Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย - Coggle…
บทที่ 5 แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
2.หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
2.1)หลักทั่วไปในการพยาบาล
1.เพื่อช่วยชีวิต ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจ จะต้องผายปอดและกดนวดหัวใจทันที
2.การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรง ถึงขั้นวิกฤต เช่น การทำแผล การใส่เฝือกชั่วคราวกระดูกที่หัก การสังเกตอาการและสัญญาณชีพ เป็นต้น
3.การบันทึกเหตุการณ์อาการและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
4.การส่งต่อรักษา หลังจากให้การช่วยเหลือเบื้องต้น แล้ว ต้องรีบเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาล เพื่อส่งต่อทันที
2.2)การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ
1.มีหลักในการอุ้มยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากยานพาหนะไปยังห้องพยาบาล อย่างนุ่มนวลรวดเร็วปลอดภัย
2.มีการซักประวัติการเจ็บป่วยและอาการสำคัญอย่างละเอียด ในเวลาที่รวดเร็ว
3.ทำการคัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วแม่นยำ
4.ให้การรักษาพยาบาลภายใต้นโยบายของโรงพยาบาล และภายในเขตการรับรองของกฎหมาย
5.ให้การช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง
6.ให้การดูแลจิตใจของผู้ป่วยและญาติ โดยการอธิบายให้ทราบถึงปัญหาการเจ็บป่วย การพยาบาลที่จะได้รับ และแนวทางการรักษาต่อเนื่อง
7.มีการนัดหมายผู้ป่วยที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาต่อเนื่อง
8.มีการส่งต่อเพื่อการรักษาทั้งในและนอกหอผู้ป่วยหนัก พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย
2.3)หลักการพยาบาลตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพงานบริการพยาบาล
1.ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่กำลังคุกคามชีวิตผู้ป่วย
2.ค้นหาสาเหตุ หรือ ปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ แล้วดำเนินการแก้ไข
3.ดูแลและรักษาสภาวะของผู้ป่วยให้อยู่ระดับปลอดภัย และคงที่โดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
4.รักษาหน้าที่ต่างๆ ของอวัยวะสำคัญของร่างกายให้คงไว้
5.ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและติดเชื้อ
6.ประคับประคองจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยและญาติ
1.แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
1.1)แนวคิดและความหมาย
ผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยด้วยภาวะฉุกเฉิน หมายถึงผู้ที่กำลังประสบภาวะคุกคามต่อชีวิตทางด้านร่างกาย จึงจำเป็นต้องให้การดูแลเพื่อให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤติของชีวิต
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายถึง การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที
การเจ็บป่วยวิกฤต หมายถึง การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต หรือพิการได้
อุบัติเหตุ หมายถึง อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่คาดหมายมาก่อน ทำให้เกิดการบาดเจ็บตายและ การสูญเสียทรัพย์สินโดยที่เราไม่ต้องการ
1.2)ลักษณะผู้ป่วยวิกฤต
1.ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ ผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลว เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตในอัตราสูง
2.ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น ผู้ป่วยSeptic Shock หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
3.ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ป่วย myocardialin farction ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
4.ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
1.3)ผู้บาดเจ็บจากสาธารณภัย
2.กลุ่มอาการหนัก ต้องหามนอนหรือนั่งมาอาการแสดงยังคลุมเครือ ต้องใช้การตรวจอย่างละเอียด
3.กลุ่มอาการหนักมาก หรือสาหัส ต้องการการรักษาโดยด่วน หรือช่วยชีวิตทันที
4.กลุ่มผู้เสียชีวิต เป็นกลุ่มหมดหวังในการรักษา
1.กลุ่มอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเดินได้ ถือว่าอาการไม่หนัก
5.หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
5.1)ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma care system)
3.การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care) คือ การดูแลตั้งแต่การคัดแยก ระบบทางด่วนฉุกเฉิน การวินิจฉัย การรักษาตามความเร่งด่วน ภายในโรงพยาบาล
1.การเข้าถึง หรือรับรู้เหตุที่เกิดขึ้น (Access) คือ ช่องทางสำหรับการติดต่อในการแจ้ง เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงระบบนี้ได้
4.การฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อ (Rehabilitation & transfer) คือ การดูแลต่อเนื่องในรายที่พบปัญหาหรือ ต้องฟื้นฟูให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังจากการได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
2.การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital care) คือ การจัดให้มีการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก (scene safety)
5.2)การดูแลผู้บาดเจ็บขั้นต้น
1.Primary Surveyเปgนการตรวจประเมินพยาธิสภาพหรือการเปลี่ยนแปลง ต้องเรียงลำดับความสำคัญของการบาดเจ็บ และภาวะคุกคามแก่ชีวิตให้ดี
A : Airway maintenance with cervical spine protection เริ่มต้นจากการประเมิน Airway เพื่อหาอาการที่เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้น การดูดเสมหะ การหาสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ การแตกหักของกระดูกใบหน้า เป็นต้น
C : Circulation with hemorrhagic control เป็นการประเมินในระบบไหลเวียนและการห้ามเลือด โดยประเมินจากสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว สีผิว อุณหภูมิ รวมถึงปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผล
D : Disability (Neurologic Status) เป็นการประเมินและตรวจหาความผิดปกติของระบบประสาท หรือการบาดเจ็บของไขสันหลัง หลังจากดูแลผู้ป่วย A, B, C โดยเริ่มประเมินจากระดับความรู้สึกตัว ใช้ Glasgow Coma Scale
E : Exposure / environmental control ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหนัก ควรถอดเสื้อผ้าออกให้หมดเพื่อค้นหาการบาดเจ็บอื่นๆ อาจใช้กรรไกรในการตัดเสื้อและกางเกงออกเพื่อจะได้ตรวจร่างกายอย่างถูกต้อง
B : Breathing and ventilation เป็นการประเมิน เพื่อช่วยหายใจและการระบายอากาศ เพื่อใหได้ออกซิเจน และขับคาร์บอนไดออกไซด์
2.Resuscitation เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตที่อาจทำให้เสียชีวิต
การดูแลทางเดินหายใจ
การช่วยหายใจ
การห้ามเลือด
การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
3.Secondary survey เป็นการตรวจร่างกายอย่างละเอียดหลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การซักประวัติ
การส่งทำ CT scan
การตรวจทางรังสีรักษา
4.Definitive care เป็นการรักษาหลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว
การผ่าตัด Craniotomy
การผ่าตัดหน้าท้อง Exploratory Laparotomy
การนอนรักษาตัวในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (Intensive care unit)
5.3)การกู้ชีพ (Resuscitation) เป็นการแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิตหรือที่เป็นอันตรายเร่งด่วน
Airway ภายหลังจากการประเมินผู้บาดเจ็บที่มีปัญหาการหายใจ รักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจ และควรกระทำแต่เริ่มต้น หรืออาจพิจารณาการใส่ท่อแทน
Breathing ผู้บาดเจ็บทุกรายควรได้รับออกซิเจนเสริม หากไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ควรได้รับออกซิเจนผ่านหน้ากาก (reservoir face mask) ด้วย flow rate 11 L/min
Circulation จำเป็นจะต้องห้ามเลือดและให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ แล้วควรเก็บเลือด เพื่อส่งตรวจและประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้น
4.ระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system)
4.1)หลักการดำเนินการระบบทางด่วน
1.การจัดทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่มาร่วมดำเนินการ
2.ทำแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย และกำหนดลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
3.จัดทำแนวปฏิบัติ ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงห้องฉุกเฉิน พร้อมกำหนดหน้าที่ต่างๆ
4.จัดทำรายการตรวจสอบ (check list) สำหรับการลงข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
5.ฝึกอบรมความรู้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามระบบทางด่วนอย่างมีประสิทธิภาพ
6.เน้นย้ำเรื่องเวลา และมีแผนการรองรับเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานที่กำหนด
7.กำหนด clinical indicator เพื่อการติดตามและประเมินผลในแต่ละขั้นตอนของระบบทางด่วน สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
4.2)บทบาทพยาบาลกับระบบทางด่วน (Fast track)
1.การประเมินเบื้องต้น โดยใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะโรค
3.การประสานงานผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
4.การจัดการและดูแลขณะส่งต่อ
5.การให้การดูแลตามแผนการรักษาภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด
6.การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
7.การให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความผิดปกติและติดตามการประเมินผลลัพธ์
8.การดำเนินงานเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวม
9.การจัดระบบให้มีการทบทวนและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2.การรายงานแพทย์ผู้รักษาเพื่อตัดสินใจสั่งการรักษา
4.3)บทบาทพยาบาลในระบบทางด่วน (Fast track)
1.การเข้าถึงและให้การพยาบาลอย่างเร่งด่วน
2.สามารถประเมินผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนได้
3.มีการปฎิบัติงานอย่างเป็นระบบ
4.ให้การพยาบาลตามวัตถุประสงค์และมีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ
5.มีการสืบสวนเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ
6.การดูแลหรือการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยความปลอดภัย
7.ดูแล Monitoring ให้สามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
8.มีการบริหารที่ถูกต้อง และสามารถจัดการความเสี่ยงได้
9.สามารถการประสานงาน สื่อสาร และส่งต่อโรงพยาบาล
10.การขนส่งระหว่างและภายในโรงพยาบาล
11.สามารถการประเมิน และอภิปรายผลลัพธ์การให้การพยาบาลได้
12.สามารถปรับปรุงนวัตกรรม และใช้การบูรณาการได้
3.การพยาบาลสาธารณภัย
3.1)ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสาธารณภัย/ภัยพิบัติ (Disaster)
1.ภัย (Hazard) หมายถึง เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดๆ ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
2.สาธารณภัย/ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ หรือจากการกระทำของมนุษย์แล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ภัยสาธารณะ
2.1)ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น คลื่นยักษ์ ดินถล่ม โรคระบาดในมนุษย์ เป็นต้น
2.2)ภัยที่เกิดจากคนทำ ได้แก่ สาเคมีรั่วไหล รถชน ตึกถล่ม
3.ภัยทางอากาศ ได้แก่ ปล้นเครื่องบิน
1.สาธารณภัย ได้แก่ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัยภัย ภัยแล้ง
4.การก่อวินาศภัย ได้แก่ ก่อการร้าย กราดยิง วางระเบิด
3.2)ประเภทของภัยพิบัติ
1.ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Disaster) ได้แก่ เกิดแบบฉับพลัน และเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป
2.ภัยที่เกิดจากมนุษย์ (Man-made Disaster) ได้แก่ เกิดอย่างจงใจและเกิดอย่างไม่จงใจ
3.3)การจัดระดับความรุนแรงของสาธารณภัยทางสาธารณสุข
ความรุนแรงระดับที่ 2 : สาธารณภัยขนาดกลาง ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการจัดการเข้าระงับภัย
ความรุนแรงระดับที่ 3 : สาธารณภัยขนาดใหญ่ มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษ และการสนับสนุนจากหน่วยงานหลายส่วนราชการระดับเขต
ความรุนแรงระดับที่ 1 : สาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วไปหรือมีขนาดเล็ก ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขในระดับอำเภอสามารถจัดการได้ตามลำพัง
ความรุนแรงระดับที่ 4 : สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงยิ่ง ต้องให้นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ควบคุมสถานการณ์
3.4)ประเภทของอุบัติภัยหมู่
1.Multiple casualties ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยไม่เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาล
2.Mass casualties ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลและทีมผู้รักษา
3.5)หลักการพยาบาลสาธารณภัย
1.การบรรเทาภัย (Mitigation) : กิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการเพื่อลดหรือกำจัดโอกาสในการเกิดหรือ ลดผลกระทบของการเกิดภัยพิบัติ
2.การเตรียมความพร้อม (Preparedness) : การรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เป็นระยะต่อเนื่องจากการบรรเทาภัย โดยการเตรียมคนให้พร้อม และมีแผนการตอบโต้ในภาวะฉุกเฉิน
3.การตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Response)
C – Communication
A – Assessment
E : Exact location : สถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจน
T : Type of accident : ประเภทของสาธารณภัย
M : Major incident : เป็นเหตุการณ์สาธารณภัยหรือไม่
H : Hazard : มีอันตราย หรือเกิดอันตรายอะไรบ้าง
A : Access : ข้อมูลการเดินทางเข้า-ออกจากที่เกิดเหตุ
N : Number of casualties: จำนวนและความรุนแรงของผู้บาดเจ็บ
E : Emergency service : หน่วยฉุกเฉินไปถึงหรือยัง
S – Safety A, B, C (Personal, Scene, Survivors)
T – Triage
C – Command
T – Treatment
T – Transportation
4.การควบคุมยับยั้งโรคและภัยอันตราย ต้องจัดให้มีระบบเฝ้าระวังภายใน 5 วันหลังภัยพิบัติ
5.การบูรณะฟื้นฟู (Recovery) เป็นระยะสุดท้ายในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ซึ่งต้องทำให้กลับสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
3.6)หลักการบริหารจัดการและรักษาผู้บาดเจ็บ
A (Assess Hazards) : การประเมินสถานที่ เพื่อระวังวัตถุอันตรายต่างๆที่อาจตกเหลือในที่เกิดเหตุ
S (Support) : การเตรียมอุปกรณ์และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในที่เกิดเหตุ
T (Triage/Treatment) : การคัดกรองและให้การรักษาที่รีบด่วนตามความจำเป็นของผู้ป่วย โดยใช้หลัก MASS Triage Model
S (Safety and Security) : การประเมินความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในที่เกิดเหตุ
I (Incident command) : ระบบการบัญชาเหตุการณ์และผู้ดูภาพรวมของการปฏิบัติการทั้งหมด
D (Detection) : การประเมินสถานการณ์ว่าเกินกำลังหรือไม่
E (Evacuation) : การอพยพผู้บาดเจ็บระหว่างเหตุการณ์
R (Recovery) : การฟื้นฟูสภาพหลังจากเกิดเหตุการณ์