Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ผู้ป่วยเตียง 15 สามัญชาย โรงพยาบาลสามพราน(ไร่ขิง) …
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ผู้ป่วยเตียง 15 สามัญชาย โรงพยาบาลสามพราน(ไร่ขิง)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่1 ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อราในช่องปาก ข้อมูลสนับสนุน S: ผู้ป่วยมีแผลในช่องปากไม่สามารถรับประทานอาหารได้ O: ผู้ป่วยมีแผลที่เกิดจากเชื้อราในช่องปากรามทั่วทั้งปากและได้รับยา Nystatin ให้รับประทานครั้งละ 5ซีซีทุก6 ชั่วโมง
การอภิปรายการตั้งข้อวินิจฉัย: เนื่องจากพยาธิสภาพของผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ทำให้ยิ่งมีปัจจัยในการเกิดเชื้อราในช่องปากได้ง่ายขึ้นซึ่งการติดเชื้อราในช่องปากหากดูแลไม่ดีหรือถูกละเลยแผลจากเชื้อราในช่องปากก็จะสามารถลุกลามได้ทั่วทั้งปากจนเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
วัตถุประสงค์ของการพยาบาล: เพื่อลดการติดเชื้อราในช่องปากของผู้ป่วย
เกณฑ์การประเมิน 1. ผู้ป่วยมีแผลติดเชื้อราในช่องปากลดลง 2. ผู้ป่วยไม่มีการติดเชื้อราในช่องปากเพิ่มขึ้น
การพยาบาล 1.ประเมินลักษณะของแผลในช่องปากสังเกตลักษณะของแผลในช่องปากเพื่อประเมินลักษณะและความรุนแรงของแผลในช่องปาก 2. ติดตามวัดสัญญาณชีพทุกทุก 4 ชั่วโมงหรือตามความเหมาะสมเพื่อประเมินอาการที่เปลี่ยนแปลงไปของร่างกายที่อาจแสดงถึงการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเช่นมีไข้สูง 3. ให้การดูแลเรื่องความสะอาดของช่องปากและฟัน(Mouth- Care)เพื่อลดการติดเชื้อราของแผลในช่องปาก 4. ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์คือ Nystatin, Fluconazle เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาและรักษาอาการติดเชื้อราในช่องปากของผู้ป่วย 5. ติดตามลักษณะอาการของแผลเชื้อราในช่องปากว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรเพื่อติดตามผลการดูแลรักษาและวางแผนการพยาบาลในครั้งต่อไป
การประเมินผล: ผู้ป่วยมีแผลเชื้อราในช่องปากลดลงผู้ป่วยไม่มีการติดเชื้อราในช่องปากเพิ่มขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2 ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อบริเวณแผลกดทับ ข้อมูลสนับสนุน S: ผู้ป่วยมีแผลกดทับบริเวณก้นกบและหลังจำนวนมาก O: ผู้ป่วยมีแผลกดทับที่มีการติดเชื้อผลการตรวจ infected bad sore มีไข้ตลอดเวลาประมาณ 37.7-39.1 องศาเซลเซียส
การอภิปรายผลการตั้งข้อวินิจฉัย: เนื่องจากพยาธิสภาพของผู้ป่วยที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เป็นผลทำให้เกิดแผลกดทับซึ่งผู้ป่วยที่ติดเตียงเป็นเวลานานมักจะเกิดปัญหาแผลกดทับและการดูแลทำความสะอาดแผลเป็นสิ่งสำคัญที่จะเกิดการติดเชื้อหรือไม่หากปล่อยให้เกิดการติดเชื้อของแผลกดทับนานนานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆเช่นติดเชื้อในกระแสเลือดจนทำให้ใช้ชีวิตได้
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลเพื่อลดการติดเชื้อของแผลกดทับ เกณฑ์การประเมินผล 1. ผู้ป่วยมีสภาพแผลที่ดีขึ้น 2.ผู้ป่วยมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติคือ 36.5-37.4 ศาเซลเซียส 3.ผู้ป่วยมีผล Swab pus from bad sore ปกติ
การพยาบาล 1. ประเมินลักษณะของแผลกดทับรวมถึงสังเกตลักษณะของแผลสีกลิ่นและสารคัดหลังเพื่อประเมินลักษณะของแผลและความรุนแรงของแผล 2. ติดตามวัดสัญญาณชีพทุกทุก 4ชั่วโมงหรือตามความเหมาะสมเพื่อประเมินอาการที่เปลี่ยนแปลงของร่างกายเช่นมีไข้ หายใจเร็ว 3.ดูแลทำความสะอาดแผลด้วยเทคนิคไร้เชื้อและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคเพื่อดูแลให้แผลสะอาดและลดการติดเชื้อของแผลรวมถึงป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 4. ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาคือ cef-3, Azithromycin, Tazocin เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาและรักษาการติดเชื้อของแผลกดทับ 5. ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและผลการตรวจเพาะเชื้อของแผล เพื่อติดตามผลการดูแลรักษาของผู้ป่วย
การประเมินผล 1.ผู้ป่วยมีสภาพแผนที่ดีขึ้น 2. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและผลการตรวจเพาะเชื้อแผลปกติ3. อุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 3 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลอีเล็กโทรไลต์ในร่างกาย ข้อมูลสนับสนุน S: ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ใส่สายยางให้อาหาร (NG tube) O: ผู้ป่วยได้รับสารอาหารทางสาย NG tube คือ 250ml/feed+น้ำตาม 50ml/feed และได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ คือ 0.9% NSS 1000ml rate 80 ml/hr. และมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบค่าอีเล็กโตไลท์ต่ำ
