Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลอนามัยโรงเรียน - Coggle Diagram
การพยาบาลอนามัยโรงเรียน
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (Health promoting school)
องค์กรอนามัยโลก(WHO)
คือโรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่ง มั่นคง ที่จะเป็นสถานที่ที่มีสุขภาพอยามัยที่ดี เพื่อการอาศัย ศึกษา และทำงาน
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
โรงเรียนที่มีความร่วมมือร่วมใจกันในพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดีของทุกคนในโรงเรียน
แนวคิดของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
เป็นแนวคิดกว้างขวางและครอบคลุมด้านสุขภาพอนามัยในทุกแง่มุมของชีวิตทั้งในโรงเรียน ชุมชน
นั่นคือความร่วมมือในการผลักดันให้โรงเรียนใใช้ศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อพพัฒนาสุขภาพของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน ตลอดจนครอบครัวและชุมชน
ให้มีความสามารถต่อไปนี้
นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเองและผู้อื่น
ตัดสินใจและควบคุมสภาวการณ์และสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประโยชน์ของการเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
โรงเรียนได้รับรู้แนวทางการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน และขยายผลสู่ชุมชน
นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งจะปลูกฝังให้เกิดการปฏิบัติตนที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพดีตั้งแต่เด็กควบคู่ไปปกับการศึกษา เพื่อให้เด็กมีความมั่นคง เเข็งเเรงดี มีสุข และสร้างสรรค์
ครู ผู้ปกครองและสมาชิกของชุมชนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย เพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดทักษาการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม
การดำเนินงานโรงเรียนเสริมสุขภาพ
การดำเนินงานเพื่อให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามองค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ
นโยบายของโรงเรียน ประกอบด้วย การกำหนดนโยส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนและการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ
การบริหารจัดกาารในโรงเรียน ประกอบด้วย การจัดทำแผนงาน/โรงการส่งเสริมสุขภาพ ครอบคลุมการเฝ้าระวัง
โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการหรือกิจกรรมด้านสุขภาพของโรงเรียน เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนรับรู้กับสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่
4.การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ที่ต้องดำเนินได้แก่
4.1 การจัดการ ควบคุม ดูแล ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพให้ถูกสุขลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
4.2 การจัดสิ่งแวดล้อมทางสังคมในโรงเรียนที่มีผลต่อสุขภาพจิตของทุกคนในโรงเรียนและสะท้อนออกมาให้เป็นความพึงพอใจ
บริการอนามัยโรงเรียน ประกอบด้วย การตรวจสุขภาพนักเรียน การเฝ้าระวังสุขภาพและการจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
สุขศึกษาในโรงเรียน โดยเเนวทางการดำเนินงานในโรงเรียนระดับประถมศึกษาประกอบด้วย
การให้ความรู้และเสริมสร้างเจตนคติตามสุขบัญญัติเเห่งชาติ
การฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะที่จำเป็นที่สอดคล้องกับสุขบัญญัติแห่งชาติ
โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย ประกอบด้วยการดำเนินงานที่สำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่
โภชนาการในโรงเรียน
การสุขาภิบาล
การออกกำลังกาย กีฬา และสันทนาการ
การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม
การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน
บทบาทพยาบาลชุมชนในการบริการอนามัยโรงเรียน
พยาบาลอนามัยโรงเรียน หมายถึง บุคคลที่ดูแลนักเรียนในด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ภาวะการเจริญเติบโต การเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น
โดยพยาบาลอนามัยมีหน้าที่ดังนี้
ช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้อยู่ในระดับตามเกณฑ์มาตรฐาน
ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย
3.ช่วยแก้ไขและจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น
4.ให้บริการจัดการดูแลเป็นรายกรณี
ทำงานร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนและครอบครัว
บทบาทในการให้บริการสุขภาพ
1.การสร้างเสริมสุขภาพ
การตรวจสุขภาพนักเรียน
การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพเบื้องต้น
การป้องกันโรค
การสร้างภูมิคุ้มกันโรค
การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
การป้องกันโรคที่อาจเกิดกับนักเรียน
3.การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการส่งต่อ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การให้การรักษาพยาบาลขั้นต้น
การส่งต่อกรณีฉุกเฉิน
การฟื้นฟูสภาพ
การช่วยทำการฟื้นฟูตามแผนการรักษาของเเพทย์
บทบาทในการสนับสนุนโรงเรียนเพื่อพัฒนาเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
การร่วมจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน
การสนับสนุนทางสื่อวิชาการ และสื่อต่างๆ
การอบรมพัฒนาแกนนำสุขภาพในโรงเรียน
การศึกษาวิจัย
การดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ
การให้บริการอนามัยโรงเรียน
การที่โรงเรียนจัดให้มีบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคน
การเฝ้าระวังสุขภาพ
การตวรจสุขภาพ
การป้องกันโรคและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
การตรวจสุขภาพ
มีทั้งหมด 3 รูปแบบ
การตรวจสุขภาพโดยนักเรียน
ตรวจสุขภาพด้วยตัวนักเรียนเอง
เป็นการตรวจระดับชั้น ป.5- ป.6 และ ม1-6
อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2.การตรวจสุขภาพโดยครู
เป็นการตรวจโดยใช้ 10 ท่า รวมทั้งการชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง และแปลผล
เพื่อสังเกตและตรวจสุขภาพนักเรียนอย่างง่าย
การตรวจสุขภาพนักเรียนโดยครูสามารถปฏิบัติได้ 3 ระยะ
การสังเกตในตอนเช้าก่อนเข้าเรียน
การสังเกตอาการผิดปกติในชั้นเรียน
3.การตรวจสุขภาพเป็นครั้งคราว เดือนละครั้งหรืออย่างน้อยเทอมละครั้ง
3.การตรวจสุขภาพโดยบุคลากรด้านสุขภาพ
การตรวจสุขภาพโดยเเพทย์
การตรวจสุขภาพช่องปากโดยทันตเเพทย์หรือทันตาภิบาล
การตรวจสุขภาพโดยพยาบาล/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
การวัดและวิเคราะห์การเจริญเติบโต
การชั่งน้ำหนัก
การวัดส่วนสูง
การประเมินการเจริญเติบโต
น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ
น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ
การวัดสายตา
การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
หมายถึง การจัดการ ควบคุม ดูแล ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมต่างๆในโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ดีและถูกสุขลักษณะ
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกายแก่นักเรียน
ส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจและอารมณืแก่นักเรียน
ช่วยให้นักเรียนปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติเหตุต่างๆ
ให้นักเรียนมีการปฏิบัติด้านสุขภาพๆด้อย่างถูกต้อง เป็นตัวอย่างที่ดีต่อครอบครัวและชุมชน
การจัดสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน คำนึกถึงหลัก 4 ประการ
ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ
ให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ
ให้เป็นสถานที่ที่นักเรียนได้รับความสุขสบาย เพื่อการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ
ให้เหมาะสมกับสรีรวิทยาของนักเรียนที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต
การสร้างความสัมพันธ์และการประสานงานระหว่างบ้านและโรงเรียน
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างครูและผู้ปกครองนักเรียนในเรื่องการดูแลเด็ก
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนทักษะทางด้านการศึกษาและทักษะการใช้ชีวิตต่าง ๆ
เพื่อส่งเสริมความสามัคคีระหว่างครูและผู้ปกครอง
เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้ทราบถึงพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ของนักเรียนทั้งที่บ้านและโรงเรียน
เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมภายในโรงเรียน
เพื่อช่วยกันรับผิดชอบให้ความรู้ ความเข้าใจแก่นักเรียน เมื่อทางโรงเรียนได้สอนวิชาต่างๆ ทางบ้านต้องเอาใจใส่และช่วยแนะนำ
7.เพื่อให้บ้านและโรงเรียนช่วยกันเอาใจใส่สุขภาพอนามัยของนักเรียน เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
วิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน ควรปฏิบัติดังนี้
ครูหรือกลุ่มครูไปเยี่ยมบ้านนักเรียน
เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมโรงเรียน
ใช้โรงเรียนเป็นสถานบริการชั่วคราวเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข
จัดตั้งสมาคมหรือกรรมการเกี่ยวกับโครงการสุขภาพในโรงเรียน โดยเชิญผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
ครูและนักเรียนร่วมกิจกรรมในชุมชน
การติดต่อให้บ้านและชุมชนทราบกิจกรรมของโรงเรียน
การติดต่อกับแหล่งประโยชน์อื่น ๆ ในชุมชน เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการ
ด้านสุขภาพในโรงเรียน
การตรวจสุขภาพนักเรียนในโรงเรียน 10 ท่า
ท่าที่ 1 ยื่นมือไปข้างหน้าให้สุดแขนทั้งสองข้าง คว่ำมือกางนิ้วทุกนิ้ว
ท่าที่ 2 เป็นท่าต่อเนื่องจากที่ที่ 1 คือ พลิกมือ หงายมือ สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกตเกี่ยวกับ เล็บ ผิวหนัง แผล ผื่น ตุ่มคันหรือความพิการอื่น ๆ เช่นนิ้วเกิน เป็นต้น
ท่าที่ 3 งอแขนพับข้อศอก ใช้นิ้วแตะเปลือกตาด้านล่างเบา ๆ ดึงเปลือกตาด้านล่างพร้อมกับเหลือกตาขึ้นและลง แล้วจึงกรอกตาไปด้านขวาและซ้าย สิ่งที่ผิดปกติที่ควรสังเกตได้แก่ ตาแดง ขี้ตา คันตา ขอบตาล่างแดงมากอักเสบ
ท่าที่ 4 ใช้มือทั้งสองข้าง ดึงคอเสื้อออกให้กว้าง ภายหลังที่ปลดกระดุมหน้าอกเสื้อ แล้วหมุนตัวซ้ายและขวาเล็กน้อยเพื่อจะได้เห็นรอบ ๆ บริเวณคอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกตในเรื่องของโรคผิวหนัง การบวมโตของคอ ซึ่งอาจมลักษณะของไทรอยด์โต เป็นต้น
ท่าที่ 5 สำหรับนักเรียนหญิง ใช้มือขวาเปิดผมไปทัดไว้ที่ด้านหลังหูขวา หันหน้าไปทางซ้ายส่วนนักเรียนชายหันหน้าไปทางซ้ายเท่านั้น
ท่าที่ 6 ในท่าเดียวกันนักเรียนหญิง ใช้มือซ้ายเปิดผมไปทัดไว้ด้านหลังหูซ้าย หันหน้าไปทางขวา ส่วนนักเรียนชายให้หันหน้าไปทางขวาเท่านั้น สิ่งที่ผิดปกติที่ควรสังเกตเช่น เห่า หูน้ำหนวก แผล ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณหลังหู เป็นต้น
ท่าที่ 7 ให้กัดฟันและยิ้มกว้าง ให้เห็นเหงือกเหนือฟันบน และเห็นฟันล่างให้เต็มที่ สิ่งที่ผิดปกติที่ควรสังเกตได้แก่ ริมฝีปากซีดมาก เป็นแผลที่มุมปาก มุมปากเปื่อย เงือกบวมเป็นหนอง ฟันผุ ผิวหนังบริเวณใบหน้า
ท่าที่ 8 ให้อ้าปากกว้างแลบลิ้นยาว พร้อมทั้งร้อง “อา” ให้ศีรษะเอนไปข้างหลังเล็กน้อย สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกตได้แก่ คอแดง เจ็บ หรือเป็นฝ้าขาว ๆ ฟันผุ แผลแดงอักเสบ บริเวณเยื่อบุจมูก มีน้ำมูก ไอ ต่อมทอลซิลโต
ท่าที่ 9 สำหรับนักเรียนหญิง ให้แยกเท้าทั้งสองข้างห่างกัน 1 ฟุต ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับกระโปรงดึงขึ้นเหนือเข่าทั้งสองข้าง ส่วนนักเรียนชายเพียงแยกเท้าทั้งสองข้างให้ห่างกัน 1 ฟุตเช่นกัน
ท่าที่ 10 นักเรียนหญิง ชาย อยู่ในท่าที่ 9 ให้กลับหลังหัน สังเกตด้านหลังบ้างแล้วให้เดินไปข้างหน้าประมาณ 4-5 ก้าว แล้วเดินกลับหันเข้าหาผู้ตรวจ สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกตคือ ความผิดปกติของรูปร่าง การโก่งงอของขา น่อง ความผิดปกติของฝ่าเท้า