Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม - Coggle Diagram
การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
สาเหตุของวิกฤตการณ์พลังงาน
ขาดการวางแผนและจัดการ
ทําให้การใช้พลังงานไร้ประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่า
และขาดแผนแก้ไขผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน
การใช้เทคโนโลยีมากและไม่เหมาะสม
ทําให้สิ้นเปลืองพลังงาน
โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ไม่คํานึงถึงการอนุรักษ์พลังงาน
ประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้น แหล่งพลังงานมีไม่เพียงพอ
พลังงานจึงมีราคาแพงขึ้น
นอกจากนี้ปริมาณการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นจากประชากรโลก
ทําให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
ขาดการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์
แนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์พลังงาน
มาตรการการศึกษา
มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
มีกิจกรรมออกค่ายอนุรักษ์พลังงาน กิจกรรมการปลูกป่า
มาตรการรณรงค์ประชาสัมพันธ์
มีการเผยแพร่ความรู้/ข้อมูลทางสื่อมวลชนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
ชวนให้ประชาชนร่วมมือกันประหยัดน้ํา ไฟฟ้า การใช้รถยนต์ร่วม
มาตรการทางกฎหมาย
มีกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
กฎหมายด้านภาษีอากร
มาตรการทางเทคโนโลยี
ส่งเสริมการคิดค้นพลังงานทดแทน
แหล่งพลังงานรูปแบบใหม่
มาตรการทางเศรษฐกิจ
ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การผลิตและการบริโภคต้องรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นดว้ย
การอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย
นโยบายที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศ
กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก
ประเทศไทยได้ประกาศปฏิญญาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีเป้าหมาย
ร่วมกันที่จะลดอัตราส่วนของปริมาณพลังงานที่ใช้ต่อผลของกิจกรรม
หรือลดความเข้มการใช้พลังงานลงอย่างน้อยร้อยละ 45 ภายในปีพ.ศ. 2578
การลดก๊าซเรือนกระจก
และพิธีสารเกียวโตเห็นชอบให้ประเทศไทยแสดงเจตจํานง
การดําเนินงานลดก๊าซเรือนกระจก ที่เหมาะสมของประเทศ
ความก้าวหน้าในการดําเนินงานของประเทศไทยต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จัดทําแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนศักยภาพการดําเนินงานตามแผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2564-2573 ซึ่งในการประชุมรัฐภาคีสัญญาฯ มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตาม
ทั้งนี้การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562
ได้มีผู้แทนจากประเทศ ไทยกล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย
เพื่อแสดงจุดยืนในการดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ
ความสําคัญและตระหนักถึงผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงได้มีการบูรณาการเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งในวาระการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง
นโยบายที่เกี่ยวข้องในประเทศ
เป้าหมายการลดการใช้พลังงานที่ผ่านมากระทรวงพลังงานเริ่มใช้ดัชนีความเข้มการใช้พลังงาน
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้กําหนดเป้าหมายการลด EI ลงร้อยละ 25 ในปี พ.ศ. 2573
15 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เห็นชอบเป้าหมายการลด EI ลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2553 หรือประมาณ 51,700 ktoe
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
8 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีประกาศให้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ระยะเวลาครอบคลุมปี พ.ศ. 2561 – 2580
โดยการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรพลังงานที่มีประสิทธิภาพ
การพัฒนาระบบขนส่งเพื่อลดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคม
นําเทคโนโลยีการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน กฎระเบียบ
รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุก
แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018)
ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายกําลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 20,766 MW และจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน 4,000 MW
เมื่อวันที่ 29มกราคม พ.ศ. 2562 มีมติให้ปรับปรุงแผน 4 แผน
แผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก
แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ
แผนอนุรักษ์พลังงาน
แผนบริหารจัดการน้ำเชื้อเพลิง
เป้าหมายการลดการใช้พลังงานปัจจุบัน
กระทรวงพลังงานได้ทบทวนค่าพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในอนาคต
เป็นการ ใช้พลังงานเชิงพาณิชย์
น้ำมันสําเร็จรูป ไฟฟ้า
พลังงานทดแทน
พ.ศ. 2561-2580 ที่จะลดความเข้มการใช้พลังงานลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 เมื่อเทียบกับ ปี พ.ศ. 2553
กรอบแนวคิดการจัดทําแผน
การจัดทําแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 – 2580 (EEP2018)
ได้นําแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558 - 2579(EEP2015)
มาทบทวนและปรับปรุงเพื่อยกระดับความเข้มข้นของการขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พลังงาน
ซึ่งสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทําแผนอนุรักษ์พลังงานได้บูรณาการกับอีก
4 แผนหลักของกระทรวงพลังงาน
แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ
แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
แผนบริหารจัดการน้ามันเชื้อเพลิงโดยสมมติฐานการคาดการณ์
ความต้องการพลังงานในอนาคต ประกอบด้วย
กรอบระยะเวลาของแผนมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20
ปีเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
ปรับสมมติฐานอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และอัตราการเพิ่ม ของประชากร และค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผน PDP2018
รักษาระดับเป้าหมาย การลด EI ลงร้อยละ 30 ภายในปีพ.ศ. 2580 เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553 โดยมีเป้าหมายในการลดการใช้ปริมาณพลังงานเชิงพาณิชย์ให้ได้ทั้งสิ้น 49,064 ktoe
แนวคิดในการอนุรักษ์พลังงาน
กระทรวงพลังงานจึงได้วางกรอบแผนบูรณา
การพลังงานแห่งชาติ ที่ให้ความสำคัญใน 3 ด้าน
ด้านเศรษฐกิจ
ที่ต้องคํานึงถึงต้นทุนพลังงานที่มีความเหมาะสมและไม่เป็นอุปสรรค
การปฏิรูปโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องกับต้นทุน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศไม่ให้เกิด
ด้านสิ่งแวดล้อม
ต้องลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้า
ด้านความมั่นคงทางพลังงาน
ตอบสนองต่อปริมาณความต้องการพลังงานที่สอดคล้อง
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการเพิ่มของประชากร
กระทรวงพลังงานเห็นควรให้ปรับปรุงแผน 4 แผน
แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ
แผนอนุรักษ์พลังงาน
แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องตามแผน PDP2018
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ปัญหาด้านพลังงาน
จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศและสถานการณ์พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป
ได้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินนโยบายด้านพลังงานของประเทศ
มาตรการการอนุรักษ์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นมาตรการสําคัญในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์พลังงาน
แต่เมื่อคิด อย่างรอบด้านแล้วจะพบว่า วิธีการแก้ไขปัญหาตามมาตรการเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ
การอนุรักษ์พลังงานมีความเกี่ยวข้องกับแนวคิด และค่านิยมของสังคมมนุษย์ด้วย
แนวคิดของมนุษย์ หรือ การตัดสินใจในการใช้ชีวิต
รูปแบบการกิน
ความเป็นอยู่และ ความพอใจในการได้รับความสะดวกสบาย
จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงให้มนุษย์เกิดค่านิยมบริโภคนิยมที่ สอดคล้องและรองรับกับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก ที่มุ่งความเจริญเติบโตจากการผลิตและการบริโภคที่ใช้พลังงานมหาศาล
การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของมนุษย์ที่มา
พร้อม ๆ กับ “เศรษฐกิจแห่งการเจริญเติบโต” จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ สําคัญที่มีผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานไฟฟ้า
และพลังงานอื่น ๆ โดยผู้บริโภคมากจะเป็นผู้ใช้พลังงานมาก
จากการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-7 โดยภาพรวมสามารถสรุปได้ว่า
“เศรษฐกิจดีสังคมมีปัญหาการพัฒนาไม่ยั่งยืน”
ระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และสถานการณ์ในขณะนั้นได้สะท้อนผลการพัฒนาประเทศที่ไม่สมดุลและยั่งยืน
เนื่องจากมุ่งการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจเป็นหลัก
สังคมไทยจึงได้ตระหนักและน้อมนําหลัก“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ฉบับที่ 8 มีการปรับแนวคิดการพัฒนาประเทศใหม่ จากเดิมที่ให้ความสําคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก
มาเป็นการให้ความสําคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไปพร้อมกัน
ด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เพียงพอพร้อมรับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและ
ภายในประเทศ ทั้งนี้การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอนต้องใช้ “ความรอบรู้” ใน การพัฒนาด้านต่าง ๆ
และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคมไทย รวมทั้งเสริมสร้าง และสํานึกใน“คุณธรรม” จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่
และดําเนินชีวิตด้วย “ความเพียร” จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้ พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งในระดับปัจเจก
ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