การอภิปรายการตั้งข้อนิจฉัย: เนื่องจากพยาธิสภาพของอาการเจ็บป่วยด้านต่างๆของผู้ป่วยโดยเฉพาะการติดเชื้อราในช่องปากทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารเองทางปากได้ส่งผลให้ค่าอีเล็กโตไลท์ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์: ทางการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและมีภาวะสมดุลย์อีเล็กโตไลท์ในร่างกาย เกณฑ์การประเมินผล 1. ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 2. ผู้ป่วยมีผลตรวทอีเล็กโตไลท์ทางห้องปฏิบัติการปกติคือ Na 135-148mmol/dl , K 3.7-5.3mmol/dl , Cl 98-106mmol/dl.
การพยาบาล 1. ประเมินภาวะขาดสมดุลย์อีเล็กโตไลท์ในร่างกายได้แก่ซึมลงอ่อนเพลียความรู้สึกตัวลดลงเพื่อประเมินอาการของภาวะขาดสมดุลย์อีเล็กโตไลท์ในร่างกาย 2. ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารตามแผนการรักษาคือ BD 250ml/feed+น้ำตาม 50ml/feed และได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ คือ 0.9% NSS 1000ml rate 80 ml/hr. และ MTV 1x2 OD PC,Eilxia Kcl 30mlx1 dose, Nacl 3% 500ml x1 dose เพื่อรักษาสมดุลย์อีเล็กโตไลท์ในร่างกาย Na,K,Cl. และให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 3. ติดตามอาการและอาการแสดงของภาวะขาดสมดุลย์อีเล็กโตไลท์ในร่างกายเช่นซึมลงอ่อนเพลียความรู้สึกตัวลดลงเพื่อติดตามและเฝ้าระวังภาวะขาดสมดุลย์อีเล็กโตไลท์ในร่างกาย 4. ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยเพื่อติดตามอาการหลังการดูแล
การประเมินผล 1.ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายมีภาวะสมดุลย์อีเล็กโตไลท์ในร่างกายไม่มีอาการอ่อนเพลียซึมลงหรือความรู้สึกตัวลดลง 2. ผู้ป่วยมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการค่าอีเล็กโตไลท์ในร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ Na 135-148mmol/dl , K 3.7-5.3mmol/dl , Cl 98-106mmol/dl.
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 เฝ้าระวังภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำผิดปกติ ข้อมูลสนับสนุน S: ผู้ป่วยเป็นเบาหวานมานานหลายปีและเคยมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ O: ผู้ป่วยเป็นเบาหวานนานหลายปีเคยมีอาการตัวเย็นเท้าเย็น วันที่ 20/02/65. ผลตรวจ DTX= 60 mg/dl. และแพทย์สั่งให้ดื่มน้ำหวาน ผู้ป่วยเคยได้รับยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อน้ำตาลสูง
การอภิปรายการตั้งข้อวินิจฉัยเนื่องจากผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานซึ่งสิ่งที่ควรระมัดระวังคือติดตามอาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจสูงหรือต่ำผิดปกติได้ซึ่งการดูแลเฝ้าระวังจึงเป็นสิ่งสมควรอย่างมากในการพยาบาล
วัตถุประสงค์การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ Hypoglycemia และภาวะ Hyperglycemia เกณฑ์การประเมินผล 1.ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติระหว่าง 80-200mg/dl ตามscale ward
ผู้ป่วยไม่มีอาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำคือมือเท้าเย็นใจสั่นซึมลงและไม่มีอาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงคือหิวบ่อยผิวแห้งอ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อยเป็นต้น
การพยาบาล 1. ประเมินอาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำของผู้ป่วยคือเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจะมีอาการมือเท้าเย็นใจสั่นซึมลงชีพจรเบาเร็วและเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะมีอาการหิวบ่อยปัสสาวะบ่อยผิวแห้งอ่อนเพลีย เพื่อประเมินอาการและเฝ้าระวังภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำและวางแผนการพยาบาลที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย 2. แนะนำให้ผู้ดูแลสังเกตุอาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำหากพบความผิดปกติให้ผู้ดูแลรายงานพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำแก่ผู้ป่วย 3. ติดตามผล lap และผลการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย(DTX)หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 80 mg/dl ควรแจ้งแพทย์และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหวานเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงให้พิจารณาให้ยาอินซูลินตามความเหมาะสม(สูงกว่า 200 mg/dl) เพื่อติดตามและให้การพยาบาลที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยในครั้งต่อไป
