Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา - Coggle Diagram
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็ม
จุดมุ่งหมาย
มีคุณธรรม จริยธรรม และค่นิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่ง
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการคิด
ความสามารถในการแก้ปัญหา
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
รักชาติศาสน์ กษัตริย์
ซื่อสัตย์สุจริต
มีวินัย
ใฝ่เรียนรู้
อยู่อย่างพอเพียง
มุ่งมั่นในการทำงาน
รักความเป็นไทย
มีจิตสาธารณะ
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สุขศึกษาและพลศึกษา
6.ศิลปะ
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8.ภาษาต่างประเทศ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมแนะแนว
กิจกรรมนักเรียน
กิจกรรมเพื่อสังคม
หลักสูตรสถานศึกษา
การดำเนินการระดับสถานศึกษา : ดำเนินการโดยองค์คณะบุคคลในระดับสถานศึกษาได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการเพื่อพิจารณาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษารวมทั้งแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นระเบียบการวัดประเมินผลการเรียนรวมทั้งพิจารณาเกี่ยวกับเอกสารบันทึกและรายงานผลการเรียนซึ่งต้องใช้ร่วมกันในสถานศึกษานั้นๆ
การดำเนินการระดับชั้นเรียน : ดำเนินการโดยครูผู้สอนแต่ละคนในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้และจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับกับผู้เรียนแต่ละกลุ่มซึ่งอาจมีความแตกต่างกัน ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ครูผู้สอนรายวิชาเดียวกันระดับชั้นเดียวกันอาจพิจารณาออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่แตกต่างกันได้เพราะผู้เรียนที่ครูแต่ละคนรับผิดชอบนั้นอาจมีความต้องการและความสามารถแตกต่างกันดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้หรืองานที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติสื่อการสอนหรือวิธีการวัดประเมินผลอาจต้องปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน
1.วิเคราะห์ข้อมูลภายนอก ข้อมูลจากหน่วยงานอื่น ที่สามารถนำมาพัฒนานักเรียนได้
2.วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลที่ได้จากตัวนักเรียนเช่น จากการรวบรวม ซักถามเป็นต้น เช่น ประวัติส่วนตัว
3.กำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นขั้นตอนที่กระทำต่อจากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนนี้เป็นการตั้งเป้าหมายว่าปัญหาและความต้องการต่างๆที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคมและของผู้เรียน ซึ่งจําเป็นจะต้องแก้ไขหรือตอบสนองต่อความต้องการเหล่านั้น จะทำอย่างไร เกี่ยวกับการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนักพัฒนาหลักสูตรควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ
4.คัดเลือกจัดเนื้อหาสาระ การเลือกสาระความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เพื่อความสมบูรณ์ให้ได้วิชาความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
5.สร้างรายวิชา การสร้างองค์ความรู้ที่จะนำมาสอนผู้เรียนภายในชั้นเรียน
6.สร้าง/ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ การสร้าง/ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่ต้องการจะจัดขึ้นในชั้นเรียน การกำหนดตัวชี้วัดที่เราจะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้ได้ผลตามที่เราต้องการ
7.กำหนดตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ เป็นตัวระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ มีความเฉพาะเจาะจงเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน
8.ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา เป็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เราจะจัดขึ้นในเราวิชาให้กับผู้เรียนในรายวิชานั้นๆเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้
9.ออกแบบการวัดและการประเมินผลรายวิชา เป็นการออกแบบเพื่อให้ทราบว่ารายวิชาที่เราได้จัดทำขึ้นมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร
10.จัดทำแผนการสอน/จัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดทำขั้นตอนการวางแผนการดำเนินงานการสอนในรายวิชานั้นๆโดยสามารถให้ผู้อื่นสามารถนำไปใช้ได้
11.ประเมินผลการใช้หลักสูตร การนำหลักสูตรที่เราได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนมาประเมินหาจุดดีและจุดด้อยเพื่อนำมาปรับปรุงต่อๆไป
12.ปรับปรุงแก้ไข การนำหลักสูตรที่เราได้ประเมินแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
การจัดทำและวิเคราะห์ห์หลักสูตร
1.พัฒนาหลักสูตรโดยเริ่มต้นจากหลักสูตรเดิมที่สถานศึกษามีอยู่มาปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐาน
1) เปรียบเทียบหลักสูตรเดิมกับมาตรฐาน โดยพิจารณาว่า
1.2) มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดใดที่ขาดหายไป จากนั้นนำมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ยังไม่มี มาบรรจุเพิ่มในหลักสูตร เพื่อให้ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดทั้งหมด
1.1) หลักสูตร / รายวิชา / หน่วยการเรียน ที่โรงเรียนใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นสอดคล้องหรือสามารถเชื่อมโยงกับนำมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดใดบ้าง
2) ทบทวนหลักสูตรที่ใช้อยู่ โครงร่างหลักสูตรที่ทำไว้จะอำนวยความสะดวกในการนำมาตรฐานมาใช้ว่ารายวิชาหน่วยการเรียนใดควรอยู่ชั้นปีใดตามโครงร่างหลักสูตรนั้น
3) นำมาตรฐานไปใช้ ครูทุกระดับชั้นปีควรมีการปรับปรุงโดรงร่างแผนการสอนของตนให้สอดคล้องกับมาตรฐาน(ตัวชี้วัด ของกลุ่มวิชาที่ตนสอน โดยครูควรได้ทดลองและสำรวจวิธีสอนใหม่ๆ อยู่เสมอ
4) เชื่อมโยงการเรียนการสอน การประเมินผล กับมาตรฐานเข้าด้วยกัน ขั้นสุดท้ายของการพัฒนาหลักสูตรตามแบบนี้ คือ การเชื่อมโยงการเรียนการสอนและการประเมินผลให้เข้ากับมาตรฐานกลุ่มวิชานั้น การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการสอนและเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาหลักสูตรด้วย ครูสามารถใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากการประเมินผลเพื่อใช้ตัดสินใจว่าเนื้อหาสาระ กิจกรรม ที่ใช้กับผู้เรียนนั้นเหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐาน ความสนใจ แรงจูงใจของผู้เรียนหรือไม่ จึงเป็นข้อมูลป้อนกลับที่มีคุณค่าสำหรับครู
นำมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มากำหนดเป็นโครงร่างหลักสูตรเพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้
เริ่มทำหลักสูตรจากความต้องการของโรงเรียน และนำหลักสูตรนั้นมาเทียบเคียงเชื่อมโยงกับมาตรฐานเพื่อพิจารณาความสอดคล้อง