Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย
หมายถึง ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น
มีผลกระทบต่อผู้ป่วยและญาติ เช่น มีความเครียด สับสน
กังวลใจ บั่นทอนทำลายความหวัง กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้รักษากับผู้ป่วย
ปฏิกิริยาการรับรู้ข่าวร่าย 5 ระยะ
ระยะปฏิเสธ: ตกใจ ช็อคและปฏิเสธการรับรู้
ระยะโกรธ: อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ต่อต้าน
ระยะต่อรอง: แฝงด้วยความรู้สึกผิด ค้างคาที่ยังไม่ได้บางอย่าง หรือไม่ได้พูดอะไรกับใคร
ระยะซึมเศร้า: ออกห่างจากสังคม เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูด ถามคำตอบคำ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หงุดหงิดง่าย
ระยะยอมรับ: เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความจริง
บทบาทพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจ
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริง
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติ
การดูแลระยะท้ายของชีวิต
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care):
มุ่งเน้นในช่วงของการเจ็บป่วยในช่วงปีหรือเดือนท้ายๆของชีวิตการดูแลตามแนวคิดนี้จึงเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม
ดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory):
เน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาลความสุขสบายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) บรรเทา (relief)
2) ความสงบ ผ่อนคลาย (ease)
3) อยู่เหนือปัญหา (transcendence)
กิจกรรมส่งสริมความสุขสบาย
การสอน แนะนำ เป็นพี่เลี้ยง (coaching)
อาหารด้านจิตวิญญาณ ดูแล ใส่ใจ เอื้ออาทร
ดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี
การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต
การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
การทำการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntary euthanasia) และ
การทำการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntary euthanasia)
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ การให้ความรู้เครื่องมือ
หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทำให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายไดสำเร็จ
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด
การบอกความจริง ได้แก่
1) การบอกความจริงทั้งหมด
2) การบอกความจริงบางส่วน
3) การหลอกลวง
4)การประวิงเวลาการบอกความจริง
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
การประเมินอาการทางร่างกาย
ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ทานอาการและน้ำได้น้อย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ ลง ผิวหนังจะเริ่มเย็น ชื้น ซีด
ระบบหายใจ ได้แก่ อัตราการหายใจเปลี่ยนแปลง มีสิ่งคัดหลังในปากหรือทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น
ระบบประสาท ได้แก่ มีความไวต่อแสงจ้ามากขึ้น ระดับความรู้สึกตัวลดลง ง่วงซึมมาก ปลุกตื่นยาก
ระบบการควบคุมหูรูด ได้แก่ ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะและอุจจาระได้
ระบบขับถ่าย ได้แก่ ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก ปัสสาวะสีคล้ำ ถ่ายเหลวหรือท้องผูก
การประเมินด้านจิตใจ
ภาวะซึมเศร้า
ภาวะวิตกกังวล
ภาวะสับสน
การประเมินด้านสังคม
บทบาทครอบครัว
ความรักความผูกพันของผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัว
ความต้องการครอบครัว
ที่อยู่อาศัยสิ่งแวดล้อม
เครื่องข่ายทางสังคม
Palliative Performance Scale (PPS)
วัดจากความสามารถ 5 ด้านของผู้ป่วย คือ ความสามารถในการเคลื่อนไหว กิจกรรมและ
ความรุนแรงของโรค การดูแลตนเอง การกินอาหาร และความรู้สึกตัว
การสื่อสาร
สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว ไม่มีการรบกวน
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
มีความเห็นใจ
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน
การจัดการอาการไม่สุขสบาย
อาการปวด ปวดรุนแรงมากจะให้ยามอร์ฟีน
อาการท้องผูก ควรจัดอาหารให้มีใยอาหาร
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ควรจัดอาหารที่ย่อยง่ายครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
อาการปากแห้ง เจ็บในปาก กลืนลำบาก ดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
อาการท้องมานหรือบวมในท้อง จัดนอนศีรษะสูง หรือนั่งพิง
อาการไอ ป้องกันระวังการสำลัก
อาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก พักให้ท่าศีรษะสูงเล็กน้อย
อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หาอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้สะดวก
อาการบวม อย่าให้เกิดแผลต่างๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
การเกิดแผลกดทับ พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง
ดูแลด้านอารมณ์
แนะนำให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
ดูแลด้านจิตวิญญาณ
ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณ
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อ
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต
ทำการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
ยุติการเจาะเลือด
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ทำความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จำเป็น
นำสายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นออก
ควรทำการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ
ให้ยาที่มักจำเป็นต้องได้ เช่น มอร์ฟีน ยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepine ยาลดเสมหะ
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย