Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์การประกันคุณภาพการศึกษา การประยุกต์ใช้ผลการประกันคุณภาพ - Coggle…
วิเคราะห์การประกันคุณภาพการศึกษา การประยุกต์ใช้ผลการประกันคุณภาพ
การประยุกต์ใช้ผลการประกันคุณภาพ
ทำให้ทราบถึงกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นระบบชัดเจนมากขึ้น เป็นผลทำให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน สามารถที่จะนำกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาและวงจรคุณภาพมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน และเป็นภาพรวมที่มีคุณภาพต่องานประกันคุณภาพขององค์กรหรือหน่วยงาน แต่การที่งานในแต่ละด้านจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ องค์กรหรือหน่วยงานจำเป็นที่จะต้องมีความรับผิดชอบในการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ
เพราะวงจรคุณภาพเป็นกรอบกำหนดให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระบบตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน แต่การประเมินหรือการตรวจสอบคุณภาพ ควรต้องมีการปรับให้เป็นระบบเดียวกันในส่วนของหลักฐานการดำเนินงาน และเกณฑ์ที่คิดว่าไม่เหมาะสมก็น่าจะสามารถปรับได้
การวางเเผนพัฒนา
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีบทบาทดังนี้
เป็นทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยได้ออกแบบกิจกรรมการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจะต้องจัดการให้มีมาตรฐานสูงขึ้นไว้ล่วงหน้า บนพื้นฐานเป็นไปได้ในการดำเนินการของสถานศึกษา แผนนี้จึงเป็นเสมือน “แผนที่” หรือ “พิมพ์เขียว” การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่พึงประสงค์
เป็นเครื่องมือสร้างความเชื่อมั่นแก่ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องว่าสถานศึกษาจะสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรได้ โดยดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่จัดทำขึ้น
เป็นเอกสารหลักสำหรับการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในและนอกสถานศึกษา โดยการดำเนินงานของสถานศึกษาจะเป็นไปตามกรอบงานที่แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษากำหนด
การเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการประเมินคุณภาพการศึกษา โดย สมศ.
ข้อดี
สามารถตรวจสอบคุณภาพ และผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สามารถนำผลการประเมินมาจัดทำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน และนำมาใช้ในการตัดสินใจวางแผนพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน
เตรียมความพร้อมในการรับการประเมินจากองค์กรภายนอก เพื่อนำไปสู่การรับรองคุณภาพการศึกษา
5.ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
6.ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
7.ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
ข้อเสีย
คณะกรรมการที่มาประเมินไม่ใช่ชุดเดียวกันอาจทำให้การประเมินไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน
คณะกรรมการที่มาประเมินในแต่ละรอบไม่ใช่คณะกรรมการชุดเดิมอาจทำให้ผลการประเมินไม่ได้มาตรฐานเดียวกันและไม่ทราบข้อมูลพื้นฐานเดิมของโรงเรียน
มาตรฐานและตัวชี้วัดในการประเมินแต่ละรอบไม่เหมือนกันและตัวชี้วัดแตกต่างกันทำให้โรงเรียนมีความสับสนใจการเตรียมข้อมูลรองรับการประเมิน
วิธีการตรวจสอบข้อมูลของคณะกรรมการแต่ละคณะมีมุมมองที่แตกต่างกันจึงทำให้ผลการประเมินไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
ไม่เป็นกันเอง ทำให้ผู้รับการตรวจประเมินไม่สบายใจ และรู้สึกว่ากำลังถูกจับผิด
6.ขาดการสนับสนุนของฝ่ายบริหารหน่วยงานต้นสังกัดก่อนที่จะรับการประเมิน
ไม่มีการแจ้งกำหนดการตรวจประเมินไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และก่อนเข้าไปตรวจประเมิน ต้องแจ้งซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
การประกันคุณภาพ
ประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม