Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย, นางสาว…
บทที่ 5 แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน
การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที อาจเกิดจากภาวะต่างๆ
Trauma life support
การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุเกิดขึ้น
การเข้าถึงช่องทางสำหรับการติดต่อในการแจ้งเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น
ประชาชนทุกระดับการศึกษา ทุกพื้นที่ต้องสามารถเข้าถึงระบบ
หรือช่องทางนี้ได้ ถือเป็นการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้บาดเจ็บ
และมีส่วนช่วยเหลือให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาดูแล
ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
เป็นระบบสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ
เพื่อให้ได้ใช้แหล่งประโยชน์ที่เหมาะสมและคุ้มค่า
ลดอัตราการเสียชีวิตที่ป้องกันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล
การจัดให้มีการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุโดยมีบุคลากร
ที่เป็นบุคลากรที่ได้รับการอบรมให้ความรู้ความสามารถ
โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก
การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล
การดูแลรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่การคัดแยก ระบบทางด่วนฉุกเฉิน
การวินิจฉัย การรักษาตามความเร่งด่วน รวมถึงการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต หอผู้ป่วย การฟื้นฟู ซึ่งทุกขั้นตอนจะต้องกระทำถูกต้องตามหลักวิชาชีพและมีประสิทธิภาพ
การฟื้นฟูสภาพและการส่งต่อ
การดูแลต่อเนื่องในรายที่พบปัญหาหรือต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังจากการได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
อุบัติเหตุ (Accident)
อุบัติการณ์ซึ่งเกิดขึ้น โดยไม่คาดหมายมาก่อน ทำให้เกิดการบาดเจ็บตายและการสูญเสียทรัพย์สินโดยที่เราไม่ต้องการ
แนวทางปฏิบัติในระบบทางด่วน (Fast track)
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
ฝึกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้และสามารถดำเนินการตามระบบทางด่วน
แผนการปฏิบัติต้องเน้นย้ำเวลาเป็นสำคัญ ต้องมีแผนปฏิบัติการรองรับเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
จัดทำรายการตรวจสอบ (check list) สำหรับการลงข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
จัดทำแนวปฏิบัติ ลำดับการปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงประตูโรงพยาบาล หรือ ห้องฉุกเฉิน พร้อมกำหนดหน้าที่ต่างๆของผู้ที่เกี่ยวข้อง
จัดทำแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย พร้อมกำหนดลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่เข้าระบบทางด่วน
กำหนด clinical indicator เพื่อการติดตามและประเมินผลในแต่ละขั้นตอนของระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
การจัดทำควรเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในสวนต่างๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการ
การเจ็บป่วยวิกฤต
Critical
จะนำมาใช้ในผู้ป่วยอาการเพียบหนัก มีอาการรุนแรง
หรือขั้นฉุกเฉิน มีอันตราย
Crisis
นำมาใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะที่มีสถานการณ์คับขัน เป็นจุดวิกฤตของการเป็นโรค ทำให้มีอาการดีขึ้นหรือตายได้ในทันที
การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้
ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
ลักษณะ
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง หากไม่ได้รับการรักษา
ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง
ต้องการการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ หาก
ไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา
ผู้บาดเจ็บจากสาธารณภัย
กลุ่มอาการหนัก ต้องหามนอนหรือนั่งมาอาการแสดงยังคลุมเครือต้องใช้การตรวจอย่างละเอียด
กลุ่มอาการหนักมากหรือสาหัสต้องการการรักษาโดยด่วนหรือช่วยชีวิตทันทีกลุ่มผู้ป่วยเสียชีวิต เป็นกลุ่มที่หมดหวังในการรักษา
กลุ่มอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเดินได้อาจถือว่าอาการไม่หนัก
หลักการพยาบาล
หลักทั่วไป
การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต
การบันทึกเหตุการณ์อาการและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาต่อไป
เพื่อช่วยชีวิต
การส่งต่อรักษา หลังจากให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยแล้ว
ต้องรีบเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาต่อทันที
หลักในการพยาบาล
มีการซักประวัติการเจ็บป่วยและอาการ
สำคัญอย่างละเอียดในเวลาที่รวดเร็ว
ทำการคัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วแม่นยำ
มีหลักในการอุ้มยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากยานพาหนะ
ไปยังห้องพยาบาล อย่างนุ่มนวลรวดเร็วปลอดภัย
ให้การรักษาพยาบาลภายใต้นโยบายของโรงพยาบาล และภายในเขตการรับรองของกฎหมาย โดยคงไว้ซึ่งหน้าที่ของอวัยวะสำคัญชีวิตและสภาพร่างกายของผู้ป่วย
ให้การช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง
ให้การดูแลจิตใจของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งจะเกิดความกลัวความวิตกกังวลต่อความเจ็บป่วย และมีความคาดหวังต่อการรักษาพยาบาล
มีการนัดหมายผู้ป่วยที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาต่อเนื่อง
มีการส่งต่อเพื่อการรักษาทั้งในหอผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยหนัก และภายนอกโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาในสถานพยาบาลอื่น
บทบาทพยาบาลกับ Fast track
บทบาทพยาบาลกับระบบทางด่วน (Fast track)
การจัดการและดูแลขณะส่งต่อ
การให้การดูแลตามแผนการรักษาภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด
การประสานงานผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
การให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความผิดปกติและติดตามการประเมินผลลัพธ์
การดำเนินงานเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวม
การรายงานแพทย์ผู้รักษาเพื่อตัดสินใจสั่งการรักษา
การจัดระบบให้มีการทบทวนและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
การประเมินเบื้องต้นโดยใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะโรค
บทบาทพยาบาลในระบบทางด่วน (Fast track)
Monitoring: early warning signs & E-response
Risk management (general & clinical)
Care delivery
Co-ordination, Communication, Handover
Investigation
Inter & Intra transportation
Flow (purpose-process-performance)
Evaluation, output, outcome
Activate system
Improvement, Innovation, Integration
Triage/ Specific triage/ Assessment
EMS (accessibility)
การพยาบาลสาธารณภัย
การพยาบาลที่ต้องนำความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไป
และด้านการพยาบาลฉุกเฉิน มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เกิดสาธารณภัยทั้งในระยะก่อนเกิด ขณะเกิด และหลังเกิดภัย เพื่อป้องกันและ/หรือ ลดความสูญเสียที่จะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สิน
หลักการพยาบาลสาธารณภัย
การตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน
หลัก CSCATT
การควบคุมยับยั้งโรคและภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องจัดให้มีระบบเฝ้าระวังภายใน 5 วันหลังภัยพิบัติ
การเตรียมความพร้อม
การรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เป็นระยะต่อเนื่องจากการบรรเทาภัย โดยการเตรียมคนให้พร้อม มีแผนที่ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน มีการฝึกอบรมความรู้และทักษะ รวมถึงการซ่อมแผนและการเตรียมพร้อมของทรัพยากรที่จำเป็น
การบูรณะฟื้นฟู
เป็นระยะสุดท้ายในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ซึ่งต้องดำเนินไปเรื่อยๆจนกว่าทุกอย่างจะกลับสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
การบรรเทาภัย
กิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการเพื่อลดหรือกำจัดโอกาสในการเกิดหรือ
ลดผลกระทบของการเกิดภัยพิบัติ
คุณสมบัติพยาบาลสำหรับจัดการสาธารณภัย
มีทักษะในการตัดสินใจที่ดี มีความเป็นผู้นำ
และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มีทักษะในการสื่อสาร และการบันทึกข้อมูลต่างๆ
ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนชัดเจน
มีความรู้ด้านสาธารณภัย มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ถึงปัญหาสุขภาพที่จะเกิดจากสาธารณภัยชนิดต่างๆ รวมทั้งมีความสามารถให้การพยาบาลได้ครอบคลุมทุกระยะของการเกิดภัย
มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมกับสถานการณ์
มีความรู้ทางการพยาบาลและมีประสบการณ์การปฏิบัติงานการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต และด้านการรักษาโรคเบื้องต้นได้
นางสาว ณัฐธิดา วิจารณ์ 6201210583 เลขที่28 Sec B