สบายท้องคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระมีสีดํา มี จุดแดงเล็กๆขึ้นตาม ผิวหนัง เหนื่อยง่าย
การประเมินภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอด ( 13B )
1.Background
ภูมิหลังของมารดาทั้งหมด
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ปฏิเสธการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน 3 วันก่อนมา รพ.เจ็บครรภ์ไม่มีน้ำเดิน มีมูกเลือด เจ็บครรภ์ทุก 8 นาที นาน 30 วินาที พักแล้วดีขึ้น ไม่มีร้าวไปที่อื่น ไม่มีปวดหัว ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ลูกดิ้นดี 2 ชม.ก่อนมา รพ. เจ็บครรภ์ถี่ขึ้น I= 3-5 นาที D=40 sec ปวดร้าวไปที่หน้าขา ปวดเบ่ง ไม่มีปัสสาวะ แสบขัด ไม่มีถ่ายเหลว ลูกดิ้นดี
ข้อมูลส่วนบุคคล : มารดาหลังคลอด เตียง 17 อายุ 29 ปี
สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ
ประกอบอาชีพแม่บ้าน สามีประกอบอาชีพรับเหมา
อาศัยอยู่ บ้านเช่า 2 ชั้น
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ทราบ BMI 17.7 kg/m2 (ต่ำกว่าเกณฑ์) น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 40 kg ส่วนสูง 150 cm. น้ำหนักปัจจุบัน 47 kg. TWG 7 kg (น้ำหนักควรขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 12.5-18 )
ไม่มีโรคประจำเดือน ไม่แพ้ยา ไม่แพ้อาหาร
ประวัติการตั้งครรภ์และประวัติการคลอด
G1 ปี 52 คลอดทารกเพศหญิง Preg 6 เดือน NL Preterm น้ำหนัก 1280 กรัม ที่ รพ.นพรัตน์ ปัจจุบันมีชีวิตอยู่
G2 ปี 57 คลอดทารกเพศชาย Preg 40 week NL น้ำหนัก 3000 กรัม มีชีวิตอยู่
G3 ปี 60 Spontaneous Abortion อายุครรภ์ 3 เดือน ขูดมดลูกที่ รพ.กรุงเทพ
G4 ปี 62 คลอดเพศชาย Preg 40 week NL น้ำหนัก 2998 กรัม ที่ รพ.บ้านแพง มีชีวิตอยู่
ประวัติการฝากครรภ์
G5P3A1 GA 34+1 wks ฝากครรภ์ครั้งแรก GA16+6 wks EDC by date 12/04/65 total ANC 4 ครั้ง
ANC risk Preterm
10/ต.ค /64 Hb 11.2 % (ไม่ต่ำกว่า 11 %) Hct 38 %(ไม่ต่ำกว่า 33%)
อาการสำคัญ เจ็บครรภ์คลอด เวลา 4.00 น.มีมูกเลือด
2.Body condition
• ศีรษะ: ผมสีดำ ศีรษะสะอาด ไม่มีรังแค
•ตา : conjunctiva สีแดง ไม่ซีด
• จมูก : เยื่อบุในโพรงจมูกไม่บวม ไม่คัดจมูกไม่มีสิ่งคัดหลั่ง
• คอ : ต่มอน้ำเหลืองไม่โต ไม่มีต่อมไทรอยด์โต ไม่มีก้อน กดไม่เจ็บ
•ทรวงอกและปอด : อกไม่บุ๋ม สมมาตรกันทั้ง2ข้าง ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ
•เต้านมและหัวนม : เต้านมไม่คัดตึง น้ำนมไหล +1 ทั้ง2ข้าง
•หน้าท้อง : ไม่มีแผล
• แขนขา : แขนและขาเคลื่อนไหวได้ปกติ motor power grade 5
3.Body temperature &blood pressure
สัญญาณชีพ Day 0
เวลา 10.15 น.
BT=37 องศาเซลเซียส
PR=82 bpm
RR=18
BP=1119/60 mmHg
PS=2
สัญญาณชีพ Day 1
13.Belief
ไม่มีความเชื่อที่ขัดกับแผนการรักษาของแพทย์
มารดาจะเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตนเองจนครบ6เดือน
4.Breast and Lactation
Day 0 (2/3/65)
ไม่มีคัดตึงเต้านม ลานนมนิ่ม น้ำนมไหล+1
Day 1 (3/3/65)
5.Belly and Fundus
Day 0
ยอดมดลูกอหดรัดตัวดีอยู่ระดับเท่ากับสะดือ
วัดยอดมดลูก=5 นิ้ว
6.Bladder
Day 0
ปัสสาวะได้เอง สีแดงจางๆ ไม่มีแสบขัด
7.Bleeding and Lochia
Day 0
น้ำคาวปลา rubra สีแดง 180 ml/8 hr.(เวรเช้า)
8.Bottom
ไม่แผลฝีเย็บเนื่องจากคลอดเองเป็นครรภ์ที่5
9.Bowel movement
Day 0
รับประทานอาหารปกติ
ไม่มีอาการท้องอืด
10.Blue
มารดามีความกังวลเล็กน้อยเกี่ยวกับทารก
เนื่องจากไม่เห็นหน้าทารกตอนคลอด และทารกมีน้ำหนักน้อย
11.Baby
ทารกเพศชาย คลอด วันที่ 2 มีนาคม 2565 เวลา06.56 น.
น้ำหนัก 2125 กรัม ความยาว 47.5 เซนติเมตร
Apgar score 9,10,10
No problem at birth
12.Bonding and Attachment
มารดามีความสนใจทารกดี สอบถามเวลาที่สามารถไปเยี่ยมทารก
การแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน
ด้านมารดา
1.อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์
-มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ
-น้ำคาวปลา เอาปลามีกินเหม็น สีไม่จางลง ปวดท้องน้อย
-หลังคลอดสองสัปดาห์ยังคลำพบมดลูก
-ปัสสาวะแสบขัด
-ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
-ฝีเย็บบวมแดงมีหนอง
-คลื่นไส้ อาเจียน
-เต้านมอักเสบ บวมแดง คัดตึงมาก กดเจ็บ มีไข้ หนาวสั่น
-น่องบวมแดง กดเจ็บ
-ปวดศรีษะรุนแรง ตาพร่ามัว
2.การมาตรวจตามนัด
เพื่อเป็นการติดตามการฟื้นฟูกลับเข้าสู่สภาวะปกติของร่างกายมารดาและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น มดลูก น้ำคาวปลา แผลฝีเย็บ ตรวจประเมินปากมดลูก เต้านม เป็นต้น โดยจะนัดเพื่อพบแพทย์ 6 สัปดาห์หลังคลอด
3.การดูแลรักษาความสะอาด
แนะนำมารดาอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ไม่ควรแช่น้ำในอ่างเนื่องจาก เชื้อโรคอาจผ่านเข้าสู่แผลฝีเย็บหรือช่องคลอดได้หลังการขับถ่าย แนะนำมารดาล้างให้สะอาดและซับแห้งทุกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการอับชื้นและติดเชื้อ
4.การมีเพศสัมพันธ์ควรงดมีเพศสัมพันธ์ในระยะหลังคลอดอย่างน้อย 6 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะตรวจภายในเสร็จเนื่องจากปากมดลูกยังปิดไม่สนิท แผลที่มดลูกและแผลฝีเย็บยังหายไม่สนิท อาจเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อหากมีเพศสัมพันธ์
5.การดูเต้านม อาบน้ำทำความสะอาดตามปกติ ซับให้เต้านมแห้งเสมอหลีกเลี่ยงการใช้ครีมทาหัวนม เพราะจะไปอุดตันต่อมน้ำนมที่ลานนมแบะอาจทำให้แห้งมากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหัวนมแตก ระวังการอับชื้น
โดยการรักษาหัวนมให้แห้งระหว่างมื้อให้นม สวมยกทรงที่มีขนาดพอดี เพื่อประคองเต้านมถ้ามีเต้านมใหญ่และหนัก
10.การบริหารร่างกายการบริหารร่างกายหลังคลอดชาวยให้ระบบไหลเวียนดีขึ้นและช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและอุ้งเชิงกรานกลับสู่สภาวะปกติเร็วขึ้น
บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานพร้อมกันวิธีบริหาร : นอนหงายซันเข่าขึ้นทั้ง 2 ข้าง สูดหายใจเข้าลึก ๆแขม่วท้องพร้อมขมิบกัน ยกกันให้ลอยเล็กน้อยแต่ให้หลังชิดกับพื้นขณะแขม่วท้องพร้อมหายใจออกเกร็งค้างไว้นับ 1-5 แล้วคลายพร้อมกับหายใจเข้า ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าลดอาการบวมบริเวณขาและเท้าวิธีบริหาร : นอนหงายวางเท้าให้อยู่ในระดับสูงกว่าลำตัวจากนั้นกระดกข้อเท้าขึ้นลงให้สุด ทำติดต่อกัน 15-20ครั้ง/รอบ จนครบ 3 รอบ ควรทำ 3 ช่วงเวลา คือ เช้ากลางวัน และเย็น
ท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและสะโพก กันย้อยและฝีเย็บเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าที่เร็วขึ้นวิธีบริหาร : นอนหงายชันเข่าขึ้น 2 ข้างกดหลังให้แนบกับพื้นพร้อมขมิบกัน แขม่วท้องแล้วยกกันให้ลอยพ้นพื้น เกร็งค้างไว้นับ 1 -10 จึงค่อย ๆวางกันลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
7.ประจำเดือนเนื่องจากเมื่อคลอดบุตรแล้ว อิทธิพลของฮอร์โมนต่างๆจะคงอยู่ระยะหนึ่งทำให้ยับยั้งการตกไข่มารดาจึงไม่มีประจำเดือน กรณีให้นมบุตร :การให้นมอย่างสม่ำเสมอจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนกระตุ้นให้มีการสร้างและหลั่งน้ำนมส่งผลอย่างต่อเนื่องทำให้ไม่มีการตกไข่เกิดขึ้นทำให้มารดาอาจไม่มีประจำเดือน นานถึง 5-6 เดือนระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
8.อาหารแนะนำให้มารดรับประทานอาหารที่มีคุณค่า และปริมาณมากกว่าในระยะตั้งครรภ์เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง และส่งเสริมการหายของแผล ได้แก่1. อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ แต่ไม่ควรติดหนัง2. ควรรับประทานไข่ วันละ 1 ฟอง เนื่องจากมีโปรตีนสูและ มีธาตุเหล็กสูง2. เสริมการรับประทานนม เนื่องจากมีโปรตีนและแคลเซียมสูง3. ควรรับประทานผักและผลไม้ต่างๆ เนื่องจากมีกากใยสูง ช่วยป้องกันภาวะท้องผูกได้4.ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แกั่ว6.อาหารที่ควรงด เช่น อาหารหมักดองง อาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แนะนำอาหารบำรุงน้ำนมเช่น น้ำขิง ฟักทอง มะละกอ ใบแมงลัก แกงเลียง เป็นต้น
10.หลังบีบน้ำนมลงในขวด ปิดฝาขวดให้มิดชิด อาจแบ่งเก็บในปริมาณที่เด็กต้องการใน 1 มื้อ
ปิดป้ายบอกวันและเวลาที่บีบ
ระยะที่ 1 เริ่มทำได้ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันที่ 3 หลังคลอด
ท่าที่ 1 การหายวิธีบริหาร : นอนหงายซันข่า มือ 2 ข้งวางบนหน้าท้อง สูดหายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูกให้ท้องป้อง จากนั้นค่อย ๆ หายใจออกทางปากจนท้องแฟบ ทำซ้ำ 10 ครั้งใจเพื่อบริหารปอด
