Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis) - Coggle Diagram
วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis)
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis จัดอยู่ในกลุ่ม Mycobacterium tuberculosis complex ที่ทำให้เกิดโรค ที่รับผ่านกันมาจากละอองฝอยทางอากาศ
อาการและอาการแสดง
มีอาการไอเรื้อรังยาวนานถึง 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
ไอและเสมหะมีเลือดปน
มีอาการเจ็บหน้าอก ขณะหายใจหรือไอ
มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
มีน้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ
มีอาการอ่อนเพลีย
มีไข้ หรือมีเหงื่อออกในเวลากลางคืน
รู้สึกหนาวสั่น
1 more item...
การประเมินภาวะสุขภาพ/การวินิจฉัย
1.การตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์
2.การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest x- ray: CXR)
3.การตรวจเสมหะโดยการเพาะเลี้ยงเชื้อ (culture)
เพื่อการยืนยันเชื้อวัณโรคและดูความมีชีวิตของเชื้อรวมทั้งการทดสอบความไว
การส่งตัวอย่างเพาะเลี้ยงเชื้อ ควรทำกรณีใด
ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะไม่พบเชื้อ (sputum smear negative pulmonary tuberculosis)
ผู้ป่วย MDR-TB ที่ต้องตรวจเสมหะเพื่อติดตามการรักษาในช่วงที่มีฉีดยา หลังจากนั้นทุกๆ 2 เดือนจนครบระยะเวลาการรักษา
ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคนอกปอด เช่น วัณโรคต่อมนํ้าเหลือง วัณโรคเยื่อหุ้มปอดและอื่นๆ
มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยวัณโรค แม้มีความไวค่อนข้างสูงแต่ความจำเพาะไม่สูง
การตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์และรายงานได้เพียงว่าพบเชื้อ AFB เท่านั้น
พยาธิสภาพ/กลไกการเกิด
การแพร่กระจายเชื้อ
วัณโรคเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศ (airborne transmission) โดยเมื่อผู้ป่วยวัณโรค ปอด หลอดลม หรือกล่องเสียง ไอจาม พูดดังๆตะโกน หัวเราะหรือร้องเพลง ทำให้เกิดละอองฝอย (droplet nuclei) ฟุ้งกระจายออกมาละอองฝอยที่มีขนาดใหญ่มากจะตกลงสู่พื้นดินและแห้งไป ละอองฝอยที่มีขนาดเล็ก 1 - 5 ไมโครเมตร จะลอยและกระจายอยู่ในอากาศ ซึ่งผู้อื่นสูดหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไป อนุภาคขนาดใหญ่จะติดอยู่ที่จมูกหรือลำคอซึ่งมักไม่ก่อให้เกิดโรคแต่อนุภาคขนาดเล็กๆจะเข้าไปสู่ถุงลมในปอด
วัณโรคปฐมภูมิ (primary tuberculosis)
การติดเชื้อครั้งแรกเนื่องจากร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกันจำเพาะส่วนมากเป็น ในเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งอาจเกิดได้ภายใน 2-8 สัปดาห์หลังการรับเชื้อ
วัณโรคทุติยภูมิหรือวัณโรคหลังปฐมภูมิ (secondary or post-primary tuberculosis)
หลังการติดเชื้อมานานซึ่งอาจจะหลายปีเมื่อร่างกายมีภาวะอ่อนแอ ระบบ ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง มีการกระตุ้นให้เชื้อวัณโรคที่สงบอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน มีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ หรือ รับเชื้อวัณโรคจากนอกร่างกายเข้าไปใหม่แล้วก่อให้เกิดโรค ส่วนใหญ่จะเป็นที่ปอด ซึ่งมักเกิดพยาธิสภาพใน เนื้อปอดบริเวณส่วนบน แต่ก็พบที่อวัยวะอื่นๆ ได้เช่นกัน
การรักษา
ให้ยารักษาวัณโรคหลายชนิดร่วมกัน สำหรับผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่งรักษาเป็นครั้งแรก จะนิยมใช้สูตร ยา 6 เดือน ซึ่งได้ผลดีที่สุด โดยในช่วง 2 เดือนแรกจะให้กินยารวมกัน 4 ชนิด ได้แก่ Isoniazid หรือ INH, Rifampicin, Pyrazinamide, Ethambutol
หลังจากกินยาทั้ง 4 ชนิดครบ 2 เดือนแล้วจะต่อด้วยการกินยา 2 ชนิดต่อไปอีก 4 เดือน ได้แก่ Isoniazidและ Rifampicin
การรักษาอาการทั่วไป ได้แก่ ยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาบำรุงโลหิต (ถ้าซีด) วิตามินรวม (ถ้าเบื่ออาหาร)เป็นต้น
ตรวจเสมหะเป็นระยะ การตรวจเสมหะเพื่อติดตามผลการรักษาเมื่อผู้ป่วยกินยาครบ 2 เดือน 5 เดือน และเมื่อสิ้นสุดการรักษา
การพยาบาล
อธิบายเหตุผลและแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อก่อนให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย(Face Mask) ปิดปากปิดจมูกที่ถูกต้องตลอดเวลาระหว่างพักในห้องแยกโรคในโรงพยาบาลหลังประเมินว่ามีอาการสงสัยติดเชื้อวัณโรคปอดและในชุมชน 1 เดือนแรกหลังวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอดแล้ว
ดูแลให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัยไม่มีการแพร่กระจายเชื้อ ไปยังห้องแยกโรคทางเดินหายใจแรงดันอากาศลบ (isolation room) หอผู้ป่วย หรือหน่วยบริการอื่น ๆ
บ่งชี้สื่อสารการเฝ้าระวังการแพร่กระจายเชื้อแก่ทีมสุขภาพโดยติดป้ายสีเหลือง “โรคระบบทางเดินหายใจ”ที่ใบตรวจสอบสิทธิ์และใบคิวของกรณีศึกษา
ดูแลให้พักรอในห้องแยกโรคทางเดินหายใจอย่างปลอดภัย ไม่มีการแพร่กระจายเชื้อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเช่น อาการไอ ประวัติไข้ น้ำหนักลด การเป็นหวัดและการใช้ยาเป็นต้น อธิบายเหตุผลที่พยาบาลผู้ซักประวัติต้องป้องกันการรับเชื้อโดยสวมหน้ากากอนามัยชนิดN95ระหว่างให้การดูแล
ให้ข้อมูลกรณีศึกษาเพื่อตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray) เตรียมเปลี่ยนเสื้อผ้าถอดเครื่องประดับ/โลหะ
ดูแลให้ได้รับการตรวจจากแพทย์และไม่มีการแพร่กระจายเชื้อสู่บุคคลและสิ่งแวดล้อม
ให้ข้อมูลกรณีศึกษาและญาติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเคลื่อนย้ายและเข้าพักนอนในโรงพยาบาล
แนะนำวิธีการเก็บเสมหะตอนเช้าหลังตื่นนอน 3 วันติดต่อกันเพื่อย้อมเชื้อวัณโรค และอธิบายการแปลผลเพื่อวินิจฉัยโรคได้แก่พบเชื้อวัณโรคในเสมหะอย่างน้อย 2 ครั้งหรือพบเชื้อวัณโรคในเสมหะ 1 ครั้งร่วมกับรอยโรคในปอดจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ หากผลตรวจเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรคจะพิจารณาจากภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดเป็นสำคัญ
แนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคโดยให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับบุคคลในครอบครัวไม่ควรพักร่วมห้องกับผู้อื่นเป็นเวลา1 เดือน นับตั้งแต่เริ่มรับประทานยารักษา วัณโรค และควรอยู่ในบริเวณหรือห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนแออัด เช่นสถานบันเทิงโรงภาพยนตร์สถานที่สาธารณะต่าง ๆ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
ส่งเสริมการรับประทานยารักษาวัณโรคครบชนิดและถูกขนาดยาติดต่อกัน6 เดือน ให้ข้อมูล อาการไม่พึงประสงค์จากยาและการจัดการอาการรบกวนเพื่อป้องกันการหยุดยาระหว่างการรักษา
11.อธิบายผลดีของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
*เพิ่มเติม แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่องห้ามหยุดยาเอง
ภาวะเเทรกซ้อน/ผลกระทบ
วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง ทำให้มีอาการไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนรุนแรง คอแข็ง ซึม ชัก
วัณโรคต่อมน้ำเหลือง พบบ่อยที่ข้างคอ มีลักษณะเป็นก่อนบวมที่ข้างคอ นุ่ม ไม่มีอาการเจ็บปวด และอาจแตก มีหนองไหลเรื้อรัง
วัณโรคกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบเรื้อรัง
วัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจ ทำให้มีอาการไข้ คอบวม หายใจหอบเหนื่อย
วัณโรคลำไส้ทำให้มีอาการปวดท้องและท้องเสียเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง อาจคลำได้ก้อนในท้อง ถ้าลุกลามไปที่เยื่อบุช่องท้องทำให้เกิดอาการท้องมาน
วัณโรคไต ทำให้กรวยไตอักเสบเรื้อรัง ตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะให้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดแล้วก็ไม่หาย
วัณโรคกระดูก เช่น วัณโรคกระดูกสันหลัง (ทำให้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังคดโก่ง กดเจ็บ อาจมีอาการ เสียงแหบเรื้อรัง) วัณโรคข้อเข่า (ทำให้มีอาการปวดข้อบวมแดงร้อน)