Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การกำหนดราคา, นาย ฐิติวัฒน์ วุน - Coggle Diagram
การกำหนดราคา
-
วิธีการตั้งราคาโดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์ การพิจารณาตั้งราคา โดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์นั้น สามารถจำแนกได้เป็นลักษณะย่อยๆ ดังนี้ - การตั้งราคาในตลาดผูกขาด
-
เพื่อนำไปขยายกิจการต่อไป
2) เพื่อต้องการเพิ่มเงินสดหมุนเวียน ในกรณีที่กิจการเผชิญกับปัญหาเงินทุนหมุนเวียน ขาดแคลนจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงจำเป็นต้องปรับราคาและส่วนลด
- การกำหนดราคาที่มุ่งกำไร โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อให้ได้ผลตอบแทน (กำไร) จากการลงทุน เช่น ต้องการผลตอบแทน 20% จากการลงทุน ต้องการผลตอบแทน 15% จากยอดขาย เป็นต้น
2) เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด กิจการที่แสวงหาผลกำไรสูงสุดก็เพื่อต้องการคืนทุนอยางรวดเร็ว เป็นการมุ่งหวังผลในระยะสั้น
3) เพื่อดำรงการดำเนินธุรกิจให้คงอยู่ต่อไป กรณีที่กิจการเผชิญกับปัญหาวิกฤติในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซา อาจต้องลดราคาสินค้าเพื่อให้กิจการสามารถดำเนินอยู่ได้
- การกำหนดราคาที่มุ่งยอดขายหรือปริมาณการขาย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อเพิ่มยอดขาย เนื่องจากกิจการต้องการให้ลูกค้าเก่าซื้อผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้นขณะเดียวกันก็แสวงหาลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนมากขึ้นด้วย
2) เพื่อรักษาส่วนครองตลาด ในกรณีที่กิจการเป็นผู้นำของผลิตภัณฑ์นั้น และต้องการรักษาความเป็นผู้นำอยู่ต่อไป
-
- การกำหนดราคาที่มุ่งการแข่งขัน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
-
2) เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน ในกรณีที่กิจการเป็นผู้เริ่มใต้นทำธุรกิจในท้องถิ่นหนึ่งและไม่ต้องการให้กิจการอื่นเข้ามาแข่งขันด้วย จึงต้องตั้งราคาสินค้าให้ต่ำ
3) เพื่อตัดราราของคู่แข่งขัน ในกรณีที่กิจการต้องการขจัดแข่งขันออกจากตลาดและต้องการแย่งลูกค้าของคู่แข่งขัน
- การกำหนดราคาที่มุ่งสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อการปฎิบัติตามลักจรรยาบรรณที่ดี เป็นการแสดงว่ากิจการไม่เอาเปรียบสังคมด้วยการกำหนดราคาให้ต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็น
2) เพื่อรักษาภาวะการจ้างงาน เป็นการสร้างภาพลักษณ์ว่ากิจการเป็นผู้สร้างงานให้กับการผลิตและการจ้างงานให้กับสังคม ด้วยการกำหนดราคาในระดับที่ทำให้เกิดการผลิตและการจ้างแรงงาน
วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคานั้นมีอยู่หลายประการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของกิจการสถานการณ์การแข่งขัน และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้งการพิจารณาถุงวัตถุประสงค์รวมของกิจการและวัตถุประสงค์ทางการตลาดด้วยวัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาที่สำคัญมีดังนี้
- การกำหนดราคาที่มุ่งรายได้จากการขาย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อต้องการรายได้เพิ่มขึ้น เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของกิจการที่สร้างรายได้ให้มากพอที่จะคุ้มกับค่าใช่จ่ายต่าง ๆ
นโยบายราคา เป็นแนวทางในการปฎิบัติตามวัตถุของกิจการ โดยมีการวางแผนอาศัยวิธีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และช่วยให้กิจการบรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งนโยบายราคาที่นิยมใช้ ได้แก่
- นโยบายระดับราคา (Price Level Policy) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1.1 ระดับราคาตามราคาตลาด (Meet the Market Price) เป็นการกำหนดราคาหรือการตัดราคากัน เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสมบูรณ์ (Pure Competition Market) และผลิตภัณฑ์ไม่มีความแตกต่างกัน
1.2 ระดับราคาสูงกว่าราคาตลาด (Above the Market Price) กิจการสามารถกำหนดราคาให้สูงกว่าคู่แข่งขันได้ เนื่องจากความเข้มแข็งของกิจการหรือมีข้อได้เปรียบในด้านต่าง ๆ ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน เช่น ตราสินค้าเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทำเลที่ตั้งของกิจการที่เหมาะสม บุคลากร มีความชำนาญ เป็นต้น
1.3 ระดับราคาต่ำกว่าราคาตลาด (under the Market Price) เป็นนโยบายระดับราคาที่กิจการขนาดเล็กนิยมนำมาใช้ เพื่อต้องการส่วนแบ่งทางการตลาดในปริมาณมาก ๆ และให้สินค้ากระจายสู่ผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย
- นโยบายราคาเดียว (One Price Policy) เป็นการกำหนดราคาสินค้าชนิดเดียวกัน สำหรับผู้ซื้อทุกรายในราคาเดียวกันภายใต้สถานการณ์และเงื่อนไขที่เหมือนกัน เพื่อให้สะดวกต่อิการขายโดยตัดปัญหาในการเสนอราคา และการต่อรองราคา
- นโยบายราคายืดหยุ่นได้ (Flexible Price Policy) เป็นการกำหนดราคาสินค้าสำหรับลูกค้าประเภทเดียวกัน ปริมาณเท่ากันในราคาที่แตกต่างกัน ราคาสินค้าจะถูกกำหนดให้สูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความสำพันธ์ระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ การกำหนดราคายืดหยุ่นได้นี้นิยมใช้กันมากสำหรับกิจการขนาดเล็กและสินค้าที่ล้าสมัยง่ายหรือไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งกิจการจำเป็นต้องมีส่วนลด หรือส่วนยอมให้ กับผู้ที่ซื้อสินค้าดังกล่าว
ราคา (Price) หมายถึง จำนวนเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ (สินค้าและ/หรือบริการ) โดยผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกัน ราคาเป็นปัจจัยหนึ่งของส่วนประสมการตลาดที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อ ผู้บริโภค หากประเมินว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีมูลค่า (Value) และก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ (Utility) เหมาะสมกับราคา
กลยุทธ์การตั้งราคา คือ วิธีการที่ใช้ในการกำหนดราคาขายตามนโยบายที่ได้มีการวางแผนไว้ โดยมีพื้นฐานในการตั้งราคาอยู่บนปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ ต้นทุน, คู่แข่ง, กลุ่มเป้าหมายและ/หรือกำลังซื้อของลูกค้า และ การวางตำแหน่งของสินค้า
-