Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 6 ต้นทุนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์ผลแตกต่างวัตถุดิบและค่าแรง - Coggle…
หน่วยที่ 6
ต้นทุนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์ผลแตกต่างวัตถุดิบและค่าแรง
6.1 ความหมายของต้นทุนมาตรฐาน
และต้นทุนตามงบประมาณ
6.1.1 ความหมายของต้นทุนมาตรฐาน
ต้นทุนมาตรฐาน หมายถึง ต้นทุนการผลิตสินค้าที่กำหนดขึ้นล่วงหน้า ทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต ณ ระดับผลิตที่กำหนด ภายใต้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพที่สุด
6.1.2 ความหมายของต้นทุนตามงบประมาณ
ต้นทุนตามงบประมาณ หมายถึง ต้นทุนที่ได้จากการทำงบประมาณการผลิตหรืองบประมาณรายจ่ายไว้ล่วงหน้า หรือเปผ้นการวางแผนการใช้จ่ายเงินในช่วงระยะเวลาหนึ่งในอนาคต โดยพิจารณาจากต้นทุนในอดีต การคาดคะเนเหตุการณ์ และภาวะทางเศรษฐกิจในอนาคต
6.2 ประเภทของต้นทุนมาตรฐาน
6.2.1 มาตรฐานตามอุดมคติ หรือมาตรฐานตามทฤษฎี (Ideal or theoretical Standard) หรือมาตรฐานสมบูรณ์แบบ (Perfection Standard)
กล่าวคือ เครื่องจักรทำงานได้อย่างเต็มกำลัง ต้นทุนมาตรฐานที่กำหนด ณ ระดับนี้ ไม่ได้เผื่อเวลาไว้สำหรับเครื่องจักรเสีย เวลาต้องรอวัตถุดิบ อันเนื่องมาจากความล่าช้าจะทำให้ฝ่ายปฏิบัติงานเกิดความกดดัน
6.2.2 มาตราฐานที่พอปฏิบัติได้ในปัจจุบัน (Current Attsnable or Nomal Standard)
แบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ
1. มาตรฐานที่พอปฎิบัติได้ (practical Standard)
เป็นมาตรฐานที่กำหนด ณ ระดับกำลังการผลิตที่โรงงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้เผื่อเวลาสำหรับอุปสรรคในการทำงานที่อาจเกิดขึ้นได้
2.มาตฐานปกติ (Nomal Standard)
เป็นระดับการผลิตที่ถัวเฉลี่ยจากการผลิตในระยะยาว 3-5 ปี ซึ่งเป็นข้อมูลการปฏิบัติงานในอดีต ที่ได้เผื่อการสูญเสีย การสิ้นเปลือง ไว้ด้วยแล้ว
3. มาตรฐานที่คาดว่าจะผลิต (Expected Standard)
เป็นมาตรฐานที่กำหนด ณ ระดับการผลิตที่กิจการกำหนดหรือคาดคะเนไว้สำหรับการผลิตในงวดบัญชีถัดไป ซึ่งได้เผื่อการสูญเสีย การสิ้นเปลืองไว้เช่นกัน
ุ6.3 ประโยชน์ของต้นทุนมาตฐาน
ช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถประเมินผลการทำงานของฝ่ายปฏิบัติได้
ช่วยในการวางแผนงบประมาณ
ช่วยให้บันทึกบัญชีได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการบันทึกบัญชี
ช่วยในการควบคุมต้นทุน โดยนำผลการปฏิบัติงานมาเปรียบเทียบกับต้นทุนมาตรฐานที่กำหนดไว้
เป็นแนวทางในการตัั้งราคาขาย
6.4 การกำหนดต้นทุนมาตรฐาน
6.4.1 การกำหนดต้นทุนมาตรฐานด้านจำนานและราคา
จะแยกกำหนดเป็น 2 ด้าน คือ
2. มาตรฐานด้านราคา
เป็นการกำหนดมาตรฐานสำหรับวัตถุดิบแต่ละหน่วยหรืออัตราค่าแรงต่อชั่วโมง
1. มาตรฐานด้านจำนวน
เป็นการกำหนดมาตรฐานของจำนวนยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น กำหนดว่าในการผลิตสินค้า 1 หน่วย ใช้วัตถุดิบ 2 กิโลกรัม เป็นต้น
6.4.2 การกำหนดต้นทุนมาตรฐานของวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายการผลิต
1.มาตรฐานวัตถุดิบ (Msterial Standard)
ประกอบด้วย
(1) มาตรฐานด้านจำนวณวัตถุดิบ เป็นการกำหนดจำนวนวัตถุดิบที่ควรใช้ในการผลิตสินค้า 1 หน่วย
(2) มาตรฐานราคาวัตถุดิบ เป็นการกำหนดราคามาตรฐานสำหรับวัตถุดิบที่ซื้อมาผลิต
2. มาตรฐานค่าแรง (Labor Standard)
(1) มาตรฐานจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการผลิต เป็นการกำหนดจำนวนชั่วโมงแรงงานที่ใช้ในการผลิตสินค้า 1 หน่วย
(2) มาตรฐานอัตราค่าแรง เป็นการกำหนดอัตราค่าแรงต่อชั่วโมงแรงงานสำหรับการผลิตสินค้า 1 หน่วย
3. มาตรฐานค่าใช้จ่ายการผลิต
(Factory Overhead Standard)
การกำหนดมาตรฐานของค่าใช้จ่ายการผลิตใช้วิธีการคำนวณเป็นอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน ณ ระดับกำลังผลิตที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
6.5 การวิเคราะห์ผลต่างวัตถุดิบและค่าแรง
เป็นการวิเคราะห์ผลแตกต่างระหว่างต้นทุนมาตรฐานกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ของปัจจัยการผลิตทั้ง 3 ชนิด คือ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต แบ่งเป็น
6.5.1 ผลแตกต่างวัตถุดิบ
ประกอบด้วยผลแตกต่างด้านจำนวนและราคา โดยเปรียบเทียบระหว่างจำนวนวัตถุดิบที่ใช้จริงกับจำนวนวัตถุดิบที่ควรใช้ตามาตรฐาน
6.5.2 ผลแตกต่างค่าแรงงาน
เป็นการวิเคราะห์ผลแตกต่างด้านปริมาณหรือจำนวนชั่วโมงแรงงานทางตรง และด้านราคาหรืออัตราค่าแรง
6.5.3 การบัญชีตามระบบต้นทุนมาตรฐาน
แบ่งการบันทึกบัญชีออกเป็น 2 วิธีคือ
1. วิธีมาตรฐานขั้นต้น
วิธีนี้จะ Dr.งานระหว่างทำ ด้วยวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรงและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และ Cr.งานระหว่างทำด้วยยอดสินค้าสำเร็จรูป
2. วิธีมาตรฐานเดี่ยว
วิธีนี้จะ Dr.วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ในราคามาตรฐาน และ Cr.งานระหว่างทำด้วยยอดสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จ
6.6 การบันทึกบัญชีผลแตกต่างวัตถุดิบและค่าแรง
6.6.1 บันทึกการซื้อวัตถุดิบ
Dr.วัตถุดิบ (จำนวนหน่อยที่ซื้อจริงคูณด้วยราคามาตรฐานต่อหน่วย) Cr.เงินสด/เจ้าหนี้
6.6.2 บันทึกการซื้อวัตถุดิบ
Dr.วัตถุดิบ(จำนวนหน่วยที่ซื้อจริงคูรราคาจริงต่อหน่วย) Cr.เงินสด/เจ้าหนี้