Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความซึมเศร้าและพฤษติกรรมฆ่าตัวตาย (Depression) - Coggle Diagram
ความซึมเศร้าและพฤษติกรรมฆ่าตัวตาย (Depression)
ระดับความซึมเศร้า
อารมณ์ซึมเศร้าปานกลาง (moderate depression)รปรับตัวใช้เวลานานมากขึ้น อาการจะรุนแรงขึ้น ซับซ้อนมากขึ้นส่งผลต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน อาจต้อง
หยุดเรียนหรือหยุดงานเป็นระยะ
ด้านพฤติกรรม : เคลื่อนไหวช้า พูดช้า พูดน้อยลง สีหน้าหดหู่ ไม่สนใจดูแลตนเองทําให้เสื้อผ้าและร่างกายสกปรก
ด้านความคิด : ไม่มีสมาธิ คิดช้า คิดเรื่องเดิม คิดซ้ํา ๆ คิดถึงตนเองด้านไม่ดี รู้สึก
ตนเองไม่ดี ไม่มีความหมาย และอาจคิดถึงการทําร้ายตนเอง
ด้านอารมณ์: รู้สูกเหงา หมดหวัง หมดหนทาง ไม่แจ่มใส ความภาคภูมิใจในตนเองต่ํา
ด้านร่างกาย : เบื่ออาหาร น้ําหนักลด รับประทานอาหารมากขึ้น นอนหลับยาก/นอนมากเกินไป ความสนใจทาง
เพศลดลง
อารมณ์ซึมเศร้ารุนแรง (severe depression) กระทบต่อการดําเนินชีวิตมาก อาจต้อง
หยุดเรียนหรือหยุดงานเพื่อพักรักษาตัว มีอาการทางจิต
ด้านอารมณ์ : รู้สึกหมดหวังโดยสิ้นเชิง เฉยเมยหรือไม่แสดงความรู้สึก เหงา เศร้า ไม่มีความสุขในกิจกรรมต่างๆ
ด้านพฤติกรรม : เดินชา ไม่พูด ไม่โต้ตอบ อาจคิดทำร้ายตัวเอง
ด้านความคิด : ความคิดสับสน ไม่มีสมาธิ หลงผิดว่ามีการเจ็บป่วยทางร่างกาย (somatic delusions) ประสาท
หลอน
ด้านร่างกาย : การทํางานของระบบต่างๆ ในร่างกายช้าลง เช่น สมรรถภาพทางเพศ เบื่ออาการ ท้องผูก น้ําหนักลด
นอนหลับยาก/นอนมากแต่ไม่หลับ
อารมณ์ซึมเศร้าเล็กน้อย (mild depression) คือ บุคคลเผชิญกับการสูญเสียที่รุนแรง เช่น สูญเสียคนรัก สูญเสียบุคคลสําคัญ อาการซึมเศร้ามักจะลดลง และหายไปเองปฏิบัติกิจกรรมประจําวันได้ตามปกติ ยังสามารถเรียนหนังสือทํางาน
ด้านอารมณ์ : วิตกกังวล โกรธ รู้สึกตนเองผิด ชีวิตไม่มีคุณค่าเหงา หมดหวัง ท้อแท้
ด้านพฤติกรรม : ร้องให้ง่าย พฤติกรรมถดถอย แยกตัว
ไม่อยากทําอะไร กระสับกระส่าย
ด้านความคดิ : คิดวนเวียนอยู่กับการสูญเสีย ตําหนิตนเอง/ผู้อื่น ลังเล ตัดสินใจไม่ได้
ด้านร่างกาย : เบื่ออาหาร/รับประทานมากขึ้น นอนไม่หลับ/นอนมากขึ้น ปวดศีรษะ ปวดหลัง เจ็บหน้าอก และอ่อนเพลีย
ความหมายและลักษณะของความซึมเศร้า
คือ ความผิดปกติด้านอารมณ์ หรือความรู้สึกเศร้าที่ยังคงเป็นอยู่นานอย่างไม่มีเหตุผลให้ต้อง
เศร้ารุนแรง หรือนานขนาดนั้น (เป็นนานเกิน 2 สัปดาห์) ไม่สามารถยอมรับและหลุดพ้นได้
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า
ด้านร่างกาย
ป้องกันการทําอันตรายตนเอง ควรประเมินผู้รับบริการอย่างสม่ําเสมอว่ามีความคดิทําร้ายตนเองหรือไม่
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการจัดการกิจกรรมประจําวัน เช่น
อาบน้ํา สระผม ในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรง
กระตุ้นผู้รับบริการ และจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น สบู่ผ้าเช็ดตัว เพื่อให้ผู้รับบริการกระทํากิจกรรม
ด้วยตนเอง ในผู้รับบริการที่ซึมเศร้าปานกลาง
บันทึกพฤติกรรม ปริมาณอาหาร และน้ําที่ผู้รับ บริการได้รับ พร้อมกับกระตุ้นให้ได้รับให้เพียงพอ และควร
ตรวจสอบน้ําหนักผู้รับบริการทุกสัปดาห์
กระตุ้นให้เคลื่อนไหว หรือออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ อาจเดิน/ทํากิจกรรม
การนอนหลับและพักผ่อน จัดสภาพแวดล้อมให้ได้นอน ถ้าจําเป็นสามารถใช้ยานอนหลับได้ตามแพทย์สั่ง
และในตอนกลางวันจัดให้นอนในช่วงสั้น ๆ
ด้านสังคม
กระตุ้น และเปิดโอกาสให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียนรู้ทักษะทางสังคมบางอย่าง เช่น กล้าเป็นตัวของ
ตัวเอง การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
จัดให้ผู้รับ บริการได้ทํากิจกรรมจะได้ลดเวลาหมกมุ่นเกี่ยวกับตนเอง โดยการจัดตาราง กิจกรรมประจําวันและคอยกระตุ่นให้ผู้รับบริการปฏิบัติตาม กิจกรรมที่เหมาะกับผู้รับบริการซึมเศร้า ควรมีสมาชิกกลุ่มไม่มาก กิจกรรมไม่ควรซับซ้อน และควรเป็นกิจกรรมที่ทําให้ผู้รบั บริการรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเอง
