Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
แนวคิด
Anglo-American Model (AAM)
Franco-German Model (FGM)
ความหมาย
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน
การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที อาจเกิดจากภาวะต่าง ๆ เช่น การเกิดโรคในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การบาดเจ็บ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ เป็นต้น
การเจ็บป่วยวิกฤต
Critical care
เพื่อดำรงรักษาชีวิต มุ่งเน้นแก้ไขอาการ ปรากฏในครั้งแรก ประคับประคองให้ความสำคัญกับทุกระบบ
Crisis care
มุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏอันตรายโดยเฉพาะระบบร่างกายที่มีการล้มเหลว เพื่อแก้ไขภาวะล้มเหลว
จึงหมายความหมายถึง การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรง ถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต
อุบัติเหตุ (Accident) อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่คาดหมายมาก่อน ทำให้เกิดการบาดเจ็บตาย และการสูญเสียทรัพย์สินโดยที่เราไม่ต้องการ ถ้ามีอุบัติเหตุขนาดใหญ่เรียกว่า Disaster
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ที่มีอาการหนักรุนแรง ต้องการการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง โดยใช้หลักและกระบวนการพยาบาลที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคาม
ลักษณะทางคลินิก
คลำชีพจรไม่ได้
ความดันโลหิต SBP ต่ำว่า 80 มม.ปรอท หรือ DBP สูงกว่า 130 มม.ปรอท
หยุดหายใจ หายใจช้ากว่า 10 ครั้ง/นาที หรือเร็วกว่า 30 ครั้ง/นาที หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย
ตกเลือด เลือดออกมาก ซีดมาก
ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต
มือเท้าซีดเย็น
อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
ถูกพิษจากสัตว์ เช่น งูหรือสารพิษชนิดต่าง ๆ
ลักษณะของผู้ป่วยวิกฤต
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น ผู้ป่วย Septic shock หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ป่วย Myocardial infraction ต้องการการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ผู้ป่วยที่สามารรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ ผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลว เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
ผู้บาดเจ็บจากสาธารณภัย
กลุ่มอาการหนัก ต้องหาามนอนหรือนั่งมา อาการแสดงยังคลุมเครือต้องใช้การตรวจอย่างละเอียด
กลุ่มอาการหนักมาก หรือสาหัส ต้องการรักษาโดยด่วนหรือช่วยชีวิตทันที กลุ่มผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นกลุ่มที่หมดหวังในการรักษา
กลุ่มอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเดินได้อาจถือว่าอาการไม่หนัก
หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
หลักทั่วไปในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต เช่น การทำแผล การใส่เฝือกชั่วคราว การจัดท่านอนที่เหมาะสม การให้ความอบอุ่นร่างกาย การสังเกตอาการและสัญญาณชีพ
การบันทึกเหตุการณ์ อาการ และการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
เพื่อช่วยชีวิต เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ต้องรีบช่วยหายใจโดยการผายปอด ด้วยวิธีการที่เหมาะสม หรือกรณีบาดแผลเลือดออก ต้องรีบห้ามเลือดทันที โดยวิธีการเหมาะสม
การส่งต่อรักษา
หลักในการพยาบาล
ให้การช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง
ให้การดูแลจิตใจของผู้ป่วยและญาติ อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงปัญหาการเจ็บป่วย การพยาบาลที่จะได้รับ และแนวทางการรักษาต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือ
ทำการคัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วแม่นยำ
มีการนัดหมายผู้ป่วยที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาล
มีการส่งต่อเพื่อการรักษาทั้งในหอผู้ป่วยใน แผนกผู้ป่วยนอกและภายนอกโรงพยาบาล
มีการซักประวัติการเจ็บป่วยและอาการสำคัญอย่างละเอียด ในเวลาที่รวดเร็ว
มีหลักในการอุ้มยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อย่างนุ่มนวล รวดเร็วปลอดภัย
ให้การพยาบาลภายใต้นโยบายของโรงพยาบาล และภายในขอบเขตรับรองกฏหมาย
หลักการพยาบาลตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพงานบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของสภาการพยาบาล พ.ศ.2522
ค้นหาสาเหตุและ/หรือปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ แล้วดำเนินการแก้ไข
ดูแลและรักษาสภาวะของผู้ป่วยให้อยู่ระดับปลอดภัย และคงที่โดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่กำลังคุกคามชีวิตผู้ป่วย
รักษาหน้าที่ต่าง ๆ ของอวัยวะสำคัญของร่างกายให้คงไว้
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและติดเชื้อ
ประคับประคองจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยและญาติ