Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต,…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต
และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะท้าย
ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต มีการดําเนินโรคลุกลามอย่างมาก ทําให้การทําหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกาย
ไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
ภาวะใกล้ตาย
ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น
จากการทําหน้าที่ของอวัยวะสําคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลว
และมีค่าคะแนน Palliative performance scale (PPS) น้อยกว่า 30
การดูแลแบบประคับประคอง
วิธีการดูแลที่มุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว โดยเข้าไปดูแลปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ใน ระยะแรก ๆ ของโรครวมทั้งประเมินปัญหาสุขภาพแบบองค์รวมทั้งด้าน กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณอย่างละเอียดครบถ้วน
palliative care
การยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้น และยอมให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามธรรมชาต
End of life care
การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสําคัญเป็นการทํางานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
ความสุขสบายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
บรรเทา (relief)
ความไม่สุขสบายที่มีอยู่ทุเลาเบาบางลง
ความสงบ ผ่อนคลาย (ease)
ความไม่สุขสบายหายไปหรือสงบผ่อนคลาย
อยู่เหนือปัญหา (transcendence)
ความสุขที่อยู่เหนือความไม่สุขสบายทั้งปวงแม้ว่าจะไม่สามารถขจัดหรือหลีกเลี่ยงได้
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย
การสอน แนะนำ เป็นพี่เลี้ยง (coaching)
อาหารด้านจิตวิญญาณ (comfort food for the soul) เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทําแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี (Good death) ให้ช่วงท้ายของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย บุคคลในครอบครัวได้มีโอกาสอําลากันและกัน ความเจ็บปวดทางกายและทางใจลดลง
ประเด็นจริยธรรมที่สําคัญใน
การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต
การุณยฆาต(Mercy)
เป็นการทําให้ผู้ป่วยที่หมดหวังจากการรักษา
ไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติและต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายได้พบกับความตายอย่างสงบ
การทําการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntaryeuthanasia)
คือ การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้ เข้าใจถึงอาการ การดําเนินของโรค และทนทุกข์กับความทรมานต่อความเจ็บปวด และผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล แพทย์ทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนาตามความประสงค์ของผู้ป่วย
การทําการุณยฆาตโดยทูี่ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntaryeuthanasia)
การทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตามธรรมชาติ ตามพยาธิสภาพของโรค โดยปราศจากการช่วยชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์
มีข้อพิจารณา 3 ประการ ดังนี้
เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง
บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withholding of life-sustaining treatment) หมายถึง การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
2.การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withdrawal of life-sustaining treatment) หมายถึง การเพิกถอนใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา เช่น การเพิกถอนเครื่องช่วยหายใจ
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assisted suicide)
คือ การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์
เช่น การให้ความรู้ เครื่องมือ หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทําให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สําเร็จ
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจํานวนจํากัด
การบอกความจริง (Truth telling)
1) การบอกความจริงทั้งหมด
2) การบอกความจริงบางส่วน
3) การหลอกลวง
4) การประวิงเวลาการบอกความจริง
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation)
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ได้แก่ การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
จริยธรรมสําหรับการทํางานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต
(End of life care in ICU)
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่า
ผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
1. Professional culture
บุคลากรของทีมสุขภาพที่ทํางานอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติจะคุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วย เพื่อมุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต การตายของผู้ป่วยอาจทําให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว
2. ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
3. ความไม่แน่นอนของอาการ
4. Multidisciplinary team
ในหออภิบาลผ้ป่วยวิกฤติมีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา ส่งผลให้แพทย์แต่ละสาขามุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ อาจทําให้ไม่ได้มองผู้ป่วยแบบองค์รวม
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย
ทรัพยากรมีจํากัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต ส่วนใหญ่มักจะพลุกพล่าน วุ่นวาย มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
การประเมินอาการทางร่างกาย
1. ระบบทางเดินอาหาร
ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลําบาก ไอ สําลัก สูญเสียปฏิกิริยาการกลืนและการขย้อน รับประทานอหารและน้ำได้น้อยลง เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง สูญเสียกล้ามเนื้อและไขมัน บวมส่วนปลาย
2. ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำลง ผิวหนังจะเริ่มเย็น ชื้น ซีด จากนั้นจะคล้ำขึ้นตามส่วนต่างๆของร่างกาย
3. ระบบหายใจ
ได้แก่ อัตราการหายใจเปลี่ยนแปลง ลักษณะการหายใจแบบ Cheynes-strokes ใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ มีสิ่งคัดหลังในปากหรือทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น หายใจมีเสียงจากการมีเสมหะในขณะหายใจ
4. ระบบประสาท
ได้แก่ มีความไวต่อแสงจ้ามากขึ้น ระดับความรู้สึกตัวลดลง ง่วงซึมมาก รับรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวลดลง ปลุกตื่นยาก สับสน ไม่ตอบสนองต่อเสียงหรือการสัมผัส หมดสติ แต่การรับรู้ประสาทหูคงอยู่ในระยะท้าย
5. ระบบการควบคุมหูรูด
ได้แก่ ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะและอุจจาระได้ หรือมีปัสสาวะค้าง มีการแตกของผิวหนัง และอาจมีการติดเชื้อเฉพาะตําแหน่งบริเวณ perineum
6. ระบบขับถ่าย
ได้แก่ ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก ปัสสาวะสีคล้ำ ถ่ายเหลวหรือท้องผูก
การประเมินด้านจิตใจ
ภาวะซึมเศร้า (Depression)
ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
ภาวะสับสน (Delirium)
การประเมินด้านสังคม
1) บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว
2) ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
3) ความต้องการของครอบครัว
4) ผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver)
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
ความสามารถในการเคลื่อนไหว
กิจกรรมและความรุนแรงของโรค
การดูแลตนเอง
การกินอาหาร
ความรู้สึกตัว
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
1.การสื่อสาร
ควรมีแผ่นพับแนะนําครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทําการประชุมครอบครัว
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว ไม่มีการรบกวน
หลีกเลี่ยงคําศัพท์แพทย์
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่ารายละเอียดความเป็นตัวตนของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียู
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
อาการปวด
ควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยาต่างๆได้ครบถ้วน ตรงตามเวลาที่แพทย์แนะนํา และคอยสังเกตว่ายาได้ผลหรือไม่ หรือ ผู้ป่วยมีอาการอย่างไรภายหลังการกินยา และคอยพูดคุย ให้ผู้ป่วยผ่อนคลายทางอารมณ์
อาการท้องผูก
ควรจัดอาหารให้มีใยอาหาร ให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอที่ไม่ขัดกับโรค
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
ควรดูแลทําความสะอาดในช่องปากทุกวันอย่างน้อยวันละสองครั้ง
อาการท้องมานหรือบวมในท้อง
ควรดูแลโดยให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูง หรือนั่งพิง
อาการไอ
ควรป้องกันสาเหตุที่ทําให้ไอ ระวังการสําลักขณะได้รับอาหาร
อาการหอบเหนื่อย หายใจลําบาก
ควรจัดให้ผู้ป่วยพักให้ท่าศีรษะสูงเล็กน้อย
อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
ควรจัดหาอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้สะดวก ใช้ผ้ารองซับและหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อม ระวัง ขาหนีบ และทวารหนัก ระคายเคืองเป็นแผล
อาการบวม
ควรดูแลอย่าให้เกิดแผลต่างๆ
อาการคัน
ควรให้ผู้ป่วยตัดเล็บสั้น หลีกเลี่ยงการเกา ใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่มและหลวม
การเกิดแผลกดทับ
ควรพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง และจัดหาเตียงลมหรือที่นอนน้ำ
การดูแลทั่วไป
ดูแลความสะอาดร่างกาย ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ได้แก่ การพักผ่อนนอนหลับ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
1 ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อ
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
รู้จักตัวตนของคนไข้ ไม่ใช่เฉพาะโรค
ทําการฟังอย่างตั้งใจ มีการทบทวนสาระสําคัญเป็นระยะ ๆ
หลังจากนั้นผู้นําการประชุมครอบครัวทําการเล่าอาการให้ฟัง
ในช่วงนี้ ญาติอาจจะพยายามต่อรอง
เตือนให้ญาติคํานึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วย ให้ทุก ๆ การตัดสินใจ เป็นการตัดสินใจที่สมมุติว่าผู้ป่วยสามารถบอกเองได้
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
การดูแลผู้ป่วยที่กําลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
ทําการปลดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
ยุติการเจาะเลือด
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ทําความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จําเป็น
นําสายต่าง ๆ ที่ไม่จําเป็นออก เช่น สายให้อาหารทางจมูก
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
นายศราวุฒิ เป็งมูล 6201210255 เลขที่ 15 Sec.A
💖
💖
💖
💖
💖
💖
💖
💖
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
🔸
📌
📌