Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะต่อรอง (Bargaining)
เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย อาจจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทําบางอย่างที่ค้างคา หรือยังไม่ได้พูดอะไรกับใคร
ระยะซึมเศร้า (Depression)
เมื่อผ่านระยะปฏิเสธ เสียใจ หรือระยะต่อรองไปสักระยะ ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น
ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ และเป็นการเยียวยาความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย หรือข่าวร้ายที่ได้รับ ความโกรธอาจจะขยายไปยังแพทย์ ครอบครัว ญาติ เพื่อน และทุกอย่างรอบตัว
ระยะยอมรับ (Acceptance)
เป็นปฏิกิริยาระยะสุดท้าย เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดําเนินชีวิตต่อไปได้
ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล จะรู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา และอาจขอย้ายสถานที่รักษา
พยาบาลมีบทบาทดังนี้
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย ซึ่งความหมายของชีวิตจะช่วยให้ครอบครัวใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่าและมีความหมายในหนทางที่เป็นจริง และตระหนักว่าการมีชีวิตอยู่เพื่อใครบางคน หรือเพื่ออะไรบางอย่าง
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วย
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของโรคการดําเนินโรคอาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบันและทําปัจจุบันให้ดีที่สุด
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดําเนินโรค แนวทางการรักษา
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์ ตามหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก ไม่บีบบังคับให้ความโกรธลดลงในทันที ควรให้ความเคารพผู้ป่วย เข้าใจ เห็นใจ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความผาสุกทางจิตใจ เผชิญกับสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว สอบถามความรู้สึกและความต้องการการช่วยเหลือ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
หมดกําลังใจในการต่อสู่กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
ท้อแท้ ผิดหวังต่อโชคชะตาเนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิงศักดิ์สิทธิ์
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
กลัวตาย
มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยรุนแรงของผู้ป่วย
มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
เศร้าโศกทุกข์ใจเนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความสําคัญต่อตน
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม (ก้าวร้าว ด่าว่า เอะอะโวยวาย) เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได้
หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆเนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Multidisciplinary teamในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา ส่งผลให้แพทย์แต่ละสาขามุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลยเนื่องจากทีมสุขภาพมักมุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ความไม่แน่นอนของอาการการรักษาในไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
ทรัพยากรมีจํากัดเนื่องจากเตียงผู้ป่วยในไอซียู รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ มีจํากัด
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วยที่เข้ารักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมักขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลงอย่างเฉียบพลัน
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตไอซียูเป็นหอผู้ป่วยที่มีอัตราการตายสูง
Professional cultureบุคลากรของทีมสุขภาพที่ทํางานอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติจะคุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วยเพื่อมุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ได้แก่ การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล จัดตั้งคณะกรรมการด้านจริยธรรมในโรงพยาบาล จัดทําคู่มือแนวทางปฏิบัติในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จริยธรรมสําหรับการทํางานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ และการทําตนให้เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
การดูแลแบบผสมผสาน
การผสมผสานกายจิต
อาหารและสมุนไพร
ระบบการแพทย์เฉพาะ
พลังบําบัด
ทีมสุขภาพที่ทํางานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
ประเด็นจริยธรรมที่สําคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assisted suicide)คือ การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจํานวนจํากัด
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withholding of life-sustaining treatment) หมายถึง การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช;วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withdrawal of life-sustaining treatment) หมายถึง การเพิกถอนใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา เช่น การเพิกถอนเครื่องช่วยหายใจ
การบอกความจริง(Truth telling)
การุณยฆาตหรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ(mercy killing or euthanasia)
การทําการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntaryeuthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้ เข้าใจถึงอาการ การดําเนินของโรค และทนทุกข์กับความทรมานต่อความเจ็บปวด
การทําการุณยฆาตโดยทู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntaryeuthanasia)คือ การทําให้ผู7ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา
สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง
บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ(Organ transplantation)
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
ภาวะสับสน (Delirium)
ภาวะซึมเศร้า (Depression)
การประเมินด้านสังคม
ความต้องการของครอบครัว
ผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver)
ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว
เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม
การประเมินอาการทางร่างกาย
ระบบหายใจ ได้แก่ อัตราการหายใจเปลี่ยนแปลง ลักษณะการหายใจแบบCheynes-strokes ใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ
ระบบประสาท ได้แก่ มีความไวต่อแสงจ้ามากขึ้น ระดับความรู้สึกตัวลดลง ง่วงซึมมาก รับรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวลดลง ปลุกตื่นยาก สับสน
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ความดันโลหิตต่ํา ลงผิวหนังจะเริ่มเย็น ชื้น ซีด จากนั้นจะคล้ําขึ้นตามส่วนต่างๆของร่างกาย
ระบบการควบคุมหูรูด ได้แก่ ไม่สามารถกลั้นปnสสาวะและอุจจาระได้ หรือมีปัสสาวะค้าง
ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลําบาก ไอ สําลักสูญเสียปฏิกิริยาการกลืนและการขย้อน
ระบบขับถ่าย ได้แก่ ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก ปัสสาวะสีคล้ํา ถ่ายเหลวหรือท้องผูก
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
ใช้เป็นเกณฑ์การัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้าดูแลในสถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Hospice)
ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆและติดตามผลการรักษา
ใช้ในการวิจัย
เพื่อสื่อสารอาการปnจจุบันของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรในทีมที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มองเห็นภาพของผู้ป่วยและการพยากรณ์โรคไปในแนวทางเดียวกัน
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
การดูแลตามแนวคิดนี้จึงเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
ทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
ความสงบ ผ่อนคลาย (ease) หมายถึง ความไม่สุขสบายหายไปหรือสงบผ่อนคลาย
อยู่เหนือปัญหา (transcendence) หมายถึง ความสุขที่อยู่เหนือความไม่สุขสบายทั้งปวงแม้ว่าจะไม่สามารถขจัดหรือหลีกเลี่ยงได้
บรรเทา (relief) หมายถึง ความไม่สุขสบายที่มีอยู่ทุเลาเบาบางลง
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
การสอน แนะนํา เป็นพี่เลี้ยง (coaching) ได้แก่ ให้กําลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟnงและช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
อาหารด้านจิตวิญญาณ (comfort food for the soul) เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทําแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ เช่น จินตบําบัด การนวด
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis) ควบคุมความปวดและความไม่สุขสบายต่างๆ
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี (Good death) ให้ช่วงท้ายของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
แนะนําให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล้วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
การดูแลทั่วไป
การดูแลผู้ป่วยที่กําลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การช่วยเหลือดูแลทางกายตามอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
การสื่อสาร
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ
หลีกเลี่ยงคําศัพท์แพทย์
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ;งตามช;วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียู
ควรมีแผ่นพับแนะนําครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทําการประชุมครอบครัว
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
ภาวะใกล้ตายหมายถึง ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต
การดูแลระยะท้าย (End of life care)หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
การเจ็บป่วยระยะท้าย หมายถึง ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต