Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหวเบื้องต้น - Coggle Diagram
การผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหวเบื้องต้น
ความหมายของภาพเคลื่อนไหว
ภาพกราฟฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการนำภาพนิ่งมาเรียงกันเป็นชุดๆเพื่อแสดงบนจอทีละภาพด้วยความเร็วสูง ในการฉายภาพแต่ละภาพจะต่อเนื่องกันให้ดูเหมือนว่าเคลื่อนไหวจริง ซึ่งอาจเป็นภาพที่ได้จากภาพวาด ภาพถ่าย หรือภาพคน สัตว์ สิ่งของก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเฉพาะเจาะจงแต่ภาพการ์ตูนเท่านั้น
ประเภทของภาพเคลื่อนไหว
1.แบบ 2 มิติ (2D Animation) ภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ มองเห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง ซึ่งจะมีความเหมือนจริงพอสมควรและการสร้างจะไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ รวมทั้ง Gif Animation
2.แบบ 3 มิติ (3D Animatio) ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ มองเห็นได้ทั้งความสูง ความกว้าง และความลึก ภาพที่เห็นจะมีความสมจริงมากถึงมากที่สุด เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง NEMO เป็นต้น
เทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหว
การนำภาพเคลื่อนไหวชนิด Motion และ Shape Tween มารวมกัน
การใช้เทคนิค Mask Layer การสร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพเลื่อนไหว หรือภาพนิ่งที่เรียกว่า "Mask" หรือการทำ
หน้ากาก จะเหมือนกับมีหน้ากากเป็นตัวบังอ็อบเจ็กต์ที่อยู่ในเลเยอร์ด้านหลัง
การใช้เทคนิค Motion Guide เข้ามาช่วยกำหนดเส้นทางการเคลื่อนที่ของอ็อบเจ็กต์ด้วยตัวเอง โดยสร้างเส้นไกด์
หรือเส้นนำทางไว้ที่ Guide Layer ซึ่งจะอยู่ด้านบนของเลเยอร์อ็อบเจ็กต์ที่ต้องการให้เคลื่อนที่ไปตามเส้นไกด์นั้นๆ
เทคนิคการใช้สีกับภาพเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดลักษณะของการเคลื่อนไหวในแบบต่างๆได้ เช่น ทำให้ภาพค่อยๆเลือนหายไป
เปลี่ยนสีของภาพโดยการกำหนดความแตกต่างของสีที่จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการเคลื่อนไหว
ขั้นตอนการสร้างภาพเคลื่อนไหว
การวางโครงเรื่องชิ้นงาน
การจัดเตรียมองค์ประกอบชิ้นงาน
การสร้างชิ้นงานและทดสอบการทำงาน
การแปลงไฟล์เป็นชิ้นงานสำหรับการเผยแพร่
รูปแบบของไฟล์ภาพเคลื่อนไหว
Traditional Animation หรือ Hand Drawing Animation หรือ 2D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวที่เกิดจากการวาดภาพที่ละภาพหลายๆ พันภาพ และฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องโดยใช้เวลาไม่กี่วินาที เช่น 1 วินาที ใช้รูป 24 เฟรม
Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation ภาพเคลื่อนไหวประเภทนี้ ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวต้องเข้าไปทำการเคลื่อนไหวโดยตรงกับแบบจำลอง (Model) และทำการถ่ายภาพเอาไว้ทีละเฟรมๆ แบบจำลองนี้อาจจะเป็นของเล่นหรืออาจจะสร้างจากดินน้ำมัน การทำ Stop Motion นี้ต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก
Computer Animation เป็นภาพเคลื่อนไหวที่มักพบกันได้บ่อยในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการใช้โปรแกรมเป็นไปได้ง่ายและมีการนำหลักการแบบ 2D เข้ามาผสมผสานกับตัวโปรแกรม ซึ่งทำได้ง่ายและสะดวกในการแก้ไขและการแสดงผล ปัจจุบันมีซอฟแวร์ต่างๆ ที่สามารถช่วยในการทำภาพเคลื่อนไหว เช่น โปรแกรม 3DS Max, Maya, Adobe flash เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาและลดต้นทุนการผลิตเป็นอย่างมาก จึงเป็นชนิดที่นิยมทำกันมาก
โปรแกรมสำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหว
Maya (โปรแกรม Maya ทำแอนิเมชั่น สร้างการ์ตูน Animation
Pencil2D (โปรแกรม Pencil2D ทําแอนิเมชั่น 2 มิติ ฟรี)
Blender (โปรแกรม Blender ออกแบบ 3 มิติ 3D Animation)
Adobe Animate CC (โปรแกรม Adobe Animate สร้างแอนิเมชั่นบนเว็บไซต์ ง่ายๆ)
Pivot Animator (โปรแกรม สร้างการ์ตูน ทำภาพเคลื่อนไหว)
Reallusion iClone (โปรแกรม Reallusion iClone สร้าง ออกแบบตัวละคร แอนิเมชั่น 3 มิติ)
Plotagon (โปรแกรม Plotagon สร้างรูปแอนิเมชั่น สามมิติ สุดเจ๋ง)
Adobe Fuse CC (โปรแกรม Adobe Fuse สร้างตัวละคร 3 มิติ โมเดล 3 มิติ)
Plastic Animation Paper (โปรแกรม วาดการ์ตูน มืออาชีพ)
Synfig Studio (โปรแกรม Synfig Studio ออกแบบแอนิเมชั่น 2 มิติ)