Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม - Coggle Diagram
การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาด้านพลังงานเป็นปัญหาสําคัญระดับโลกที่ผ่านมามนุษย์ใช้พลังงานอย่างไม่เหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพ จนทําให้แหล่งพลังงานเริ่มร่อยหรอลง
เช่น การใช้พื้นที่ป่าเพื่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ําได้ทําลายระบบนิเวศของป่าไปทั่วโลกการขนส่งน้ํามันก่อให้เกิดมลพิษ
สาเหตุของวิกฤตการณ์พลังงาน
สาเหตุของวิกฤตการณ์พลังงานที่เกิดขึ้นว่ามักมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังนี้
1.1 ประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งแหล่งพลังงานมีไม่เพียงพอ พลังงานจึงมีราคาแพงขึ้น นอกจากนี้ปริมาณการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นจากประชากรโลกทําให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
1.2 ขาดการวางแผนและจัดการ ทําให้การใช้พลังงานไร้ประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่า และขาดแผนแก้ไขผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน
1.3 การใช้เทคโนโลยีมากและไม่เหมาะสม ทําให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ไม่คํานึงถึงการอนุรักษ์พลังงาน
1.4 ขาดการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทําให้ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทั้งหลายร่วมกัน
แนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์พลังงาน
แนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์พลังงานโดยพิจารณาถึงสาเหตุทั้ง 4 ข้อข้างต้น ส่วนใหญ่ใช้มาตรการดังต่อไปนี้
2.1 มาตรการทางเศรษฐกิจ เช่น ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการผลิตและการบริโภคต้องรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
2.2 มาตรการทางกฎหมาย เช่น มีกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กฎหมายด้านภาษีอากร เพื่อจูงใจให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ
2.3 มาตรการการศึกษา เช่น มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม นํามาตรฐาน ISO14000 มาใช้กับโรงเรียน มีกิจกรรมออกค่ายอนุรักษ์พลังงาน กิจกรรมการปลูกป่า ฯลฯ
2.4 มาตรการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เช่น มีการเผยแพร่ความรู้/ข้อมูลทางสื่อมวลชนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนร่วมมือกันประหยัดน้ํา ไฟฟ้า การใช้รถยนต์ร่วม ฯลฯ
2.5 มาตรการทางเทคโนโลยี เช่น ส่งเสริมการคิดค้นพลังงานทดแทน แหล่งพลังงานรูปแบบใหม่ และอุปกรณ์ประหยัดพลังงานต่าง
การอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย
3.1 แนวคิดในการอนุรักษ์พลังงาน
ประเทศไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สําคัญในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน และยังเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิตในภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรม
กระทรวงพลังงานเห็นควรให้ปรับปรุงแผน 4 แผน ได้แก่ (1) แผนอนุรักษ์พลังงาน (2) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (3) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และ (4) แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องตามแผน PDP2018 เพื่อการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรพลังงานที่มีประสิทธิภาพและจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ
3.2. นโยบายที่เกี่ยวข้อง
3.2.1 นโยบายที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศ
3.2.1.1 กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)
ผู้นำ APEC ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ รวมถึง ประเทศไทยได้ประกาศปฏิญญาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางพลังงานและการ พัฒนาพลังงานสะอาด (APEC Leaders’ Declaration on Climate Change, Energy Security and CleanDevelopment)
3.2.1.2 การลดก๊าซเรือนกระจก
ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศโดยประเมินศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย คือร้อยละ 7-20 ภายในปี พ.ศ. 2563 เทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสภาวะปกติ
3.2.2 นโยบายที่เกี่ยวข้องในประเทศ
3.2.2.1 เป้าหมายการลดการใช้พลังงานที่ผ่านมากระทรวงพลังงานเริ่มใช้ดัชนีความเข้มการใช้พลังงาน หรือพลังงานที่ใช้พันตันเทียบเท่าน้ ามันดิบ ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross domestic product; GDP; billionbaht)
3.2.2.2 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีประกาศให้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระยะเวลาครอบคลุมปี พ.ศ. 2561 – 2580 ซึ่งการกําาหนดแผนหรือนโยบายต่างๆ จะต้องสอดคล้องทั้งเนื้อหาและระยะเวลา โดยการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรพลังงานที่มีประสิทธิภาพ
3.2.2.3 แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) จากมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562 ได้เห็นชอบแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายกําลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 20,766 MW และจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน 4,000 MW
3.2.2.4 เป้าหมายการลดการใช้พลังงานปัจจุบัน กระทรวงพลังงานได้ทบทวนค่าพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในอนาคต ซึ่งเป็นการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ เช่น น้ำมันสําเร็จรูปไฟฟ้า เป็นต้น และพลังงานทดแทน เช่น ไม้ฟืน แกลบ พลังน้ำ
3.3. กรอบแนวคิดการจัดทําแผน
สมมติฐานที่ใช้ในการจัดทําแผนอนุรักษ์พลังงานได้บูรณาการกับอีก 4แผนหลักของกระทรวงพลังงาน ได้แก่ (1) แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (2) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (3) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และ (4) แผนบริหารจัดการน้ามันเชื้อเพลิงโดยสมมติฐานการคาดการณ์ ความต้องการพลังงานในอนาคต ประกอบด้วย
(1) กรอบระยะเวลาของแผนมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) โดยกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
(2) ปรับสมมติฐานอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และอัตราการเพิ่ม ของประชากร และค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผน PDP2018
(3) รักษาระดับเป้าหมาย การลด EI ลงร้อยละ 30 ภายในปีพ.ศ. 2580 เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553 โดยมีเป้าหมายในการลดการใช้ปริมาณพลังงานเชิงพาณิชย์ให้ได้ทั้งสิ้น 49,064 ktoe ของปริมาณการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้ายทั้งหมด เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ปัญหาด้านพลังงาน
จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศและสถานการณ์พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินนโยบายด้านพลังงานของประเทศ รวมถึงเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาพลังงานของประเทศ ถึงแม้ว่าประเทศไทยได้มี มาตรการการอนุรักษ์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นมาตรการสําคัญในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์พลังงาน
ปัจจุบันการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่12 (พ.ศ. 2560-2565) มีแนวคิดที่มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-11 โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” รวมทั้ง “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกระดับ เพื่อให้การ พัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปบนทางสายกลาง
เชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง โดยมีการวิเคราะห์อย่าง “มีเหตุผล” และใช้หลัก “ความพอประมาณ” ให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทางวัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ความสมดุลระหว่างความสามารถในการพึ่งตนเองกับการแข่งขันในเวทีโลก ความสมดุล ระหว่างสังคมชนบทกับเมือง เตรียม“ระบบภูมิคุ้มกัน” ด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เพียงพอพร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศ
การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอนต้องใช้ “ความรอบรู้” ใน การพัฒนาด้านต่าง ๆ ด้วยความรอบคอบ เป็นไปตามลําดับขั้นตอน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคมไทย รวมทั้งเสริมสร้าง ศีลธรรม และสํานึกใน“คุณธรรม” จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ และดําเนินชีวิตด้วย “ความเพียร” จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้ พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