จัดเวลาสําหรบักิจกรรมทางด้านจิตวิญญาณ เช่น การสวดมนต์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ตามแต่ละศาสนา
จัดกลุ่มครอบครัวบําบัด เพื่อให้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้รับบริการและปรับเปลี่ยน วิธีปฏิบัติระหว่าง
ญาติและผู้รับบริการ
ด้านจิตใจ และอารมณ์
สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ โดยพยาบาลอดทน รับฟัง และแสดงถึงความเข้าใจ ความรู้สึก เป็นมิตร
และอบอุ่น
พยาบาลใชhทักษะการสื่อสารตjางๆ เพื่อเปิดโอกาส และส่งเสริมผู้รับบริการได้พูดระบายความรู้สึก
เคารพ และให้เกียรติผู้รับบริการ โดยยอมรับ และให้กําลังใจ เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
ช่วยให้ผู้รับบรกิารแยกแยะความรู้สูึกที่ไม่ดีต่อตนเอง และให้แรงเสริมเมื่อผู้รับบริการพูดถึงตนเองในด้าน
จัดกลุ่มกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้แสดงความรู้สึกและความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
พูดคยุ ด้วยท่าทีเป็นมิตร ใจเย็น ให้เวลา ไม่เร่งรีบให้ตอบคําถามเพราะผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามักคดิและพูดช้า
ในกรณีผู้รับบริการมีความคิดหลงผิดต้องระวังการฆ่าตัวตาย
การพยาบาลผู้ที่มีพฤษติกรรมฆ่าตัวตาย
พยาบาลประเมินความรู้สึก ทัศนคติของตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการฆ่าตัวตายของผู้รับบริการ ตระหนักในตนเองเสมอ เข้าหาผู้รับบริการในลักษณะที่ไม่ตัดสินพฤติกรรมผู้รับบริการ ไวต่อความรู้สึก และเข้าใจถึง
ความรู้สึกของผู้รับบริการ
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความรู้สึกไว้วางใจ ได้ระบาย
ความรู้สึกไม่สบายใจที่มี ภายใต้บรรยากาศอบอุ่น พยาบาลมีท่าทีเป็นมิตร ยอมรับผู็รับบริการ มีความจริงใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ รับฟังในความทุกข์ ของผู้รับบริการ ไม่แสดงท่าทางเยาะเย้ย ถากถาง ให้
โอกาสผู้รับบริการ ได้พูดคุย ซักถามโดยไม่แสดงท่าทีตําหนิพร้อมทั้งเสนอความช่วยเหลือเท่าที่ทําได้
การเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย Suicide Precaution โดยปฏิบัติดังนี้
ประเมินคําพูด อารมณ์และพฤติกรรม ถามผู้รับบรกิารถึงความคิดฆาตัวตาย
ไม่ปล่อยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตายอยู่คนเดียวตามลําพัง
จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เก็บอาวุธ อุปกรณ์ สิ่งของที่อาจใช้ในการฆ่าตัวตาย
ดูแลให้ผู้รับบริการรับประทานยาตามแผนการรักษา เพื่อไม่ให้ผู้รับบริการได้ รับยาเกินขนาด
ค้นหาความหวังของผู้รับบริการ ให้ข้อมูลของความหวังโดย ให้มองโลกมุมมองอื่น มองว่าชีวิตมีทางออก
ค้นหาศักยภาพของผู้รีบ บริการ เช่น ความดีความสามารถที่มีเพื่อลดความรู้สึกไร้ค่า
ทําข้อตกลงกับผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการสัญญาว่าจะไม่ทําร้ายตนเอง โดยอาจเป็นคําพูด หรือการเขียนข้อตกลงว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้รับบริการมีความคิดจะทําร้ายตนเองผู้รับบริการต้องรีบบอกพยาบาลให้ทราบเพื่อให้การช่วยเหลือ
การช่วยเหลือด้วยการให้คําปรึกษา (Counseling) โดยมีหลักการ คือ ไม่ซ้ําเติมด้วยคําพูด หรือท่าทีเยาะเย้ย ในการให้คําปรึกษาจําเป็นต่องตระหนักว่าการพูด หรือท่าทีทางลบเป็นการเพิ่มความกดดัน หรือความเครียดให้แก่ผู็รับบริการมากขึ้น
ความหมายของการทำร้ายตัวเองและฆ่าตัวตาย
การทําร้ายตนเอง (self-destructive) หมายถึง การที่บุคคลพยายามที่จะกระทําตนเองให้ได้รับอันตราย ได้รับ
บาดเจ็บและเป็นอันตรายโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
การฆ่าตัวตาย (suicide) หมายถึง การกระทําที่ทําให้ตนเองเสียชวีิตโดยตั้งใจ เนื่องจากความรู้สึกว่าหมดหวังในชีวิต ไม่มีความหมาย พฤติกรรมที่แสดงออกมีทั้งวางแผนไว้ล่วงหน้าหรือกระทําทันทีทันใด บุคคลที่มีพฤติกรรมจะทําร้ายตนเองหรือมีพฤติกรรมที่ทําให้ตนเองเสียชีวิต โดยไม่มีเจตนาจะตายจริงๆ ไม่ถือเป็นการฆ่าตัวตาย