Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพูดและการพัฒนาบุคลิกภาพ - Coggle Diagram
การพูดและการพัฒนาบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อการพูด ซึ่งจะทำผู้ฟังรู้สึกประทับใจในตัวผู้พูด บุคลิกภาพในที่นี้ประกอบด้วยบุคลิกภาพใน ได้แก่ นิสัยใจคอ อารมณ์ ความรู้สึก ความรอบรู้ และบุคลิกภาพภายนอก ได้แก่ การแต่งกาย ทรงผม ท่าทางการเคลื่อนไหว การยืน และการนั่ง ดังนั้นผู้พูดจึงควรมีบุคลิกภาพที่ดีทั้งบุคลิกภายนอกและภายใน
บุคลิกภายนอกของผู้พูด
การแต่งกาย
ผู้พูดควรแต่งกายให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนเอง กาลเทศะ และวัยตลอดจนควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดและเหมาะสมกับผู้ฟัง
การใช้เสียง
การพูดที่ดีผู้พูดต้องมีน้ำเสียงที่หลากหลาย และสอดคล้องกับเรื่องที่พูดมีระดับเสียงพอเหมาะที่ผู้ฟังจะได้ยินชัดเจน ใช้เสียงด้วยความนุ่มนวล แจ่มใส ไม่แหบเครอ ออกเสีงควยกล้ำได้ชัดเจน และหลีกเลี่ยงการใช้เสียงในระดับเดียวกันตลอดเวลาที่พูด
ภาษา
ผู้พูดจะต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาได้ดี เช่น ใช้ถ้อยคำที่หลากหลายใช้ภาษาที่มีความชัดเจน ซึ่งต้องอาศัยการค้นคว้า การฝึกฝน การอ่าน และการเรียยรู้จนมีความชำนาญตลอดจนควรใช้ภาษาพูดให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทยใช้ภาษาสนทนาที่สุภาพ หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาแสลงคำหยาบ
อากัปกิริยาท่าทางที่เหมาะสม
จะช่วยสื่อความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้พูดได้มากขึ้น รวมทั้งช่วยเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟังและช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดของผู้พูด
การทรงตัว
ผู้พูดต้องมีการทรงตัวที่ดีทั้งท่ายืนและท่าเดิน โดยควรยืนให้เท้าชิดกันทิ้งน้ำหนักตัวลงที่เท้าทั้งสอง ไม่ยืนเท้าโต๊ะแอ่นหรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนท่าเดิน เช่น การเดินขึ้นเวที การเดินในขณะพูด
การใช้มือประกอบการพูด
โดยปกติจะยกมือในระดับอกหรือหรือสูงกว่านั้น การใช้มือประกอบการพูดเป็นการใช้เพื่อเน้นให้ผู้ฟังประทับใจและจำได้ ซึ่งต้องใช้ให้ตรงความหมายที่พูดและไม่ใช้บ่อยจนเกินไป
การใช้สายตา
ขณะพูดไม่ควรมองจุดใดจุดหนึ่งเพียงจุดเดียว ถ้าผู้ฟังมีจำนวนมากหรือเป็นกลุ่มใหญ่ ควรกวาดสายตาไปยังผู้ฟังกลุ่มต่างๆ ไม่มองข้ามศรีษะผู้ฟัง ไม่มองเพดาน พื้นห้อง หรือมองออกไปนอกห้อง
การแสดงสีหน้า
ขณะพูดควรมีสีหน้าสอดคล้องกับเรื่องที่พูด เช่น พูดเรื่องสนุกควรมีสีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส พูดเรื่องที่เศร้าโศกควรใช้สีหน้าเรียบเฉยไม่ควรหัวเราะหรือยิ้มระหว่างพูด เป็นต้น
บุคลิกภาพภายในของผู้พูด
มีความเชื่อมั่นในตนเอง
ผู้พูดที่ขาดความมั่นใจหรือขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อต้องการแสดงท่าทางประกอบการพูดจะไม่ค่อยกล้าแสดงออก
มีความรอบรู้
ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ มีไหวพริบและเชาว์ปัญญา สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
มีความหนักแน่นและมีสติ
ผู้พูดต้องสามารถควบคุมตัวเองได้ เนื่องจากการพูดแต่ละครั้งผู้พูดต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเมื่อถึงเวลาพูดผู้พูดต้องควบคุมตัวเองและมีสติในการพูด
มีความกระฉับกระเฉง
ผู้พูดที่ดีต้องมีความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว และมีชีวิตชีวา ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงประสบการณ์ในการพูดของผู้พูด ทำให้ผู้ฟังรู้สึกสนุกและมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมไปกับการฟัง
มีความเข้าใจและเห็นใจผู้ฟัง
ผู้พูดที่สามารถพูดจูงใจผู้อื่นได้ ต้องมีความใส่ใจความเข้าใจ และยอมรับผู้อื่น รวมทั้งแสดงความเห็นใจผู้ฟังได้อย่างเหมาะสม
มีความจริงใจ
ผู้พูดที่ดีต้องพูดความจริงและไม่โกหกผู้ฟัง ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงความซื่อสัตย์ทำให้ผู้พูดมีความน่าเชื่อถือและผู้ฟังเกิดความไว้วางใจ
ประเภทของการพูด
การพูดทั่วไป
การพูดในชุมชน
อุปสรรคในการพูด
ผู้พูด พูดไม่เข้าใจ หรือผู้ฟังเข้าใจผิด ตีความผิด วิธีการพูดที่ผิด สื่อสารผิดกาละเทศะ ผู้มีความวิตกกังวล
พรสวรรค์ หรือ พรแสวง
พรสวรรค์ ความสามารถพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะบุคคล เลียนแบบกันไม่ได้
พรแสวง ความสามารถพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดจากการค้นคว้า ฝึกฝน ของบุคคลซึ่งใครๆก็ทำได้
ลักษณะของการพูด
พูดแบบจูงใจหรือชักชวน ปลุกเร้าให้เกิดความรู้สึก
แบบบอกเล่าหรือบรรยาย เช่นการพูด สัมมนา เป็นต้น
แบบบันเทิง เน้นความสนุก ฟังแล้วเพลิดเพลิน