ท่าที่ 2 บริหารไหล่และแขน เพื่อให้กล้ามเนื้อทรวงอก ไหล่ และแขนแข็งแรง วิธีบริหาร : นั่งคุกเข่า วางก้นลงบนนเท้าให้เข่าชิดกัน หลังตรง ประสานมือ 2 ข้างด้านหน้าและคว่ำมือ จากนั้นค่อย ๆ พลิกมือพร้อมยกมือขึ้นหนือศีรษะ หายใจข้และกลั้นไว้ นับ 1-10 ค่อย ๆ ลดมือลงพร้อมหายใจออก ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 บริหารกล้ามนื้อหน้าท้อง กันย้อย และบริเวณฝีย็บ เพื่อให้มดลูกเข้าที่เร็ว วิธีบริหาร : นอนหงายชันเข่าขึ้น 2 ข้าง กดหลังให้แนบกับพื้นพร้อมขมิบกัน แขม่วท้อง แล้วยกกันให้ลอยพ้นพื้น เกร็งค้างไว้นับ 1 -10 จึงค่อย ๆ วางกันลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ระยะที่ 2 เริ่มทำได้ตั้งแต่วันที่ 3 หลังคลอดเป็นต้นไป เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้มเนื้อหน้าท้อง ควรเริ่มโดยใช้แรงน้อย ๆ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มการออกแรงมากขึ้น โตยยังคงทำท่าบริหารในระยะที่ 1 และเพิ่มท่าบริหารในระยะที่ 2 ดังต่อไปนี้
ท่าที่ 1 บริหารเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและไหล่
วิธีบริหาร : ยืนหันหน้าข้หาผนัง เท้าทั้ง 2 วางห่างกันประมาณช่องกว้างของไหล่ ปลายเท้าชี้ไปทางผนัง ใช้ฝ่ามือดันผนังที่ระดับไหล่ งอข้อศอก ลำตัวโน้มเข้าหาผนัง เท้าต้องวางแนบพื้น ออกแรงดันผนัง เกร็งค้างไว้พร้อมกับหายใจออก นับ 1-5 แล้วคลายการเกร็ง ถอยออกจากผนังพร้อมกับหายใจเข้า ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานพร้อมกัน วิธีบริหาร : นอนหงายซันข่ขึ้นทั้ง 2 ข้าง วางมือบนหนท้องไว้กันคล้ายกอดอก สูดหายใจเข้าคึก ๆ แขม่วท้องพร้อมขมิบก้น ยกก้นให้ลอยเล็กน้อย แต่ให้หลังชิดกับพื้นขณะแขม่วท้องพร้อมหายใจออก เกร็งค้างไว้นับ 1-5 แล้วคลายพร้อมกับหายใจเข้า ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 บริหารกล้ามนื้อหน้าอก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและกระชับกล้ามเนื้อ วิธีบริหาร : นั่งขัดสมาธิ หลังตั้งตรง ยกมือ 2 ข้างพนมเข้าหากันห่างอกเล็กน้อย ดันฝ่ามือทั้ง 2 ข้างเข้าหากัน เกร็งกล้ามนื้อบริเวณหนอกและดันแขนให้มากที่สุด ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 10 ครั้ง
11.เทคนิคการบีบน้ำนม
1.ล้างมือให้สะอาด
2.ควรบีบน้ำนมในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ผ่อนคลาย จะทำให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
3.ประคบด้วยน้ำอุ่น 5 นาที ก่อนบีบนม
4.นวดหรือคลึงบริเวณเต้านมเบาๆด้วยนิ้มือ โดยเริ่มจากด้านนอกวนเข้าหาหัวนม
5.วางนิ้วหัวแม่มือบนขอบนอกของลานนม นิ้วชี้อยู่ตรงข้ามกับนิ้วหัวแม่มือโดยให้ลานนมและหัวนมอยู่ระหว่างนิ้หัวแม่มือกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วอื่นๆประคองเต้านมไว้
6.กดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหาผนังหน้าอก แล้วบีบนิ้วทั้ง 2 เข้าหากัน บีบแล้วปล่อยหลายๆครั้งในตอนแรกน้ำนมอาจจะยังไม่อก แต่ต่อมาถ้าบีบต่ออีก 2-3 นาทีน้ำนมจะเริ่มหยดออกมา
7.หาภาชนะที่สะอาดรองรับ เช่นขวดนมที่ต้มฆ่าเชื้อแล้ว
8.ให้บีบน้ำนมออกจนเกลี้ยงเต้าทั้ง 2 เต้า
9.ไม่ควรใช้นิ้รูดไปตามผิวหนังบริเวณเต้านมเพราะจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองถลอกและไม่ควรกดูหรือบี้บหัวนม เพราะนั้นมจะไม่ออก และยังอาจุทำให้หัวนมถลอกแตกเป็นแผลได้
10.หลังบีบน้ำนมลงในขวด ปิดฝาขวดให้มิดชิด อาจแบ่งเก็บในปริมาณที่เด็กต้องการใน 1 มื้อปิดป้ายบอกวันและเวลาที่บีบ
11.นมแม่สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องมากกว่า 25องศาเชลเชิยสได้นาน1ชั่วโมง หรือห้องที่น้อยกว่า 25องศาเซลเชียส์ ได้นาน 4 ชั่วโมง และสามารถเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ 3-5 วัน
12.การดูแลเต้านมคัด
-ตึงการประคบร้อนด้วยผ้าชุบน้าอุ่นจัดพื้นโดยร้อบเต้านมก่อนให้นมลูกจะช่วยให้น้ำนมจะไหลได้ดีขึ้นโดยใช้เวลาในการประคบประมาณ 5 -10 นาที
2.หากปวดเต้านมมากสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ เช่นพาราเซตามอลูการนวดเต้านมเบาๆขณะที่ลูกดูดนมจะทาให้มารดารู้สึdผ่อนคลาย และช่วยกระตุ้นทาให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
3.หากลานหัวนมตึงแข็งจะทาให้ลูกดูดนมได้ยากขึ้นการบีบน้ำนมออกจากบริเวณลานหัวนมจะทำให้ลานหัวนมนิ่มทำให้ลูกดูดุนมได้ดีขึ้นให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืนอาจทุก 2 -3 ชั่วโมงหรือเร็วกว้านั้นได้หากลูกต้องการโดยไม่จากัดระยะเวลาการดูดนมของลูกถ้าแม่เจ็บมากจนทนให้ลูกตู้ดนมไม่ไหวอาจงดให้ลูกดูดนมชั่วคราวและระบายน้ำนมออกเรื่อยๆเพื่อคลายความเจ็บจนกว่าอาการเต้านมคัดจะดีขึ้น
4.หลีกเลี่ยงการให้นมเสริมุจากขวดหรือการใช้กหลอกบ่อยเกินไปสวมยกูทรงที่ช่วยพยุงเต้านมหลีกเลี่ยงการสวมยกทรงที่มีขอบลวดหรือคับแน่นเกินไป
5.แนะนำหากมีอาการเต้านมคัดเกิน 2 วัน ควรปรึกษาคลินิกนมแม่
ด้านบุตร
1.การส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตร การเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย6เดือนและหลังหกเดือนควรให้นมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยจนครบอายุ2ปีหรือนานกว่านั้น
หลัหลักการให้นมแม่ 4 ด
1.ดูดเร็ว : ลุกได้ดูดนมแม่หลังคลอดทันที จะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ให้น้ำนมมาเร็วขึ้น
2.ดูดน้อย : การให้ลูกดูดนมบ่อยตามที่ลูกต้องการ คือ หิวเมื่อไหร่ก็ให้ดูดได้ทันทีโดยทารกมั้กจะหิวทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมมา
3.ดูถูกวิธี : ท่าดูดนมที่ถูกต้อง คือ ปลายจมูกชิดูเต้า ปากอมมิดถึงลานนม คางคิดเต้านม
ลูกดูดแรงเป็นจังหวะสม่ำเส้มอ ได้ยินเสียงกลืนเป็นจังหวะ
4.ดูดเกลี้ยงเต้า : การให้นมแม่แต่ละครั้ง จะต้องนานพอจนลูกดูดเกลี้ยงเต้าไปทีละข้าง
เพราะน้ำนมในส่วนหลัง จะมีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อสมองและร่างกาย
2.อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ :
อาการหายใจหอบ รอบปากเขียวคล้ำ
มีไข้สูง >38.0 องศาเซลเชียส ร้องกวน หรือซึม ไม่ดูดนม
-อาเจียนทุกครั้งที่กินนม
-สะดือมีหนองกลิ่นเหม็น
-อุจจาระเหลวมากกว่า 3 ครั้งหรือถ่ายปนมูกเลือด
-มีอาการตัวเขียวขณะกินนมหรือร้องไห้
3.สอนมารดาเรื่องการเข้าเต้า
การเอาหัวนมทารกใส่ปาก โดยใช้นิ้มีอกดคางเบาๆให้อ้าปากและอมให้ถึงลานนม เพราะกระเปาะน้ำนมอยู่
ให้ทารกดูดนมทั้ง2ข้าง ให้เกลี้ยงเต้าทีละข้าง โดยดูดข้างละ 10-15 นาที สลับกันทั้ง2ข้าง เพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมทั้ง 2 ข้าง
หลังทารกดูดนมเสร็จแล้ว ให้ช่วยทารกเรอเพื่อขับลมในกระเพาะอาหารออกในการป้องกันการสำรองนมจะอุ้มพาดบ่าหรือนั่งบนตักลูบหลังเบาๆจนกว่าจะเรอจากนั้นจัดท่าตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง