Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร - Coggle Diagram
แนวคิดการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ความหมาย ความสำคัญ และประเภท ของการวิจัยเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ความหมาย
การวิจัยเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร หมายถึง การศึกษาค้นคว้าในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ทั้งองค์ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย กระบวนการในการผลิต และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อนำผลไปใช้ในการนำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ความสำคัญ
1.ความสำคัญต่อบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมาย
2.ความสำคัญต่อนักส่งเสริม
3.ความสำคัญต่อการพัฒนาช่องทางการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
4.ความสำคัญต่อการพัฒนาองค์ความรู้
5.ความสำคัญต่องานด้านการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
6.ความสำคัญต่อการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ประเภทการวิจัยทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
แบ่งตามแบบการวิจัย
1.การวิจัยเชิงปริมาณ
2.การวิจัยเชิงคุณภาพ
3.การวิจัยแบบผสมผสาน
แบ่งตามการนำไปใช้ประโยชน์ทางการส่งเสริมฯ
1.การวิจัยเชิงปริมาณ
2.การวิจัยเชิงคุณภาพ
3.การวิจัยเชิงผสมผสาน
4.การวิจัยเชิงประเมิน
ลักษณะงานวิจัยเพื่อการส่งเสริมฯ
1.การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
2.การวิจัยเชิงศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study)
3.การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
4.การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R)
ขอบเขตของการวิจัยเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การวิจัยเพื่อการถ่ายทอดวิทยาการ
มีลักษณะเฉพาะที่เป็นกระบวนการในการเผยแพร่วิทยาการไปสู่เกษตรกรเป้าหมาย โดยเป็นการบรรยายลักษณะกระบวนการหรือกิจกรรมการถ่ายทอดที่ต้องการศึกษา การศึกษาเพื่อใช้อ้างอิง ทำนายหรืออธิบายถึงกลุ่มที่มีลักษณะใกล้เคียงกันว่าควรเป็นเช่นใด การพิสูจน์เชื่อมโยงระหว่างกระบวนการกับบริบทที่ศึกษา รวมทั้งการค้นหาตัวบ่งชี้และประเมินการถ่ายทอด โดยขอบเขตของการวิจัยการถ่ายทอดวิทยาการจะมีขอบเขตใกล้เคียงกับแบบจำลองการสื่อสารในงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ตัวอย่าง :
-กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเสริมรายได้และลดค้นทุนการผลิตผักในท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก ต.แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม
-ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี
-การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างแผนกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจให้ชาวนาทำนาแบบเปียกสลับแห้ง โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาชาวนา หมู่ที่ 1 บ้านหนองกรับ ต หนองกุลา อ บางระกำ จ พิษณุโลก
การวิจัยเพื่อพัฒนาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรกรที่สำคัญ
1.การวิจัยเกี่ยวกับสภาพพื้นฐานของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
2.การวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของเกษตรกร
3.การวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อและทัศนคติของเกษตรกร
4.การวิจัยเกี่ยวกับการรวมกลุ่มของเกษตรกร
5.การวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
6.การวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมและการวางตัวของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
7.การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาและช่วยเหลือตนเองของเกษตรกร
ตัวอย่าง
-การวิเคราะห์ศักยภาพของเจ้าหน้าที่เกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อการวางแผนพัฒนาที่เหมาะสม
-บทบาทของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรต่อการส่งเสริมการเกษตรใน อ แม่อาย จ เชียงใหม่
-ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของทายาทเกษตรกรในการสานต่ออาชีพเกษตรใน อ สันป่าตอง จ เชียงใหม่
การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการเกษตร
1.การวิจัยภูมิปัญญา การสร้างภูมิปัญญา คือหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหาทุกด้านของชุมชน
2.งานวิจัยเพื่อพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการทำเกษตรกรรมให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น หรือสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร
3.งานวิจัยเพื่ออนุุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์ในการจัดการการเกษตรแบบยั่งยืน เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.การวิจัยการตลาดและอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร
ตัวอย่าง
-ตัวแบบพยากรณ์ผลผลิตและปริมาณส่งออกยางพาราของประเทศไทย
-ตัวแบบพยากรณ์ราคาทุเรียนหมอนทอง
-ประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของคะน้า
การวิจัยเพื่อพัฒนางานส่งเสริมและพัฒนาการเกตษร
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
1.หัวข้อและปัญหาของการวิจัยมาจากงานประจำของผู้วิจัย
2.ดำเนินการโดยใช้วิธีการตามระเบียบวิจัย
3.ผลของการศึกษาวิจัยที่ได้เกิดเป็นความรู้ใหม่
4.สามารถนำผลของการศึกษาที่ได้นำมาพัฒนางานประจำของผู้วิจัยได้
5.เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน
ตัวอย่าง
-การพัฒนางานเคหกิจเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร
-การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในเขตกลุ่มจังหวัดที่ 9
-การดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานในจังหวัดมหาสารคาม
กระบวนการวิจัยเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การดำเนินการวิจัย
1.สร้างเครื่องมือวิจัย
2.กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.เก็บรวบรวมข้อมูล
4.วิเคราะห์ข้อมูล
5.นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูล
การรายงานและการนำผลการวิจัยไปใช้
1.การจัดทำโครงการวิจัย
2.นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
การเตรียมการวิจัย
1.การกำหนดโจทย์ ปัญหา หัวข้อวิจัย
2.กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
4.กำหนดตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย
5.กำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย
6.ออกแบบการวิจัย
การจัดทำโครงการวิจัย
แนวทางการประเมิน
1.ชื่อโครงการ
2.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
3.วัตถุประสงค์
4.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
5.รูปแบบการวิจัย
6.ระเบียบวิธีการวิจัย
7.ระยะเวลาดำเนินการร
8.งบประมาณ