Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยระบบหัวใจและระบบหลอดเลือด - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยระบบหัวใจและระบบหลอดเลือด
หลอดเลือดแดงอุดตัน
ปัจจัยเสี่ยงที่สนับสนุนการเกิดโรคของหลอดเลือดแดง
การสูบบุหรี่
โรคเบาหวาน
โรคอ้วน
ความดันโลหิตสูง
ไขมันในเลือดสูง
อายุมากกว่า 50 ปี
หลอดเลือดแดงอุดตันเฉียบพลัน
เป็นการอุดตันของหลอดเลือดแดงทันทีทันใดทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนปลายได้ไม่เพียงพอและเลือดบริเวณนั้นไม่สามารถมาเลี้ยงได้ทันเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็วใช้เวลาน้อยกว่า2สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
ปวดน่อง ถ้าเคลื่อนไหวจะปวดมากขึ้น
มีแผลที่นิ้วเท้าสีผิวเปลี่ยนเป็นคล้ำ
ขนหน้าแข้งร่วง
เล็บยาวช้า
คลำชีพจรได้เบา
หลอดเลือดแดงอุดตันเรื้อรัง
อาการสำคัญ
ตรวจชีพจรที่เท้าเบาลงหรือหายไป
ขาดเลือด
มีอาการขาดเลือดขณะพักหรืออยู่นิ่ง
ผิวหนังบางลง
Diagnosis
Ankle-brachial index
2.การตรวจทางรังสี
1.Hypertension
อาการ
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้
แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูง
นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกรายควรจะได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยาร่วมด้วย ดังนี้
ออกกำลังกายแบบแอโรบิก หมายถึงการออกกำลังกาย ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายนํ้า อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 15-30 นาที 3-6 วันต่อสัปดาห์ และการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
งดบุหรี่
รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ โดยการลดอาหารเค็มจัด ลดอาหารมัน เพิ่มผักผลไม้ เน้นอาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ หลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
อาการ
มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว
เจ็บบริเวณกลางหน้าอก
การรักษา
รักษาอาการเจ็บหน้าอก
ให้ non-steroidal anti inflamatory agents
ให้ร่วมกับยา colchicine 1 mg.ต่อวัน
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
สาเหตุ
การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
ยาที่มีพิษต่อหัวใจและสารเคมี
อาการ
หัวใจเต้นเร็วหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ตรวจพบหัวใจโตมีอาการของหัวใจวายหอบเหนื่อย
การรักษา
รักษาที่สาเหตุ
รักษาตามอาการ
นอนพัก
รักษาภาวะหัวใจวาย/หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ให้ยาลดการอักเสบ
ลิ้นหัวใจพิการ
โรคลิ้นหัวใจมีสาเหตุการเกิดหลายประการประกอบด้วยความพิการตั้งแต่กำเนิดและความพิการที่เกิดขึ้นภายหลังได้แก่การติดเชื้อหรือการเสื่อมสภาพของลิ้นหัวใจ
อาการ
อาจมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้
เหนื่อยง่ายกว่าปกติเมื่อออกแรง
การรักษา
การผ่าตัดลิ้นหัวใจ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ โดยอาจเกิดจากมีความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายหรือรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ
ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถแบ่งได้หลายชนิด แต่หากใช้การแบ่งตามระยะเวลาที่มีอาการสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute heart failure) เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการคงที่แต่กลับแย่ลงในเวลาไม่นาน
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ( chronic heart failure) พบได้ในผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันมาก่อนหรือไม่ก็ได้ แต่ในขณะที่ทำการวินิจฉัยผู้ป่วยมีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวและ/หรือมีการทำงานที่ผิดปกติไปของหัวใจคงอยู่เป็นเวลานาน
อาการ
อาการหายใจเหนื่อย เป็นอาการสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว โดยอาจมีอาการเหนื่อยในขณะที่ออกแรง อาการเหนื่อย/หายใจไม่สะดวกในขณะนอนราบ บางครั้งจะมีอาการไอในขณะนอนราบด้วย หรือในขณะนอนหลับต้องตื่นขึ้นเนื่องจากมีอาการหายใจไม่สะดวกซึ่งเป็นอาการจำเพาะสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว
อ่อนเพลีย เกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายลดลง ทำให้ความสามารถในการทนต่อการทำกิจกรรมหรือความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆ ของร่างกายลดลง
มีอาการบวมจากภาวะคั่งน้ำและเกลือ เช่น ที่เท้าและขามีลักษณะบวม กดบุ๋ม มีน้ำคั่งในปอดและอวัยวะภายใน เช่น มีตับ ม้ามโต มีน้ำในช่องท้อง ทำให้มีอาการท้องบวม ท้องโตขึ้น แน่นอึดอัด
การรักษา
การรักษาด้วยยา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ยากลุ่มลดการกระตุ้นระบบนิวโรฮอร์โมน ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวรชนิดที่ทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาบีบตัวพร้อมกัน ร่วมหรือไม่ร่วมกับเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย
การผ่าตัดใส่เครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจ
การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว