Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU) - Coggle…
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะท้าย : ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต มีการดำเนิน
โรคลุกลามอย่างมากทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
ภาวะใกล้ตาย : ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น จากการทำหน้าที่ของอวัยวะสำคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลว
การดูแลระยะท้าย (End of life care) :การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตมักใช้รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่เป็นการดูแลผู้ป่วยที่มุ่งเน้นในช่วงของการเจ็บป่วยในช่วงปีหรือเดือนท้ายๆของชีวิต
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
ระบบบริการสุขภาพให้ความสำคัญกับเรื่อง การดูแลผู้ที่เข้าสู่วาระท้ายของชีวิตมากขึ้นให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อผู้ที่อยู่ในวาระท้ายของโรค มีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 ระบุไว7ว่า “ บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะขอรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ "
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
เป็นภาวะที่บุคคลได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา สงบผ่อนคลาย และควบคุมสถานการณ์ได้หรืออยู่เหนือปัญหา (transcendence) ครอบคลุมบริบทด้าน ร่างกาย (physical comfort) ด้านจิตใจ-จิตวิญญาณ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมความสุขสบายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) บรรเทา 2) ความสงบ ผ่อนคลาย 3) อยู่เหนือปัญหา
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
การสอน แนะนำ เป็นพี่เลี้ยง : ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง
อาหารด้านจิตวิญญาณแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบให้ช่วงท้ายของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย บุคคลในครอบครัวได้มีโอกาสอำลากันและกัน
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
เป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยและตั้งเป้าหมายของการดูแลตั้งแต่วันแรก สนับสนุนให้มีการทำ Family meeting เพื่อทราบความต้องการและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว
ข้อสังเกตเกี่ยวกับ palliative care
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่า
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อย
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ได้แก่ การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล จัดตั้งคณะกรรมการ
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล เช่น สิทธิและความรับผิดชอบที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของตน
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพโดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
การดูแลแบบผสมผสาน : การพยาบาลแบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปnญญาตะวันออกสำหรับผู้ป่วยวิกฤตระยะท้ายและใกล้ตาย
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง : เพื่อบูรณาการแนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบ palliative care
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
การประเมินอาการทางร่างกาย : ประเมินอาการไม่สุขสบาย ความสามารถในการทำกิจกรรม อาการที่พบบ่อย
การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ : ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ภาวะสับสน
การประเมินด้านสังคม : บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว ความรักความผูกพัน ผู้ดูแล ที่อยู่อาศัย
การประเมินด้านจิตวิญญาณ :เกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิต เป้าหมายชีวิต หรือคุณค่าทางด้านจิตใจ ความเชื่อทางศาสนา เพื่อให้ได้รับการให้อภัย
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
เพื่อใช้ประเมินสภาวะของผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาแบบประคับประคองวัดจากความสามารถ 5 ด้านของผู้ป่วย :ความสามารถในการเคลื่อนไหว กิจกรรมและความรุนแรงของโรค การดูแลตนเอง การกินอาหาร และความรู้สึกตัว
จุดประสงค์
ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
ใช้ในการวิจัย
เป็นเกณฑ์การับเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้าดูแล
เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆและติดตามผลการรักษา
เพื่อสื่อสารอาการปัจจุบันของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรในทีมที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วย
การสื่อสาร
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยการอบรม ฝึกฝนของทีมสุขภาพ การสื่อสารที่ตรงและเป็นจริงทำให้ครอบครัวผู้ป่วยพึงพอใจ
หลักการในการสื่อสารในไอซียู
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
ควรมีแผ่นพับแนะนำครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทำการประชุมครอบครัว
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซีย
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ
ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณ
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อ