การประเมินผลผู้ป่วยไม่มีอาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำคือมือเท้าเย็นซึมลงอ่อนเพลียหิวบ่อยปัสสาวะบ่อยผิวแห้งและมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 80-200 mg/dl ตาม scale ward
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 5 เฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตสูงและต่ำผิดปกติ ข้อมูลสนับสนุน S: ผู้ป่วยมีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง O: ผู่ป่วยได้รับยา Metoprolol taitrate เพื่อลดความดันโลหิต
การอภิปรายการตั้งข้อวินิจฉัย: ผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิต ซึ่งโรคความดันโลหิตนั่นสามารถพบได้2แบบคือความดันโลหิตสูงและต่ำ ร่วมกับผู้ป่วยได้รับยา Metoprolol taitrate จึงมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำจากผลของการใช้ยาได้และหากไม่ได้รับยาอาจส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ จึงควรที่จะเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
วัตถุประสงค์การพยาบาล: เพื่อป้องกันภาวะ Hypertension และ Hypotension เกณฑ์การประเมินผล: 1.ความดันโลหิตของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ปกติ 120/80mmHg 2. ผู้ป่วยไม่มีอาการของภาวะความดันโลหิตสูงคือค่าความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg หน้ามืด ใจสั่น 3. ผู้ป่วยไม่มีอาการของภาวะความดันโลหิตต่ำคือค่าความดันโลหิตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 90/60mmHg ปวดศีรษะอ่อนเพลีย มือ-เท้าเย็น ระดับความรู้สึกตัวลดลง
การพยาบาล 1. ประเมินอาการของผู้ป่วยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงหรือต่ำผิดปกติหรือไม่คือเมื่อผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงจะมีค่าBPมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90mmHg หน้ามืดใจสั่นวินเวียนศรีษะหรือเมื่อผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำจะมีค่าBPน้อยกว่าหรือเท่ากับ90/60mmHg อาการอ่อนเพลีย มือ-เท้าเย็น ความรู้สึกตัวลดลงเพื่อประเมินและเฝ้าระวังความดันโลหิตสูงหรือต่ำผิดปกติ 2. ติดตามวัดสัญญาณชีพทุกๆ2-4ชั่วโมง เพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย 3. ดูแลให้ได้รับยาความดันโลหิตสูงตามแผนการรักษาคือ Metoprolol taitrate 100mg/day เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาความดันโลหิตสูงตามแผนการรักษาของแพทย์ 4. สังเกตอาการของภาวะความดันโลหิตต่ำจากผลข้างเคียงของยาMetoprolol taitrate คือ BPต่ำ 90/60mmHg อ่อนเพลียระดับความรู้สึกตัวลดลง เพื่อสังเกตและเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตต่ำจากผลของการใช้ยา 5. ดูแลจัดท่านอนให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายในการนอนหลับพักผ่อน เพื่อป้องกันการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจนเกิดภาวะความดันโลหิตสูง 6. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายคือ BD 250ml/feed x4 feed +น้ำตาม50ml/feed และ 0.9% NSS 1000ml rate 80 ml/hr. เพื่อป้องกันการขาดน้ำและสารอาหารจนทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและความดันโลหิตต่ำ 7. ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการและค่าความดันโลหิตเพื่อติดตามผลของการดูแลรักษา
การประเมินผล: 1.ความดันโลหิตของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ปกติคือ120/80mmHg. 2. ผู้ป่วยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือต่ำผิดปกติคือไม่มีอาการปวดศีรษะอ่อนเพลียมือเท้าเย็นความรู้สึกตัวลดลง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 6 ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ข้อมูลสนับสนุน: S: ผู้ป่วยติดเตียงเป็นเวลานานไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ O: ผู้ป่วยต้องมีผู้ดูแลในการทำกิจวัตรประจำวันให้แก่ผู้ป่วยตลอดเวลา
การอภิปรายการตั้งข้อวินิจฉัย: เนื่องจากผู้ป่วยมีประวัติเจ็บป่วยหลายโลกและมีแผลกดทับจำนวนมากร่วมกับไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆได้และต้องมีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันและดูแลความสุขสบายของผู้ป่วยแทนตัวผู้ป่วยเอง
วัตถุประสงค์การพยาบาล: เพื่อช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย เกณฑ์การประเมินผล: ผู้ป่วยได้รับการดูแลในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างเหมาะสม
การพยาบาล 1. ดูแลเรื่องความสะอาดของร่างกายให้แก่ผู้ป่วยอาบน้ำเช็ดตัวแปรงฟันทำความสะอาดช่องปากและจมูกรวมถึงดูแลเรื่องการขับถ่ายของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีสภาพร่างกายที่สะอาดและป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติมจากความไม่สะอาดของร่างกาย 2. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายทางร่างกายคือพลิกตะแคงตัวให้ผู้ป่วยทุก1-2ชั่วโมง จัดให้มีหมอนหรือผ้าห่มรองบริเวณบาดแผลกูทับและปุ่มกระดูกให้แก่ผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายทางร่างกายไม่กดบริเวณแผลกดทับรวมถึงลดการกดทับของปุ่มกระดูก 3. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายคือ BD 250ml/feed x4 feed +น้ำตาม50ml/feed เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำสารอาหารตามแผนการรักษาที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 4. ดูแลให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยแก่ผู้ดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจสามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การประเมินผล: ผู้ป่วยได้รับการดูแลช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่7 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะข้อติดแข็งเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานาน ข้อมูลสนับสนุน: S: ผู้ป่วยติดเตียงเป็นเวลานานหลายปีและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ O: ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเองได้
การอภิปรายการตั้งข้อนิจฉัยข้อติดแข็งเป็นภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยที่นอนติดเตียงเป็นเวลานานซึ่งเกิดจากข้อต่างๆไม่มีการขยับหรือออกกำลังกายกล้ามเนื้อและบริหารข้อต่างๆเท่าที่ควรการเกิดภาวะข้อติดแข็งในผู้ป่วยจึงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
วัตถุประสงค์การพยาบาล: ผู้ป่วยไม่มีภาวะข้อติดแข็งซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานาน เกณฑ์การประเมินผล: ผู้ป่วยไม่มีภาวะข้อติดแข็งผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวข้อต่างๆได้
การพยาบาล 1. ประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วยว่ามีโอกาสเสี่ยงในการเกิดข้อติดแข็งมากน้อยเพียงใดเช่นไม่สามารถงอแขนหรือขาได้ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดข้อติดแข็งของผู้ป่วย 2. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการกายภาพบำบัดตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดข้อติดแข็ง 3. สอนและให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยในการทำ passive exercise โดยช่วยยกแขนขาและงอแขน-ขาเข้าออกสลับกัน 20 ครั้งโดยทำเช้าและเย็นทุกๆวัน ช่วยยกขาขึ้นลงและงอขาเข้าออกรวมถึงสอนให้ผู้ป่วยเกร็งกล้ามเนื้อที่ยกขึ้นลง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการกายภาพบำบัดและได้รับการดูแลเพื่อลดการเกิดข้อติดแข็งของผู้ป่วย 4. ติดตามและประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วยประจำทุกวัน เพื่อติดตามและประเมินอาการของภาวะข้อติดแข็งที่อาจเกิดขึ้น
การประเมินผล: ผู้ป่วยไม่มีภาวะข้อติดแข็งจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานาน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 8 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดการผลัดตกเตียงเนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ข้อมูลสนับสนุน S: ผู้ป่วยนอนติดเตียงเป็นเวลานานและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ O: ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ต้องมีผู้ดูแลคอยผลิกตัวและดูแลอย่างใกล้ชิด
การอภิปรายการตั้งข้อวินิจฉัย: เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้การพลัดตกเตียงจึงเป็นสิ่งที่ควรดูแลและให้ความสำคัญและระมัดระวังอย่างมากเพราะผู้ป่วยอาจดิ้นหรือพยายามขยับแขนขาเพื่อแสดงสิ่งที่ต้องการต่างๆ จึงมีโอกาสเสี่ยงในการพลัดตกเตียง
วัตถุประสงค์การพยาบาล: ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกเตียง เกณฑ์การประเมินผล: ผู้ป่วยไม่พลัดตกเตียง
การพยาบาล 1. ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกเตียง เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกเตียง 2.ดูแลสิ่งแวดล้อมโดยรอบเตียงของผู้ป่วยให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกเตียงแก่ผู้ป่วย 3. ดูแลนำไม้กั้นเตียงของผู้ป่วยขึ้นทุกครั้งหลังทำการพยาบาลหรือทำหัตถการเสร็จ เพื่อป้องกันการพลัดตกเตียง 4. ดูแลให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงในตำแหน่งที่เหมาะสมไม่ชิดขอบเตียงด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไปเพื่อป้องกันการดิ้นตกเตียงของผู้ป่วย
การประเมินผล: ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกเตียง