Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) -…
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD)
สาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้เกิด COPD ที่สำคัญที่สุด คือ การสูบบุหรี่
สาเหตุอย่างอื่น ได้แก่ มีการติดเชื้อของปอดและทางเดินหายใจเรื้อรัง อากาศเป็นพิษแพ้สารต่างๆ องค์ประกอบทางพันธุกรรม ปอดเสื่อมลงตามอายุขัย การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด
การประเมินภาวะสุขภาพ/การวินิจฉัย
ประวัติอาการ
1.1 ประวัติการสูบบุหรี่ หรือทางเดินหายใจได้รับการระคายเคือง
1.2 ประวัติอาการของการหายใจล้มเหลว ได้แก่ ปวดศีรษะ หัวใจเต้นแรง หงุดหงิด ฉุนเฉียว มือสั่น กังวล ความจ้าเสื่อม ง่วงซึม เวียนศีรษะ ความรู้สึกสับสน อาจชักและหมดสติได้
1.3 ประวัติการเบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ น้ำหนักลด อาการของหัวใจข้างขวาวายเช่น ปวดใต้กระดูกอก บวมบริเวณเท้า
1.4 ประวัติการใช้ยาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ยาขยายหลอดลมทั้งชนิดรับประทานสูดดมและสเปรย์
การตรวจร่างกาย
2.1 ผิวกายเขียวคล้้า
2.2 การหายใจเกิน เป็นลักษณะการหายใจแรง
2.3 การหายใจน้อยกว่าปกติ มีลักษณะการหายใจแผ่ว
2.4 ลูกกระเดือกเคลื่อนที่มากกว่าปกติ เกิดจากขณะหายใจเข้าหลอดลมถูกดึงลงมากกว่าปกติ ประกอบกับกระดูกหน้าอกถูกยกสูงขึ้น จึงมองเห็นลูกกระเดือกเคลื่อนขึ้นลงตามการหายใจ
2.5 อกถังเบียร์ เกิดจากมีอากาศคั่งในปอดมากเกินไป
2.6 มีการบุ๋มของแอ่งเหนือกระดูกไหปลาร้า และช่องระหว่างซี่โครงขณะหายใจเข้าเกิดจากความดันในโพรงเยื่อหุ้มปอดลดต่ำมากขณะหายใจเข้า
2.7 การเคลื่อนไหวของทรวงอกจะลดลง
1 more item...
อาการและอาการแสดง
ระยะเริ่มแรก : ผู้ป่วยจะยังไม่แสดงอาการจนกระทั่งปอดถูกทำลายมากขึ้นผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ ดั้งนี้
ไอเรื้อรัง
มีเสมหะมากโดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน
รู้สึกเหนื่อยหอบ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
หายใจลำบาก
แน่นหน้าอก
หายใจมีเสียหวีด
1 more item...
กลไกการเกิด/พยาธิสรีวิทยา
มีเสมหะในหลอดลม ผนังของหลอดลมบวม การระบายของอากาศในถุงลมไม่เท่ากัน
ถุงลมบางส่วนโป่งพอง บางส่วนแฟบ จากการติดเชื้อหรือจากภูมิแพ้
การขยายตัวของปอดลดลงจากการอุดกั้น และอากาศขังอยู่ในปอด ทรวงอกขยายใหญ่ขึ้น
มีการทำลายของเนื้อปอด (lung parenchyrna) และปอดจะสูญเสียความยืดหยุ่นทำให้เกิด
ความดันในปอดสูงขึ้น (เป็นลบน้อยลง) ซึ่งทำให้หลอดลม bronchiole และ bronchi แฟบ
ความยืดหยุ่นของปอดลดลง ทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลงจากน้ำหนักของ viscera ในช่องท้อง
Tidal volume, vital capacity และ inspiratory reserve ซึ่งจำเป็นสำหรับการไอที่มีประสิทธิภาพจะลดลงจากการยืดขยายของทรวงอกลดลง
ผู้ป่วยจะหายใจลำบากมากขึ้น ต้องออกแรงหายใจทำให้อ่อนเพลียไปไหนไม่ค่อยไหวต้องนั่ง ๆ
นอน ๆ อยู่ในบ้าน ต้องใช้กล้ามเนื้ออื่น ๆ นอกเหนือจากที่เคยใช้ช่วยในการหายใจ เช่น กล้ามเนื้อที่คอ ไหล่ หน้าท้อง ต้องเป่าปากเวลาหายใจออกเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้ลมหายใจออกนานขึ้น
การระบายของอากาศในถุงลม (alveolar ventilation) ของผู้ป่วยจะลดลงอย่างมาก และเป็นอย่าง
ถาวร เกิดมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ ขาดออกซิเจน และร่างกายมีภาวะเป็นกรดจากการหายใจ (chronic respiratory acidosis) เนื่องจากกลุ่มอาการของการอุดกั้นทางเดินหายใจ มีอากาศคั่งอยู่ในถุงลม ผนังหลอดลมอ่อนแอ และถุงลมขาดทำให้ถุงลมบางส่วนแฟบบางส่วนโป่งพอง กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยมากขึ้น และเป็นอย่างเรื้อรัง
การขาดออกซิเจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงลงการทำงานของไตผิดปกติเพิ่ม permeability ของ
หลอดเลือดผิดปกติ และทำให้เม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น (polycythemia) เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดลง
เพิ่มตัว buffer ของร่างกายโดยการที่พยายามปรับชดเชยต่อภาวะที่ร่างกายเป็นกรดจากการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์
ความสามารถของผู้ป่วยที่จะเผชิญกับภาวะเครียดต่าง ๆ ในชีวิตจะลดลง เกิดการติดเชื้อของ
ทางเดินหายใจบ่อย อาจเกิดภาวะหัวใจวายจากโรคปอด (Corpulmonale) ภาวะการหายใจล้มเหลว
การรักษา
การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการ ลดการกำเริบ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย ซึ่งการเลือกใช้ยาจะเป็นไปตามอาการและระดับความรุนแรงของโรค สำหรับกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่
1.ยาขยายหลอดลม
2.ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด ใช้ร่วมกับยาขยายหลอดลม
3.ยาปฏิชีวนะ ให้ในกรณีที่มีการติดเชื้อ หรือการกำเริบเฉียบพลัน
การรักษาอื่นๆ เช่น การบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาว การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อลดโอกาสเจ็บป่วยรุนแรง การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดด้วยกายภาพบำบัด การดูแลภาวะโภชนาการ และการดูแลสภาพอารมณ์และจิตใจของผู้ป่วย
การผ่าตัด ในกรณีที่การรักษาด้วยยาและวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเอาถุงลมขนาดใหญ่ที่กดเนื้อปอดข้างเคียงออก ผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรปอด เพื่อใส่อุปกรณ์ในหลอดลม หรือเพื่อปลูกถ่ายปอดหากมีผู้บริจาคอวัยวะ
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะลักษณะการหายใจ สังเกตอาการ cyanosis
ฟังเสียงหายใจและเสียงปอดว่ามีเสมหะมากน้อยเพียงใดเพื่อจะได้ช่วยเคาะปอดให้เสมหะมีการเคลื่อนไหวและขับออกได้ง่ายขึ้นช่วยเคาะปอดและสาธิตให้ญาติทราบโดยจัดท่าให้ผู้ปุวยอยู่ในท่านอนตะแคงลำตัวเอนไปด้านหลังมีหมอนหนุนแล้วตามด้วยการเคาะปอดนาน 30-60 วินาที โดยท้าร่วมกับการให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ และไอออกมา เพื่อช่วยให้เสมหะออกดีขึ้น
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงศีรษะสูง เพื่อให้หายใจได้สะดวกและช่วยระบายน้้าลายและเสมหะในปากให้ไหลออกมาได้ง่าย
ดูแลให้ได้ ออกซิเจน cannula 3 Lit/min เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้ร่างกาย
สอนให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ ( Deep breathing ) และการไออย่างมีประสิทธิภาพ ( Effective cough )ให้ถูกต้องโดยหุบปากสูดหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ อย่างเต็มที่ทางจมูก จากนั้นกลั้นหายใจสักครู่จึงไอ 2-3 ครั้ง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาขยายหลอดลมและยาละลายเสมหะตามแผนการรักษาและประเมินผลข้างเคียงของยาโดยพ่นขยายหลอดลมพ่นทุก 2-4 ชั่งโมงและประเมินซ้้าถ้ามีอาการหอบเหนื่อย ฟังปอดซ้้ามีเสียง Wheezing พ่นได้อีกทุก 1 ชั่วโมงจนอาการดีขึ้น
กระตุ้นให้ผู้ปุวยดื่มน้้ามากๆ วันละ 2,000-3,000 มิลลิลิตร เพื่อให้เสมหะอ่อนตัวช่วยขับออกได้ง่ายขึ้น
ภาวะเเทรกซ้อน/ผลกระทบ
ผลกระทบ : ผู้ป่วยจะเหนื่อยหอบมากจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ และน้ำหนักลดลงอย่างมาก
ภาวะเเทรกซ้อน : ปอดบวม(Pneumonia) แรงดันในปอดสูง(Pulmonary hypertension) และหัวใจซีกขวาล้มเหลว(Cor-pulmonale) หายใจล้มเหลว(Respiratory failure)