Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาของ ระบบทางเดินปัสสาวะ ระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาของ
ระบบทางเดินปัสสาวะ ระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
ภาวะไตวายเฉียบพลัน
ภาวะไตวายเฉียบพลันคือ ภาวะที่ไตสูญเสียหรือทำหน้าที่ได้ลดลงอย่างเฉียบพลัน ในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือวัน และอยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน
อาการ ปัสสาวะออกลดลง บวม เหนื่อยง่าย สับสน มึนงง หัวใจเต้นผิดปกติ
สาเหตุ ภาวะที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ, ภาวะเลือดออก, ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น ภาวะไตบาดเจ็บโดยตรง เช่น การได้ยาที่มีพิษต่อไต, การได้รับสารทึบรังสีทางหลอดเลือด, โรคไตอักเสบ เป็นต้น ภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่นภาวะนิ่ว, โรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น
การรักษา รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ให้เป็นปกติ ปรับขนาดยาตามการทำงานของไตที่ลดลง หลีกเลี่ยงการฉีดสารทึบรังสีหรือยาที่มีผลเสียต่อไตที่ไม่มีความจำเป็น การรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต กรณีที่มีอาการสารน้ำเกิน หรือเกลือแร่ผิดปกติร้ายแรงที่อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต
ไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD) หมายความว่าไตของท่านถูกทำลายและไม่สามารถกรองเลือดได้ตามปกติ และเป็นโรค “เรื้อรัง” เนื่องจากการทำลายที่ไตของท่านเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นระยะเวลานาน การทำลายนี้อาจทำให้เกิดของเสียสะสมในร่างกาย นอกจากนี้ โรคไตเรื้อรังยังเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกด้วย
สาเหตุ 1.จากพันธุกรรม โดยอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือค่อยๆ แสดงอาการในภายหลังก็ได้ เช่น โรคถุงน้ำที่ไต 2. เกิดจากโรคอื่นที่มีผลกระทบกับไต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น 3. การทานอาหารรสจัดไม่ใช่เพียงแค่รสเค็ม รวมไปถึงหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วยเช่นกัน ไตอักเสบ ภูมิเเพ้ตนเอง นิ่ว มะเร็งไวรัส
อาการ ปัสสาวะเป็นเลือด ปกติแล้วปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มน้ำในขณะนั้น แต่ถ้าพบว่าปัสสาวะมีเลือดปน อาจจะเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ปัสสาวะเป็นฟอง เกิดจากการมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งมักเป็นอาการของภาวะโรคไตเรื้อรัง ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ ผู้ที่ไตมีความผิดปกติ เช่น โรคไตเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถดูดน้ำกลับเก็บในกระเพาะปัสสาวะได้ปกติ จึงทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ มีอาการบวมของหน้าและเท้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ บางรายน้ำหนักลด แต่บางรายผู้ป่วยอาจจะตัวบวม น้ำหนักขึ้นก็ได้ ผิวหนังจะซีด คัน มีจ้ำเลือดขึ้นง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้
การดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังมีหลายลักษณะ โดยจะต้องรักษาตามระยะของโรค ดังนี้ โรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 ต้องงดสูบบุหรี่ รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไต โรคไตเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังระยะที่ 2 ต้องจำกัดความเค็ม โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำกัดอาหารโปรตีน โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 จำกัดการกินผลไม้ โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ต้องรักษาโดยการล้างไตหน้าท้อง ฟอกเลือด หรือผ่าตัดปลูกไต ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ต่อมลูกหมากโต
โรคต่อมลูกหมากโต หรือ BPH (Benign Prostate Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะล้อมรอบท่อปัสสาวะมีขนาดใหญ่ผิดปกติจนไปบีบท่อปัสสาวะให้แคบลง พบในผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และโดยเฉพาะในผู้ชายสูงวัยอายุ 70 ปีขึ้นไปพบมากถึง 80%
อาการ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือต้องเบ่งปัสสาวะจนกว่าจะออก ปัสสาวะไม่พุ่ง สะดุดเป็นช่วง ๆ มีปัสสาวะหยดเมื่อใกล้จะสุด ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน ปวดปัสสาวะรุนแรงมาก
สาเหตุ ยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงสาเหตุที่แน่ชัด
อาจสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย
การรักษา หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา ควรงดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน แพทย์อาจะสั่งยาบางชนิดให้ รักษาด้วยความร้อน (การใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก) สามารถใช้เพื่อลดอาการของต่อมลูกหมากโตได้ โดยจะมีการใช้พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟหรือคลื่นความถี่วิทยุจำนวนเล็กน้อยในการรักษา รักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก (TURP) วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีผ่าตัดที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แพทย์ผ่าตัดจะส่งท่อที่มีกล้องขนาดเล็กผ่านเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรงปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนที่กดทับท่อปัสสาวะไว้ ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา
มะเร็งต่อมลูกหมาก
อาการ มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใดๆ แต่เมื่อมะเร็งขยายตัวมากขึ้นจนไปกดทับท่อปัสสาวะ จะทำให้เกิดอาการแปรปรวนของระบบทางเดินกระเพาะปัสสาวะส่วนล่าง เช่น ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีอาการแสบขัดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะไม่พุ่งหรือต้องใช้เวลาในการเบ่ง หากปล่อยทิ้งไว้ผู้ป่วยจะปัสสาวะลำบากและบ่อยขึ้น จนถึงขั้นปัสสาวะเป็นเลือดได้
การรักษา การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้วิธีส่องกล้อง การฉายรังสี (การฉายแสง) การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด (Robotic–assisted Surgery) เคมีบำบัด การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เวชศาสตร์นิวเคลียร์
สาเหตุ มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากการเจริญเติบโตและแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ต่อมลูกหมากจนกลายเป็นก้อนมะเร็ง โดยเซลล์มะเร็งเหล่านั้นจะสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด หรือต่อมน้ำเหลืองไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหายและถูกทำลายในที่สุดปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ได้ แต่จากสถิติพบว่า มะเร็งต่อมลูกหมากมักเกิดกับผู้ชายที่มีอายุ 50-60 ปีขึ้นไป และพบมากในชายผิวขาวชาวตะวันตก จึงสันนิษฐานได้ว่าสาเหตุของโรคนี้อาจมีความเชื่อมโยงกับพันธุกรรมและพฤติกรรมการกินอาหาร โดยผู้ชายที่สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จะมีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนทั่วไป
มะเร็งต่อมลูกหมาก ถูกจัดให้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในผู้ชายไทย และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยลักษณะของโรคที่มีการเติบโตอย่างช้าๆ และไม่มีอาการบ่งชี้ที่ชัดเจน หรือหากมีอาการก็จะมีลักษณะคล้ายกับอาการต่อมลูกมากโต หรือต่อมลูกหมากอักเสบ ทำให้ถูกมองว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามวัย กว่าจะตรวจพบก็เป็นมากหรือลุกลามไปสู่อวัยวะสำคัญอื่นๆ ของร่างกาย
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ(Cystitis) เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection : UTI) จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคบริเวณดังกล่าวจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย
อาการ มีอาการขัดเบา คือ ถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอย(ปัสสาวะทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง) มีอาการคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุด รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อยหรือหัวหน่าว ปวดแสบ ขัด ขณะปัสสาวะโดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด ปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ ในรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะมีเลือดปน มักไม่มีไข้(ยกเว้นถ้ามีกรวยไตอักเสบร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะสีขุ่น และมีอาการปวดเอวร่วมด้วย) ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะ รดที่นอน และอาจมีไข้เบื่ออาหาร อาเจียนร่วมด้วย
การรักษา ให้ยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสม ทั้งชนิดยา ขนาดยาและระยะเวลาที่ให้ ให้ยารักษาอาการเช่น อาการปวด อาการเจ็บแสบ อาการปัสสาวะลำบาก ให้ดื่มน้ำเสมอๆ วันละ 2-5 ลิตรต่อวัน (24 ชั่วโมง) ให้รักษาอนามัยของร่างกายและอนามัยในกิจกรรมทางเพศ ต้องติดตามตรวจปัสสาวะหลังให้ยารักษา (5-10 วัน)
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบบ่อยในผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย จึงทำให้เชื้อโรคเข้าไปในร่างกายได้ง่ายกว่า แต่ในบางรายอาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะบ่อย ระบบโครงสร้างของระบบปัสสาวะผิดปกติ หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว เป็นต้น