Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพคุณแม่หลังคลอด B-9 นศพต.นัจชรวรรณ ศักดิ์ทรัพย์ทวี…
การประเมินภาวะสุขภาพคุณแม่หลังคลอด B-9
นศพต.นัจชรวรรณ ศักดิ์ทรัพย์ทวี เลขที่34
ข้อมูลส่วนบุคคล
หญิงหลังคลอด อายุ21ปี G3P20A0 GA38+1wks by date ปัจจุบันทำอาชีพค้าขาย ระดับการศึกษาม.3 น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 41kg หลังตั้งครรภ์ 55.7kg
ประวัติการตั้งครรภ์
G1 ปี2560 Fullterm Normal labor เพศชายหนัก 3050g ปัจจุบันแข็งแรงดี
G2 ปี2562 Fullterm Normal labor เพศหญิงหนัก 2500g ปัจจุบันแข็งแรงดี
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
ทารกคลอดวันที่ 10กุมภาพันธ์ 2565 เวลา04.26น.
เพศหญิง Apgar score 9,10,10
น้ำหนัก 2580g
อาการสำคัญ : เจ็บครรภ์คลอด 9ชม. PTA
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน : 9ชม.PTA เจ็บครรภ์คลอด ท้องแข็งทุก1นาที ห่างกัน5-15นาที มีมูกเลือด ไม่มีน้ำเดิน ไม่มีจุกแน่นลิ้นปี ไม่มีตาพร่ามัว ไม่เวียนศีรษะ ลูกดิ้น> 10ครั้ง/วัน
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
มารดาของผู้ป่วยเป็นโรคไทรอยด์
การประเมินมารดาหลังคลอดตามหลัก 12B
Body condition
ข้อมูลส่วนตัว
หญิงหลังคลอด อายุ21 ปี G3P2-0-0-2 GA 38+4 wks by date ระดับการศึกษา ม.3 อาชีพค้าขาย รายได้เฉลี่ย 10000 บาท อาศัยอยู่กับสามีและมารดา น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 41kg ขณะตั้งครรภ์ 55.7kg bmi 18.46 kg/m2
Body temperature & Blood pressure
11/02/65
temp 37.1
PR 80ครั้ง/นาที
BP 125/87 mmHg
RR 18 ครั้ง/นาที
pain score 2
Breast & Lactation
ไม่มีอาการคัดตึงเต้านม ไม่เจ็บ หัวนมปกติดี น้ำนมไหล3+ ประเมินLatch score ได้10คะแนน
Bellt & Fundus
มารดาได้รับการผ่าตัดทำหมัน ไม่สามารถทำการคลึงมดลูกได้
Bladder
Day2 ปัสสาวะ4ครั้ง ไม่มีอาการแสบขัด ปัสสาวะเหลืองใส ไม่มีตะกอน
Day3 ปัสสาวะ2ครั้ง ปัสสาวะเหลืองใส ไม่มีตะกอน
Bleeding & Lochia
Day 2 น้ำคาวปลามีสีแดง ตั้งแต่เวลา08.00น.ถึงเวลา16.00น. มารดาเปลี่ยนผ้าอนามัยไปทั้งหมด 4แผ่น ปริมาณน้ำคาวปลา 40ml
Day3 น้ำคาวปลามีสีแดงจางลง มารดาเปลี่ยนผ้าอนามัยไปทั้งหมด 2แผ่น ปริมาณน้ำคาวปลา 20ml
Bottom
ไม่มีการตัดฝีเย็บ ฝีเย็บไม่บวมแดง ไม่มี hematoma
tear ระดับ2
Bowel movement
Day2 ไม่มีอาการท้องอืด แต่ไม่ถ่าย
Day 3 ไม่มีอาการท้องอืด ถ่าย1ครั้ง
Blues
สามารถปรับตัวเข้าหาทารกได้ สนใจดูแลทารกได้ดี มีการกอด ไม่มีอาการเครียด หรือวิตกกังวล
Bonding & Attachment
มีปฏิสัมพันธ์กับทารกที่ดีเยี่ยม มีการอุ้มทารกมากอด มีการeye contact ใส่ใจทารกดี
Baby
ทารกเพศหญิง คลอดวันที่10กุมภาพันธ์ 2565 เวลา04.26น. น้ำหนัก 2580g ยาว48cm. Apgar score 9 10 10 No Problem at birth
ปัญหาทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังทำหมัน
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากการทำหมัน
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัดทำหมัน
การวางแผนจำหน่ายมารดาและทารก
D-MEDTHOD
D-Diet
แนะนำอาหารหลังคลอดที่มารดาควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยง
อาหารแม่หลังคลอดที่ควรหลีกเลี่ยง
-หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัดและกลิ่นฉุนแรง เพราะคุณแม่อาจแสบกระเพาะอาหารได้ง่าย
-หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง กาแฟ ชา น้ำอัดลม เพราะสามารถผ่านทางน้ำนมได้
-อาหารที่ผ่านการปรุงด้วยผงชูรส ผงปรุงรส สารปรุงแต่งต่างๆเช่น กุนเชียง ลูกชิ้น ไส้กรอก ไม่ควรรับประทาน
-หากต้องการรับประทานยา ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะยาบางอย่างอาจส่งผ่านไปยังน้ำนมได้
อาหารหลังคลอดที่ควรรับประทาน
-ใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารที่สด สะอาด และปรุงสุกทั่วถึง
-รับประทานอาหารให้ครบ3มื้อ อาจจะมีอาหารว่างสัก1มื้อ
-เลี่ยงอาหารมันๆทอดๆ การดื่มนมมากเกินไป เพราะอาจทำให้ท่อน้ำนมอุดตันได้ในกรณีแม่ให้นมบุตร
-เพิ่มเครื่องเทศลงในส่วนประกอบของอาหาร เช่น ขิง พริกไทย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และขับลม
-ไม่ควรอดอาหาร แต่ควรเพิ่มเมนูอาหารที่มีสรรพคุณเรียกน้ำนม เช่น น้ำขิง ไก่ผัดขิง แกงใส่หัวปลี
-ดื่มน้ำอุ่นมากๆ ช่วยไหลเวียนโลหิต กระตุ้นการหลั่งน้ำนมได้มากขึ้น
เพิ่มปริมาณในการกินไข่ ขึ้นมามื้อละ 1ฟอง
M-Medication
มารดาหลังคลอดต้องได้รับรู้เกี่ยวกับยา
ด้านมารดา
รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง คือ Nataral1 oral x pc. และparacetamol 500MG 1เม็ดทุก6ชั่วโมง หรือมีอาการปวด
ด้านทารก
ให้มารดาหลังคลอดใช้ Providine เช็ดสะดือบุตรวันละ2ครั้ง เช้า เย็น หรือทุกครั้งที่สะดือเริ่มแฉะ
E-Environment
เนื่องจากมารดาหลังคลอดต้องการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ เพราะตลอดเวลาช่วงกลางวันและกลางคืน จะต้องตื่นมาให้นมบุตรทุก1-2ชั่วโมง เมื่อถึงเวลาที่ต้องนอนหลับ คุณแม่จะต้องการการนอนหลับที่สนิทและเพียงพอ โดยการช่วยเริ่มจัดบรรยากาศภายในห้องนอน ให้เอื้อต่อการนอนหลับมากที่สุด หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ ก็ให้เปิดหน้าต่างเพื่อให้มีลมผ่านเข้ามา และถ่ายเทอากาศภายในห้องนอนออกไปด้วย เพราะห้องนอนที่มีอากาศถ่ายเท มีลมพัดผ่านเข้าออก จะช่วยให้คุณแม่หลับได้ง่ายขึ้น ตื่นนอนมาก็จะรู้สึกสดชื่น ร่างกายและจิตใจที่สดชื่น
T-Treatment
มารดาและครอบครัว เข้าใจเป้าหมายของการรักษา และเข้าใจคำแนะนำทักษะที่จำเป็นในการเลี้ยงดูบุตร การปฏิบัติตัวหลังคลอดและการสังเกตความผิดปกติของตัวเองที่เกิดขึ้น หากมีอาการผิดปกติหลังคลอด ให้รีบรายงานอาการต่อแพทย์และพยาบาลและสังเกตเฝ้าระวังตนเอง
ด้านมารดา
อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัดคือ มีไข้สูง น้ำคาวปลาสีแดงสด น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นเน่า แผลฝีเย็บบวมแดง เป็นหนอง เต้านมอักเสบบวมแดง
ด้านทารก
ให้มารดาสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดกับทารก เช่น ตาเหลือง ตัวเหลือง ไม่ยอมดูดนม ท้องอืด
O-Outpatient
คือการอธิบายความสำคัญของการมาตรวจตามนัด ให้ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด ให้ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดตามที่แพทย์ระบุคือ 4-6สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของร่างกายคุณแม่แต่ละคนด้วย ไม่ควรละเลยการมาตรวจตามนัดของแพทย์ เพราะจะได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
โดยแพทย์จะตรวจหลักๆเลยคือ
การตรวจดูภายใน
เพื่อดูว่าแผลฝีเย็บนั้นติดสนิทดีหรือยัง มดลูกเข้าอู่เรียบร้อยหรือไม่
ตรวจดูร่างกายทั่วไป
ตรวจดูเต้านมคุณแม่ว่าปกติดีหรือไม่ น้ำนมไหลดีไหม
ถ้าเกิน2สัปดาห์แล้วมดลูกยังอยู่ในช่องท้อง ถือว่าผิดปกติ
น้ำคาวปลา จากที่สีกำลังจะจางลง ถ้ากลับมาเข้ม ก็ถือว่าผิดปกติ
H-Health
มารดาหลังคลอดและครอบครัวต้องเข้าใจสภาวะสุขภาพของตนเองว่ามีการเปลี่ยนแปลงยังไง และต้องดูแลตนเองแบบไหน
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดและเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ได้ดี หาดเกิดอาการผิดปกติเช่น แผลมีเลือดออก บวมแดง ให้รีบมาพบแพทย์
ดูแลเรื่องแผลผ่าตัด ระมัดระวังอย่าให้แผลผ่าตัดทำหมันโดนน้ำเป็นเวลา7วัน และคอยสังเกตลักษณะของแผล หาแผลมีหนองหรือเลือดซึม บวม เจ็บมาก ให้รีบมาพบแพทย์
รักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ หลังคลอดบุตร ร่างกายมีภาวะเหงื่อออกมาก เวลาเข้าห้องน้ำ ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดจากหน้าไปหลัง เพื่อป้องการการติดเชื้อของแผล
ดูแลเต้านม และการหลั่งของน้ำนม โดนมารดาหลังคลอดต้องให้นมบุตรไปจนถึงบุตรอายุ6เดือน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของบุตร เวลาทารกดูดนม ให้ดูดจนถึงลานนม ไม่ให้ดูดแค่หัวนม เพื่อป้องกันหัวนมแตก
แนะนำเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ ห้งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อยเป็นเวลา6สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและกระทบกระเทือนแผล
การพักผ่อน ควรนอนให้ได้มากที่สุดตอนลูกหลับ เพราะร่างกายนั้นยังคงอ่อนเพลียจากการทำคลอดและทำหมันมา
ไม่ควรยกของหนักภายใน6สัปดาห์แรก แต่สามารถทำงานบ้านเบาๆได้ เช่นทำกับข้าว ล้างจาน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีภาวะไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
SD: มารดาบ่นบอกว่าปวดแผลที่ผ่าตัดทำหมัน
OD: มีแผลผ่าตัดทำหมันที่หน้าท้อง
มารดาลุกนั่งลำบาก สีหน้าแสดงความเจ็บปวดขณะขยับตัว pain score 7คะแนน
วัตถุประสงค์
1.มารดาปวดแผลผ่าตัดลดลง
2.มีภาวะสุขสบายมากขึ้น สามารถดูแลบุตรได้ดีมากขึ้น ขยับตัวสะดวกขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
1.มีอาการปวดแผลลดลง สีหน้าดูดีขึ้นเวลาขยับตัว
2.เคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกมากขึ้น สามารถให้นมบุตรในท่านั่งได้
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการปวด สอบถามเกี่ยวกับอาการปวดแผลผ่าตัดทำหมัน Tubal resection และสังเกตลักษณะของแผลว่ามีอาการบวม มีเลือดซึมออกจากแผล และต้องบอกมารดาว่าห้ามนำแผลโดนน้ำเป็นเวลา7วัน
2.ดูแลทำความสะอาดแผล และคอยสังเกตลักษณะของแผลว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถ้าแผลมีอาการบวมแดง มีเลือดซึม ให้รีบแจ้งแพทย์
3.โดยทั่วไปมักมีอาการปวดแผล หากปวดมากให้ยาพาราเซตามอล ตามแผนการรักษาของแพทย์
4.ให้มารดานอนพักอยู่บนเตียงนอนเป็นเวลา6-8ชั่วโมง เพื่อลดการกระทบกระเทือนของแผล
5.ช่วยเหลือทำกิจกรรมบางอย่างที่มารดายังไม่สามารถทำได้
6.จัดท่าให้สุขสบายเวลาให้นมบุตร
การประเมินผล
1.มารดาหลังคลอดบ่นปวดแผลผ่าตัดน้อยลง
2.มีสีหน้าสดชื่นมากขึ้น เวลาพูดคุย ไม่แสดงสีหน้าว่าปวดหรือเจ็บแผล
3.ระดับความเจ็บปวดลดน้อยลง pain score 2คะแนน
4.แผลที่ผ่าตัดแห้งดี ไม่มีเลือด ไม่มีdischarge ซึมออกนอกแผล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดทำหมัน
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยมีการผ่าตัดทำหมันแบบ Tubal resection
วัตถุประสงค์
ไม่มีอาการติดเชื้อหลังจากการทำหมัน
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีsign ของการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด เช่น มีไข้สูงมากกว่า37.5 หนาวสั่น
2.ลักษณะแผลแห้งดี ไม่บวมแดง มีหนอง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมิน v/s และ pain score ทุกๆ4ชั่วโมง เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของร่างกายต่อการติดเชื้อที่แผล
2.ประเมินอาการของการติดเชื้อ หากพบอาการแสดงของการติดเชื้อเช่น มีไข้สูงมากกว่า37.5 บริเวณแผลมีหนอง เลือดซึม มีการปวดแผลมาก ให้รีบรายงานแพทย์เพื่อทำการรักษา
3.ระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำเป็นเวลา7วัน
4.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
การประเมินผล
1.ไม่มีการติดเชื้อของแผล
2.ไม่มีไข้ อุณหภูมิ 36.5องศาเซลเซียส
3.บริเวณแผล แห้งดี ไม่บวมแดง
HBs Ag : negative
VDRL : non reactive
HIV : non reactive
Screening test for Thalassemia
Hb E screening (DCIP): negative