Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา, นางสาวกัญติมา ขุมทรัพย์ 64B44640501 - Coggle…
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
มาตรฐานความรู้
มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
จิตวิทยาสำหรับครู
๑. จิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการมนุษย์
๒. จิตวิทยาการศึกษา
๓. จิตวิทยาการแนะแนวและให้คำปรึกษา
การวัดและประเมินผลการศึกษา
๑. หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
๒. การสร้างและการใช้เครื่องมือวัดผล และประเมินผลการศึกษา
๓. การประเมินตามสภาพจริง
๔. การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน
๕. การประเมินภาคปฏิบัติ
๖. การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม
การจัดการเรียนรู้
๑. ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน
๒. รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
๓. การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
๔. การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระ การเรียนรู้
๕. การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
๖. เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้
๗. การใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้
๘. การจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
๙. การประเมินผลการเรียนรู้
การบริหารจัดการในห้องเรียน
๑. ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ
๒. ภาวะผู้นำทางการศึกษา
๓. การคิดอย่างเป็นระบบ
๔. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร
๕. มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร
๖. การติดต่อสื่อสารในองค์กร
๗. การบริหารจัดการชั้นเรียน
๘. การประกันคุณภาพการศึกษา
๙. การทำงานเป็นทีม
๑๐. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
๑๑. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
๑๒. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา
๑๓. การจัดระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการ
๑๔. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
การพัฒนาหลักสูตร
๑. ปรัชญา แนวคิดทฤษฎีการศึกษา
๒. ประวัติความเป็นมาและระบบการจัดการศึกษาไทย
๓. วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทย
๔. ทฤษฎีหลักสูตร
๕. การพัฒนาหลักสูตร
๖. มาตรฐานและมาตรฐานช่วงชั้นของหลัสูตร
๗. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
๘. ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
การวิจัยทางการศึกษา
๑. ทฤษฎีการวิจัย
๒. รูปแบบการวิจัย
๓. การออกแบบการวิจัย
๔. กระบวนการวิจัย
๕. สถิติเพื่อการวิจัย
๖. การวิจัยในชั้นเรียน
๗. การฝึกปฏิบัติการวิจัย
๘. การนำเสนอผลงานวิจัย
๙. การค้นคว้า ศึกษางานวิจัย ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
๑๐. การใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหา
๑๑. การเสนอโครงการเพื่อทำวิจัย
ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
๑. ภาษาไทยสำหรับครู
๒. ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆสำหรับครู
๓. เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
๑. แนวคิดทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
๒. เทคโนโลยีและสารสนเทศ
๓. การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
๔. แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
๕. การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม
ความเป็นครู
๑. ความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาท หน้าที่ ภาระงานของครู
๒. พัฒนาการของวิชาชีพครู
๓. คุณลักษณะของครูที่ดี
๔. การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู
๕. การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู
๖. การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และ การเป็นผู้นำทางวิชาการ
๗. เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
๘. จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
๙. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังต่อไปนี้
การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ
ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ความสามารถ และความชำนาญเพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุก ๆ 5 ปี
มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(3) ภาคทัณฑ์
(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
(2) ตักเตือน
(5) เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54
(1) ยกข้อกล่าวหา
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพจึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
จรรยาบรรณวิชาชีพครู
มี 5 ด้าน 9 ข้อ
3.จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3.ครูต้องรักเมตา เอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4.ครู ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีง่รแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่ อย่างเต็มความสามารถ
5.ครูต้องประพฤษปฎิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกายวาจาใจ
6.ครูค้องไม่กระทำตนเป็นปฎิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจอารมณ์สังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
7.ครูต้องให้บริการด้วยความเต็มใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งและหน้าที่โดยมิชอบ
4.จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
8.ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรมวร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
2.จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2.ผู้ประกอบการวิชาชีพทางการศึกษา ครูต้องรักศรัทรา ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชสชีพ
5.จรรยาบรรณต่อสั่งคม
9.ครูพึงปฎิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ศาสนาศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาสิ่งแวดล้อมรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและยึกมั้นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จรรยาบรรณต่อตนเอง
1.ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคม และการเมองอยู่เสมอ
หมายถึง
มาตรฐานปฎิบัติตนที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤษตนซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องปฎิบัติตามเพื่อรักษา และส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม
นางสาวกัญติมา ขุมทรัพย์ 64B44640501