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างความเข้า ใจที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและระยะของโรครวมไปถึงการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรค แนวทางของการดูแลผู้ป่วยในอนาคต รวมทั้งประเมินความต้องการด้านอื่นๆ ของผู้ป่วย และครอบครัวและวิธีการที่ครอบครัวใช้จัดการกับปัญหาด้านต่างๆที่เกิดขึ้น
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
กระบวนการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่สุขภาพกับผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยทางการแพทย์ในอนาคต
แบ่งได้ 2 ชนิด
Living will หรือ พินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
Proxy คือ บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ในวาระสุดท้าย
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
บรรยากาศในไอซียูมักเต็มไปด้วยความวุ่นวายเวลาเตรียมตัวก่อนเสียชีวิตหลายวัน อาจพิจารณาย้ายผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยที่ญาติสามารถเข้าเยี่ยมได้ใกล้ชิด สงบ และมีความเป็นส่วนตัวในกรณีที่การเสียชีวิตอาจเกิดขึ้นในเวลาไม่นาน ทีมสุขภาพสามารถจัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยวิกฤตให้สงบที่สุดที่พอจะเป็นไปได้ช่วงเวลานี้ควรให้ครอบครัวคนใกล้ชิดอยู่ด้วยเท่านั้น
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทำการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เป็นปกติที่ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วย ดังนั้นไม่ควรพูดคำบางคำ เช่น “ไม่เป็นไร” แต่ให้แสดงว่าการเสียใจกับการสูญเสียเป็นสิ่งปกติรวมถึงอาจมีเอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกายและจิตใจผู้สูญเสีย
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ : อาการไม่สุขสบายในผู้ป่วยวิกฤตพบได้หลายอย่าง ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการจัดการอาการอย่างมีประสิทธิภาพหัวใจหลักของการดูแลแบบ palliative care
การดูแลทั่วไป : การดูแลความสะอาดร่างกาย ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความ ต้องการของร่างกาย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
เป็นการช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจ อารมณ์ และ จิตวิญญาณ
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด :ผู้ป่วยวิกฤตมักจะเกิดความล้มเหลวของอวัยวะต่าง ๆในหลายระบบจึงต้องอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์และทรัพยากรอื่นๆทางการแพทย์มาช่วยชีวิตไว้
การบอกความจริง :แพทย์ควรบอกให้ผู้ป่วยและญาติทราบเพื่อการเตรียมตัวเตรียมใจ จัดการภาระค้างอยู่ให้เรียบร้อยโดยทางเลือกสำหรับการบอกความจริงได้แก่ 1) การบอกความจริงทั้งหมด 2) การบอกความจริงบางส่วน 3) การหลอกลวง 4)การประวิงเวลาการบอกความจริง
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ : การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ เช่น การให้ความรู้ เครื่องมือ หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทำให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สำเร็จ
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ :การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืดยาวออกไปประเด็นเชิงจริยธรรมนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ โอกาสรอดชีวิตหลังผ่าตัด ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่หลังผ่าตัด แหล่งที่มาของอวัยวะ
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต :เป็นการทำให้ผู้ป่วยที่หมดหวังจากการรักษาไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติและต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายได้พบกับความตายอย่างสงบ
การทำการุณยฆาตโดยความสมัครใจ :การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้ เข้าใจถึงอาการ การดำเนินของโรคและผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล
การทำการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง : การทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตามธรรมชาติ ตามพยาธิสภาพของโรค
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
ความไม่แน่นอนของอาการ การรักษาในไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
Professional culture บุคลากรของทีมสุขภาพที่ทำงานอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตเพื่อมุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยที่เข้ารักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตมักขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลงอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้มีความคาดหวังสูง
ทรัพยากรมีจำกัด เนื่องจากเตียงผู้ป่วยในไอซียู รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ มีจำกัด การใช้จึงควรพิจารณาใช้กับผู้ป่วยที่มีโอกาสจะรักษาให้อาการดีขึ้นได้
Multidisciplinary team ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา ส่งผลให้แพทย์แต่ละสาขามุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ อาจทำให้ไม่ได้มองผู้ปเวยแบบองค์รวม
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตไอซียูเป็นหอผู้ป่วยที่มีอัตราการตายสูง แต่สิ่งแวดล้อมในไอซียูส่วนใหญ่มักจะพลุกพล่านไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย