Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การนำหลักสูตรไปใช้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ - Coggle Diagram
การนำหลักสูตรไปใช้ออกแบบการจัดการเรียนรู้
การออกแบบรายวิชา
การกำหนดชื่อรายวิชา
เดิมเราใช้หลักสูตรกลาง ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ใช้เหมือนกันทั้งประเทศ ลักษณะการสร้างรายวิชาและการกำหนดชื่อรายวิชาส่วนมากจะใช้ชื่อรายวิชาเหมือนกันตลอดทุกชั้นปี เช่นภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งการสร้างรายวิชาและการกำหนดชื่อรายวิชาอาจไม่เป็นปัญหาสำหรับสถานศึกษาในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน เพราะทุกสถานศึกษารับทราบตรงกัน แต่ปัจจุบันเราใช้หลักสูตรอิงมาตรฐานซึ่งแต่ละสถานศึกษาเป็นผู้จัดทำหลักสูตรของตนเองหากชื่อรายวิชาไม่สื่อความหมายให้เข้าใจถึงเป้าหมายหรือแยกความแตกต่างระหว่างรายวิชาหนึ่งไปสู่อีกรายวิชาหนึ่งได้ชัดเจน ก็จะมองไม่เห็นความแตกต่างของรายวิชาในแต่ละชั้นปีจะเห็นได้ว่า ชื่อรายวิชา คือเป้าหมายรายวิชา เป็นตัวกำกับให้สอนตามนั้น เมื่อใช้ชื่อหลักสูตรเป็นชื่อรายวิชา เช่นภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทำให้ชื่อรายวิชาของแต่ละปีซ้ำกัน ไม่เกิดความแตกต่างในแต่ละชั้นปี จึงต้องสร้างความหมายให้แตกต่างในแต่ละปี จึงจำเป็นที่จะต้องวางจุดเน้นรายวิชาเพื่อแสดงให้รู้ว่าในแต่ละชั้นปีเน้นเรื่องใด
การสร้างรายวิชาจากเป้าหมายหรือจุดเน้นรายวิชา
ชื่อรายวิชามีนัยสำคัญทั้งต่อผู้สร้างรายวิชา ผู้ที่นำรายวิชานี้ไปใช้สอน และต่อตัวผู้เรียนเองเมื่อกำหนดชื่อรายวิชาแล้ว ควรตรวจสอบและประเมินว่าผู้ที่อ่านชื่อรายวิชานี้จะเข้าใจถึงจุดเน้นของรายวิชาและ รายละเอียดของรายวิชาตรงกับผู้สร้างหรือไม่ ในด้านคุณภาพทางวิชาการ การกำหนดชื่อรายวิชาที่ไม่ชัดเจนโดยเฉพาะการนำชื่อกลุ่มวิชาหรือชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้มาเป็นชื่อรายวิชาเหมือนๆ กัน ทั้งที่รายละเอียดอาจแตกต่างกัน จะสร้างความสับสนทั้งต่อครูผู้สอนผู้ปกครอง รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาที่จะรับผู้เรียนไปศึกษาต่อ ดังนั้น หากจะใช้ชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นชื่อรายวิชา นอกจากผู้สร้างรายวิชาจะคำนึงเรื่องการจัดเนื้อหาสาระลงไปในแต่ละชั้นปีแล้ว ควรกำหนดจุดเน้นเป้าหมายปลายทางของรายวิชาที่สร้างให้ชัดเจน รายวิชาที่สร้างจึงจะมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนจริงๆ หรืออาจกำหนดทั้งชื่อกลุ่มสาระและชื่อหนึ่งที่เป็นจุดเน้นของรายวิชาไว้คู่กัน จะได้สื่อความหมายตรงกันระหว่างผู้สร้างและผู้ใช้
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
ลักษณะของหน่วยการเรียนรู้ที่ดี
เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่มีความท้าทาย น่าสนใจ สอดคล้องกับประสบการณ์ ชีวิตจริงของผู้เรียน ให้ความรู้สึกว่าหน่วยการเรียนรู้นั้นมีชีวิต ผู้เรียนสามารถที่จะเข้าไปสัมผัสจับต้องกับสิ่งที่จะเรียนนั้นและ สามารถนำความรู้จากหน่วยการเรียนนั้นไปใช้ได้ทันที ผู้เรียนเรียนแล้วสนุก มีกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบให้ผู้เรียนได้ฝึก
เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่เอื้อให้เกิดการวางแผนการเรียนในลักษณะบูรณาการในกลุ่มสาระหนึ่งๆ หรือข้ามกลุ่มสาระ ในหน่วยการเรียนรู้หนึ่งอาจประกอบด้วยหัวข้อย่อย เช่น จากหน่วยการเรียนรู้แยกย่อยไปเป็นหัวข้อ จากหัวข้อแยกย่อยไปเป็นบทเรียน ดังนั้นเป้าหมายการเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้จึงควรสะท้อนผลผลิตที่เกิดจากการเรียนที่ให้องค์ความรู้กว้างขวางและหลากหลาย มีลักษณะเป็น Big idea เป็น Thematic unit และเป็น Globally unit เพื่อเอื้อให้เกิดการจัดกิจกรรมการเรียนให้เป็นภาพใหญ่ๆ
การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
พิจารณาว่าสาระความรู้ หัวข้อ ที่ต้องการจะสอนนั้น อะไรคือเป้าหมายปลายทาง อะไรคือแนวคิด หรือความคิดรวบยอด ที่แท้จริงของการเรียนเรื่องนั้น ให้นำสิ่งนั้นมาเป็นหน่วยการเรียนรู้
พิจารณาว่าสาระความรู้ หัวข้อ ที่ต้องการจะสอนนั้นว่าอะไรเป็นตัวแทน/กรณีตัวอย่างของสาระความรู้หรือหัวข้อนั้น ที่เหมาะกับผู้เรียน มีสื่อ/ทรัพยากร/สิ่งอำนวยความสะดวกใดที่นำมาใช้แล้วผู้เรียนสามารถสรุปกลับไปสู่องค์ความรู้ในสาระความรู้หรือหัวข้อนั้นได้ ให้นำสิ่งนั้นมากำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้
องค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้
1.ชื่อหน่วยการเรียนรู้
10.สื่อ/ทรัพยากรการเรียนรู้
2.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้
3.สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
4.สาระการเรียนรู็หรือเนื้อหาสาระ
5.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
7.ชิ้นงาน/ภาระงาน
8.การวัดและประเมินผล
9.กิจกรรมการเรียนรู้
11.เวลาเรียน/จำนวนชั่วโมงเรียน