Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 13 นวัตกรรมการเรียนรู้ - Coggle Diagram
บทที่ 13
นวัตกรรมการเรียนรู้
หลักเกณฑ์การพิจารณา
1.ที่คิดค้นหรือพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมดผ่านการพิสูจน์ที่น่าเชื่อถือได้จากกระบวนการวิจัย และได้รับการยอมรับนำไปใช้และเผยแพร่.
2.โดยมีปรับปรุงเพียงแค่บางส่วนของสิ่งนั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่เดิม
3.ที่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้ในสถานที่นั้นแม้ว่านวัตกรรมนั้นอาจจะเป็นของเก่าในบริบทอื่นก็ตาม
ประเภท
สื่อการเรียนรู้ เป็นสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นมาใหม่เพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น เช่น แบบฝึกทักษะต่าง ๆ เกม
สื่อเทคโนโลยี เป็นสื่อเกี่ยวกับทางด้านเทคโนโลยีที่จัดทำขึ้นมาใหม่ เช่น วีดิทัศน์ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เว็บไซต์
เทคนิควิธีการ เป็นแนวคิด เทคนิคและวิธีการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่แปลกใหม่ผ่านการทดลองใช้และการพิสูจน์ที่น่าเชื่อถือ เช่น ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) การเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา(STEM Education) วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
1.หลักสูตรใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับภาพแวดล้อมท้องถิ่น ตอบสนองนโยบายความต้องการของสังคมและประเทศชาติ ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการในแขนงวิชาต่าง ๆ
ความสำคัญ
ทำให้การจัดการเรียนรู้สนุกและไม่เกิดความเบื่อหน่าย
ทำให้การจัดการเรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาหรือบทเรียนได้เป็นอย่างดีและเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ที่แปลกใหม่
ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในการเรียนรู้
ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน
ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านวงการศึกษา
นวัตกรรมการเรียนรู้
1.วิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ความหมาย จิตตปัญญาศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การศึกษาที่เน้นการพัฒนาด้านในอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ โดยปราศจากอคติ เกิดความรักความเมตตา อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และสามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างสมบูรณ์
2.วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ความหมาย การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้โครงสร้างของสมองเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยไม่ปิดกั้นการทำงานของสมอง และเป็นการส่งเสริมให้สมองได้เกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ โดยมีแนวคิดว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ และทุกคนมีสมองพร้อมที่จะเรียนรู้มาตั้งแต่เกิด
3.วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ความหมาย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นลักษณะของการสอนโดยใช้ปัญหาในชีวิตประจำวันของนักเรียนที่นักเรียนอาจพบมาเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้และเป็นตัวกระตุ้นในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผล โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและรู้จักการทำงานร่วมกันภายในกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน โดนผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด (บุญนำ อินทนนท์, 2551)
4.วิธีการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ความหมาย เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้เชิงวิทยาศาสตร์มาใช้ฝึกการคิด และพัฒนาการคิดในระดับสูง โดยใช้สามารถใช้การคิดอย่างมีเหตุผลและสามารถประเมินความเข้าใจของตนได้ โดยการเปรียบเทียบชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือ ความมีเหตุผลของความคิดเดิมกับความคิดใหม่ ๆ ได้
5.วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ความหมายเป็นการเรียนรู้ที่บูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
6.วิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ความหมาย เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาหาความรู้จากภายนอกห้องเรียนด้วยตนเอง โดยผ่านเทคโนโลยีที่ผู้สอนเป็นผู้จัดขึ้น ผู้สอนจะนำสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาใช้ทำกิจกรรมในชั้นเรียน โดยผู้สอนมีหน้าที่คอยให้คำแนะนำและตั้งคำถามให้ผู้เรียนได้ร่วมกันแก้ปัญหาและเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
7.วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Infographic ความหมาย เป็นการเรียนรู้โดยกราฟิกมาช่วยในการออกแบบเนื้อหาหรือข้อมูลในสิ่งที่เรียนเพื่อให้เนื้อหาสั้นกระชับเข้าใจง่ายและน่าสนใจโดยสามารถมองเห็นภาพของข้อมูลและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่แสดงข้อมูลหรือข้อเท็จจริงได้อย่างเข้าใจ
8.วิธีการจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ความหมาย เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งสอนให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกแห่งบนโลกนี้มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม
นวัตกรรมคืออะไร?
Innovate (v.) = ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่การนำสิ่งใหม่ ๆ มาเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ และนำไปใช้ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น นวัตกรรมการเรียนรู้ หมายถึง สิ่งใหม่ ๆที่นำมาใช้ในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีคุณภาพ